1 ธ.ค.2567-นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก “ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี” หัวข้อ “โลกร้อน อุทกภัยมีแต่รุนแรงขึ้น ไทยพร้อมหรือยัง” ระบุว่า น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาตลอดปี เริ่มจากแพร่ สุโขทัย แม่สาย เชียงราย เชียงใหม่ และสุดท้ายขณะนี้ที่ภาคใต้ตอนล่าง เป็นเรื่องที่ไม่เกินความคาดหมาย ฝนตกรุนแรงระหว่าง 200-500 มม. ตกยาวนานเป็นอาทิตย์และตกคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด ลักษณะฝนตกเช่นนี้เรียกว่า พายุฝนไม่ปกติ(Torrential Rain) ซึ่งเกิดจาก (1) ลมหลายทิศทางมาปะทะกัน (2) อากาศมีความชื้นสูงมาก (3) มีความกดอากาศต่ำ(Low Pressure) หลายตำแหน่ง และ (4) ร่องฝนค่อนข้างเสถียร อยู่คงที่
ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ไม่อาจเกิดพร้อมกันได้ ทั้งในมิติเวลาและสถานที่ นอกเสียจากมีอะไรที่ยิ่งใหญ่ไปกว่า เป็นตัวเหนี่ยวนำ คำตอบนั้นชัดเจนแล้ว ปรากฏการณ์“ โลกร้อน” ไงครับ
เมื่อธรรมชาติเปลี่ยน มนุษย์ก็ต้องเปลี่ยนตาม ไม่เช่นนั้น ตายแน่นอน วิธีแก้ไขคือ หยุดข่มเหงธรรมชาติ หยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะเดียวกันต้องเพิ่มปริมาณต้นไม้ เพื่อเพิ่มขบวนการ Photosynthesis หรือการสังเคราะห์แสงของพืชสีเขียว
หน่วยราชการที่ทำแผนก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงาน อย่ายึดว่า รับผิดชอบแค่ไหนก็ทำแค่นั้น มีงบประมาณเท่านี้ก็ทำเท่านี้ และที่สำคัญคือ อย่าทำแผนแบบไม่มีเป้าหมาย ขาดยุทธศาสตร์ในเรื่องลดโลกร้อน ตลอดจนขาดการสร้างความยืดหยุ่นหรือ Resilience เช่น ดินโคลนถล่มทั้งอำเภอ หรือฝนตกทีเดียวน้ำท่วม 4 จังหวัดพร้อมๆกัน เป็นต้น
ผมประชุมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวกับน้ำบ่อยครั้ง มีความรู้สึกว่า มีการทำงานแบบแยกส่วน หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Piecemeal คือ เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไม่ผสมผสานกัน เหมือนมี 5 นิ้วแต่เมื่อเอามารวมกันแทนที่จะเป็น“มือ” แต่ดันกลับเป็น“เท้า” ไปเสีย แถมบางครั้งยังพบว่า หน่วยงานทางด้านแผนยังมีCompetency หรือความเป็นมืออาชีพที่รู้จริงและน่าเชื่อถือไม่เพียงพอ ซึ่งคงต้องมีการปรับปรุงกันเป็นการใหญ่เสียแล้ว
สำหรับเรื่องการช่วยเหลือประชาชนและการเผชิญเหตุนั้น ผมคิดว่า เราต้องกลับมาคิดเรื่องDepot หรือคลังอุปกรณ์เผชิญเหตุอีกครั้ง ที่จริงเรื่องนี้ผมเป็นคนเริ่มกับท่านยงยุทธในขณะเป็นรมต. มหาดไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะน้ำท่วมคราวนี้ เราเสียเวลาไปมากในการจัดหาและเคลื่อนย้ายอุปกรณ์เผชิญเหตุที่สำคัญและจำเป็น ทำให้การช่วยเหลือราษฎรทำได้ไม่ทันท่วงที หลายจุดกำลังพลไปถึงแล้วแต่ไม่มีเครื่องมือให้ใช้ ไม่สมกับที่เป็นแผนเผชิญเหตุ (Search and Rescue) แถมงบประมาณก็ยังได้ช้าไม่ทันการณ์เนื่องจากมีสารพัดระเบียบของราชการ ซึ่งควรปรับปรุงอย่างยิ่ง
เราอยู่ในยุคโลกร้อน และก็อาจจะอยู่ไปเป็นเวลาร้อยๆปีก็ได้ สิ่งที่จะ เกิดกับประเทศไทยและคนไทยจะมีแต่มากยิ่งขึ้น รุนแรงขึ้น ดังนั้น จึงอย่าประมาทและต้องอยู่และคิดแบบมีองค์ความรู้ด้วย (Knowledge based) จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 1 หนาวระลอกใหม่ 26-28 ม.ค. อุณหภูมิลด 2-5 องศา
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย
อุตุฯ เตือนอุณหภูมิสูงขึ้น มีหมอกหนาบางพื้นที่ หนาวอีกระลอก 26-28 ม.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาบางพื้นที่
การเคหะแห่งชาติประกาศพักหนี้ หยุดเก็บค่าเช่า ลดค่าปรับนาน 3 เดือน ช่วยลูกบ้านน้ำท่วมภาคใต้ เริ่มวันนี้ถึง 31 มีนาคม 2568
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า การเคหะแห่งชาติ มีนโยบายช่วยเหลือชาวชุมชนที่พักอาศัยอยู่ในโครงการของการเคหะแห่งชาติที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ โดยออก 2 มาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าเป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2568 ดังนี้ มาตรการที่ 1 พักชำระหนี้ ผู้เช่าซื้อกับการเคหะแห่งชาติ
อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว มีหมอกบางตอนเช้า ใต้ฝนฟ้าคะนอง 20%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนบน
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ยังหนาวต่อเนื่องถึงปลายเดือน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 17 - 31 ม.ค. 68
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือนใต้ฝนตกหนัก อ่าวไทย-อันดามันคลื่นลมแรง
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 18 มกราคม 2568) ฉบับที่ 7 โดยมีใจความว่า