'นายพลสีส้ม' เปิดจุดอ่อนรัสเซีย สิ่งที่ 'ปูติน' หวาดกลัวยูเครน!

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน นั่งเป็นประธานประชุมรัฐบาลผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล ที่กรุงมอสโก เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2565 (Photo by Mikhail KLIMENTYEV / SPUTNIK / AFP)

26 มี.ค.2565 - พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับสงครามรัสเซียและยูเครน ว่าสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีความเห็นตามสื่อโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายเชียร์ปูตินว่า เซเลนสกี้ก็แค่ยอมรับข้อเสนอง่าย ๆ ของปูติน เช่นประกาศไม่เข้านาโต้ ประกาศเป็นกลาง และยอมรับดินแดนไครเมียและด้านตะวันตกให้เป็นของรัสเซีย ประชาชนจะได้ไม่ล้มตาย

ผมเคยบอกไปแล้วว่า เซเลนสกี้ไม่ใช่คนตัดสินใจอะไรเองแบบปูติน ยูเครนเป็นประชาธิปไตย (และนี่คือสิ่งที่ปูตินกลัว) ถ้าจะตกลงอะไรเขาขอทำประชามติก่อน ซึ่งแน่นอนว่าปูตินไม่รับข้อเสนอ (ทำไมไม่รับ ง่าย ๆ แค่นี้ ต่างหากคือคำถาม ก็เขายอมแล้วไง)

เพื่อให้เข้าใจปูตินยิ่งขึ้นต้องย้อนกลับไปปี 2008 ปีนั้นปูตินก็สั่งบุกจอร์เจีย ยึดดินแดนจอร์เจียไป 1 ใน 5 ประชาชนพลัดถิ่นฐานจำนวนมาก

2014 บุกไครเมียด้วยข้ออ้างไครเมียทำประชามติที่อดีตประธานาธิบดียูเครนที่รับเงินรัสเซียจัดการสังหารคนต่อต้านไป 13,000 คน

ตามการวิเคราะห์ที่นำมาให้อ่าน เขาเชื่อว่าหลังจากปูตินได้ไครเมียแล้วจะไม่หยุดแค่นี้ เป้าหมายต่อไปคงขยายพื้นที่ครอบคลุมจอร์เจียทั้งประเทศ

และส่วนตัวผมเชื่อว่ามอลโดวา ฟินแลนด์และสวีเดนจะเป็นรายต่อไปตราบใดที่ยังไม่เข้านาโต้

ดังนั้นการเข้านาโต้คือความปลอดภัยของประเทศตนเอง ดูในแผนที่ ถ้าการเข้านาโต้เป็นเงื่อนไขให้รัสเซียบุก ทำไมไม่บุกลัตเวีย เอสโตเนีย ที่ใกล้มอสโคว์กว่ายูเครนมาก

เรื่องที่รัสเซียอยากได้ยูเครนนอกจากทรัพยากรทั่วไปแล้ว ชาวยูเครนเป็นคนเก่ง จะสามารถเอามาสร้างความยิ่งใหญ่ให้รัสเซียได้ง่ายกว่ารัสเซียทำเอง

อดีตนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กและเลขาธิการนาโต้กล่าวว่า การผนวกดินแดนจอร์เจียในครั้งนั้นยุโรปและนาโต้เพิกเฉยเกินไป ถ้าใส่ใจฟังและหยุดปูตินเสียตั้งแต่ตอนนั้น เรื่องจะไม่บานปลายในวันนี้

เพราะเผด็จการไม่ว่าที่ไหน ปลายทางคือสงครามเสมอ (ไม่ว่าจะกับประเทศอื่นหรือประชาชนตนเองแบบในพม่าและแถวนี้)

ดังนั้นตรรกะว่า ยอม ๆ เงื่อนไขปูตินไปแต่แรกบ้านเมืองก็ไม่เสียหายนั้น จะทำได้เมื่อผู้นำประเทศเป็นเผด็จการผู้ตัดสินใจ แต่ในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีใครใหญ่กว่าประชาชน

และเมื่อประชาชนเป็นใหญ่ เขาก็ตัดสินใจสู้ การที่ประชาชนสู้ ไม่เอาแต่คอยฟังคำสั่งผู้นำ คือการนำมาซึ่งชัยชนะ

ไม่แน่ว่ารัสเซียอาจยึดเมืองทั้งหมดได้ แต่ตราบใดที่ประชาชนสู้ รัสเซียไม่มีวันชนะ

และเมื่อยูเครนชนะ ระเบียบโลกใหม่จะหันมาทางประชาธิปไตยและกติการ่วมกันมากขึ้น ผู้คนจะไม่เชื่อลัทธิกำลังเป็นใหญ่อีกต่อไป

กระแสลมนี้จะพัดไปสู่ประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการและเผด็จการซ่อนรูปอื่น ๆ อย่างรุนแรง

จึงไม่แปลกใจที่ขบวนการรับการโฆษณาชวนเชื่อจากรัสเซียจึงแพร่กระจายรุนแรงอย่างแข็งขันในไทย

กรณีไทย ถ้าใครอยากได้ภาคอีสาน ภาคใต้ของไทย เราก็ควรต้องยกให้ โดยไม่ต้องถามประชาชนเลยใช่ไหมครับ ฉันใดก็ฉันนั้น มีคนเคยเถียงว่า ทำไมอยุธยาจึงทำสงครามกับพม่า ไม่ยกช้างเผือก ยกเมืองให้เขาไปง่าย ๆ ล่ะ คนจะได้ไม่ล้มตาย ไหน ๆ ก็จะแพ้แล้ว

หรือเห็นการยึดอำนาจแล้วก็วิ่งเอาดอกไม้ไปให้ เขาเขียนกติกาอะไรมาก็รับ ๆ ไปก่อน ไม่ชอบความวุ่นวาย

ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศการมีอำนาจอธิปไตย คือประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลไหนก็ไม่มีสิทธิรุกรานเขาทั้งนั้นในโลกสมัยใหม่นี้

แต่ก็เพราะเหมือนรัสเซียกลัวนาโต้ที่ไม่เคยไปรุกรานดินแดนใครนั่นแหละครับ นาโต้ไม่ได้เอาชนะที่กำลังทหาร แต่เป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ไม่ว่าจะแบบทุนอนุรักษ์หรือทุนแบบรัฐสวัสดิการก็ตาม

ล้วนทำลายล้างระบอบเผด็จการทั้งสิ้น ตรงนี้ต่างหากที่เหล่าเผด็จการกลัวจนลนลานครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

ทอ. เตรียมส่ง UAV สนับสนุนรักษาความปลอดภัยแนวชายแดน อ.แม่สอด

เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ได้เผยแพร่ภาพ และข้อมูลว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดนด้านตรงข้าม อ. แม่สอด จว.ตาก กองทัพอากาศ โดยศูนย์ยุทธการทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา