ป.เอกหลักสูตรผู้นำฯม.รังสิต เปิดเวทีคลี่ปมร้อนเกาะกูด ‘อภิสิทธิ์’ ร่วมถก

30 พ.ย.2567 - ที่มหาวิทยาลัยรังสิต  นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรผู้นำทางสังคมธุรกิจและการเมือง วิทยาลัย ผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “รายงานและข้อค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ กับอนาคตประเทศไทย”

โดยนักศึกษาได้นำเสนอรายงานการศึกษาในประเด็นต่างๆที่ได้รับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Disruption) โดยมีประเด็นนำเสนอรายงาน เช่น ข้อพิพาทเรื่องเกาะกูด สามเหลี่ยมทองคำ ปัญหาชายแดนไทย EEC บทบาทกองทัพเรือกับยุทธศาสตร์ทางทะเล แลนบริดจ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงวุฒิจากหน่วยงานราชการตัวแทนจาก สภาพัฒน์ ฯ กองทัพ กระทรวงกลาโหม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำ และนวัตกรรมสังคม อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สุวรรณบรรณ คณบดีสถาบันการทูต

นายภิสิทธิ์ กล่าวช่วงหนึ่งว่า ข้อถกเถียงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนเกาะกูดในขณะนี้นั้นความซับซ้อนสูง การจัดการอำนาจรัฐ และผลประโยชน์ของรัฐเป็นเรื่องใหญ่และมีความละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะแสดงท่าทีของผู้นำประเทศต้องมีความชัดเจน ต้องแสดงท่าที่ให้ชัดเจนไม่ว่าจะมิติความสัมพันธ์ หรือความขัดแย้งใด

โดยต้องแสองให้เห็นว่าจะดำเนินนโยบายอย่างไรให้มีความชัดเจน เพื่ออำนาจการต่อรองกับประเทศคู่ความสัมพันธ์

นายอภิสิทธิ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ในสมัยหนึ่งฝั่งกัมพูชาเป็นคนที่อยากได้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าวในตอนนั้นฝ่ายไทยก็จะมีอำนาจเหนือกว่าในการเจรจา  แต่มาตอนนี้ กลายเป็นฝ่ายไทยอยากได้พลังงานมากกว่ากัมพูชา จนอาจทำให้อำนาจต่อรองในโต๊ะเจรจาของเราลดลงไปจากเดิม

ขณะที่ ผศ.ดร.สุริยะใส กล่าวว่าหลักสูตรผู้นำทางสังคมธุรกิจการเมืองได้เปิดสอนวิชาภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเพราะเห็นความสำคัญของสถานการณ์โลกที่มีการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างเข้มข้นจนส่งผลกระทบต่อไทย ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านสังคมธุรกิจการเมืองการศึกษาสิ่งแวดล้อมการอพยพย้ายถิ่น

การนำนโยบายต่างประเทศของรัฐไทยในมิติต่างๆจึงต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างลึกซึ้งไม่เช่นนั้นการแก้ปัญหาที่ขาดองค์ความรู้จะสร้างปัญหาใหม่ตามมามากมาย เช่น ข้อพิพาทเกาะกูด มิติความขัดแย้งสลับซับซ้อนมากกว่าประเด็นเรื่องพลังงานในไทย การยกผลประโยชน์พลังงานในจุดเดียวแต่ขาดมุมมองทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับความมั่นคงทางทะเลและความได้เปรียบของรัฐไทยในภูมิภาคระยะยาว ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ รัฐบาลไทยจึงต้องรู้เท่าทันทุกมิติ  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44

เป็นเรื่อง! เพจอาเซียน โชว์หราแผนที่ดินแดนทางทะเล เหมือนของกัมพูชาใน MOU44 เป๊ะ

เพจ ASEAN Megacity ซึ่งมีผู้ติดตามในอาเซียนประมาณ 2 พันคน ได้แชร์ภาพแผนที่ประเทศย่านอาเซียน พร้อมระบุข้อความว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป