
28 มี.ค. 2568 – นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 5 โดยมีใจความว่า
ในช่วงวันที่ 29 มี.ค. – 1 เม.ย. 68 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 29 มีนาคม 2568
ภาคเหนือ: จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด
วันที่ 30 มีนาคม 2568
ภาคเหนือ: จังหวัดตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2568
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก และกำแพงเพชร
ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. – 2 เม.ย. 68 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้ตอนล่าง อ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 05.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 17.00 น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทย รับมือภัยอากาศแปรปรวน!
กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนประชาชนไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้ยังมีฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในทะเลอันดามัน ชี้ฝุ่นละอองภาคเหนือ–อีสานสะสมสูงจากลมอ่อน
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 แจ้งเตือนพื้นที่รับมือ 'พายุฤดูร้อน' ถล่มหนักต่อเนื่อง 6 วัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568) ฉบับที่ 4
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ร้อนสลับฝน พายุฤดูร้อนกระหน่ำยาว
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 เม.ย. - 9 พ.ค. 68
เช็กเลย! 'พายุฤดูร้อน' ถล่มจังหวัดไหนบ้าง 26 เม.ย.-1 พ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568) ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนร้อนจัดทะลุ 41 องศา ฝนฟ้าคะนองลมแรง 43 จังหวัด
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
นครพนมอ่วม! พายุลูกเห็บซัดถล่ม 3 วันติด
พายุลูกเห็บซัดถล่มนครพนม 3 วันซ้อน อาคารเรียนไม้หลังคาหายทั้งแถบ อ.วังยางอ่วมโดนรอบสอง สรุปบ้านเรือนเสียหายทั้งจังหวัดรวมเกือบ 1 พันหลัง