สภาฯโหวตรับหลักการ ร่างกฎหมายสมรส 4 ฉบับรวด 'ครูธัญ' ถึงกับหลั่งน้ำตา

15 มิ.ย.2565 - เมื่อเวลา 16.17 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ภายหลังการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 4 ฉบับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ได้ขึ้นอภิปรายและพยายามที่จะขอเปิดคลิปวิดีโอที่ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจความเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ

แต่นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมไม่อนุญาต เพราะไม่ได้ส่งให้ตรวจสอบก่อน ทำให้นายณัฐพงศ์ กล่าวว่าในเมื่อประธานไม่อนุญาตให้เปิด และวินิจฉัยแล้ว ตนคิดว่าสิ่งที่ตนจะนำมาสะท้อนนั้นไม่ได้เสียหายอะไร จึงอยากขอร้องว่า การโหวตร่างพ.ร.บ.สุราก้าวหน้าที่ผ่านมา ทุกคนน่าจะได้รับความรู้สึกและบรรยากาศที่ประชาชนทั้งประเทศยินดี ไปกับสภาฯ ของเรา และเริ่มรู้สึกมีความหวังขึ้นมา แต่ตนไม่ได้รู้สึกว่าเป็นชัยชนะของฝ่ายค้าน

“ผมเป็น ส.ส.สมัยแรก ทำงานมา 3 ปี รู้สึกว่า ระบบสภาฯ ที่ถูกควบคุมโดยวิปแบบนี้ เป็นระบบที่ตรากฎหมายเพื่อประชาชนได้จริงหรือไม่ สุราก้าวหน้าทำให้ผมมีความหวังขึ้นมา แต่ไม่คิดว่าวันนี้ ร่าพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะโดนล้มด้วยมติวิปรัฐบาล ผมจึงพยายามเสนอย่างเต็มที่ เพื่อนำคลิปมาเปิดในสภาฯ แต่ประธานไม่อนุญาต” นายณัฐพงษ์ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ

ทั้งนี้หลังสมาชิกอภิปรายเสร็จสิ้น นายเกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ชี้แจงว่า กรมคุ้มครองสิทธิฯ ได้ผลักดันร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต มาเป็น 10 ปี ซึ่งร่างพ.ร.บ. เราไม่ได้คิดถึงเรื่องการแบ่งคนออกมาเป็น 2 ประเภท ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ขึ้นมาเพื่อรองรับสิทธิ และยกระดับสิทธิของกลุ่มคนเพราะเราเห็นว่า มีเพศชายไปจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ ถือเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกทำให้มีวันนี้ขึ้น ยืนยันว่าการร่างกฎหมายทั้งหมดเกิดจากการแสดงความเห็น และการรับฟังภาคประชาชนสังคมโดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ+ ทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทย และการเสนอกฎหมายมาครั้งไม่ได้เพื่อกดกลุ่ม กลุ่ม LGBT แต่ทำทุกอย่างเพื่อให้เท่าเทียมกับคนทั่วไป

ด้านนางณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์ กรรมการร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า เราได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตมาตั้งแต่ปี 2553 และในปี 2565 ก็มีร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเข้ามา เมื่อทางสำนักงานฯ ได้รับฟังความเห็นทั้งหมดแล้ว จึงส่งไปยัง ครม. ว่า การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาจจะยังส่งผลกระทบ เพราะเรายังไม่ได้ศึกษารายละเอียด ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังเป็นกฎหมายพื้นฐานของกฎหมายอีกหลายฉบับ ฉะนั้นในชั้นนั้น เรามีพ.ร.บ.คู่ชีวิตอยู่แล้ว ที่จะเป็นหลักการยกระดับการสมรสเพศเดียวกันขึ้นมา ส่วนเรื่องบางอย่างที่ยกขึ้นมาไม่ได้ เช่น การเป็นบิดามารดาและบุตร ที่ถือเป็นเรื่องของสายโลหิต จึงไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ในชั้นนี้เป็นเรื่องเร่งด่วน จึงขอเสนอกฎหมายคู่ชีวิตไปก่อน ส่วนเรื่องอื่นๆ ค่อยๆ ดำเนินการตามมา ทั้งนี้ ประเทศต่างๆ ต้องใช้เวลาในการพัฒนาการกฎหมายเรื่องนี้ 10 กว่าปี ในส่วนนี้ จึงอยากจะให้ทราบว่าทางกฤษฎีกาฯ เห็นความสำคัญของการสร้างครอบครัวในทุกเพศ และพยายามศึกษาเรื่องการยกระดับสิทธิให้เท่าเทียมมากที่สุดกับคู่สมรส

จากนั้นนายธัญวัจน์ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า ในอดีตตั้งแต่เด็ก ตนไม่ได้รับการยอมรับในความเป็นกระเทย วันนี้จึงต้องมาเสนอร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จึงต้องถามว่า ทำไมเราถึงต้องก้าวช้ากว่าคนอื่น หรือเรากลัวความก้าวหน้า และความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ขอให้ที่ประชุมรับไปเลย 4 ร่าง นี่คือชัยชนะของประชาชน ไม่ใช่ของพรรคใดพรรคหนึ่ง เราต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง พรรคก้าวไกลขอให้ทุกคนก้าวไปด้วยกัน ในการเป็น กมธ.

นายธัญวัจน์ กล่าวพร้อมเสียงสะอึกสะอื้น ว่า “ขอพูดในฐานะ ส.ส.ก้าวไกล ที่เป็นกะเทยคนหนึ่ง แต่ก็มีส.ส.ผู้ชาย และส.ส.ผู้หญิง ช่วยพูด รู้ว่าเสียงของพรรคก้าวไกล ไม่พอ จึงขอให้ทุกคนโหวตด้วยความจริงใจกับประชาชน พวกเขารอกฎหมายนี้อยู่ น้ำตาที่เห็นอยู่นี้ ไม่ใช่น้ำตาของธัญ แต่เป็นน้ำตาของประชาชน ที่รอกฎหมายอยู่”

เวลา 16.20 น. ที่ประชุมลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่....) พ.ศ. ... หรือ ร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดยนายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กับคณะ โดยเห็นด้วย 210 เสียง ไม่เห็นด้วย 180 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง และไม่ลงคะแนน 4 เสียง

ส่วน ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ... ที่ ครม. เสนอ ที่ประชุมรับหลักการ โดยเห็นด้วย 229 เสียง ไม่เห็นด้วย 166 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และไม่ลงคะแนน 2 เสียง

ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ครม. เป็นผู้เสนอ ที่ประชุมรับหลักการ โดยเห็นด้วย 230 เสียง ไม่เห็นด้วย 169 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง

ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. ... ที่เสนอโดยนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ปชป. และคณะ ที่ประชุมรับหลักการ โดยเห็นด้วย 251 เสียง ไม่เห็นด้วย 123 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง และไม่ลงคะแนน 2 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมรับหลักการทั้ง 4 ร่าง และตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ 25 คน แบ่งตามสัดส่วน ครม. 5 คน และพรรคการเมือง 20 คน แปรญัตติภายใน 15 วัน ทั้งนี้ ให้ยึดร่างกฎหมายที่ครม.เสนอ ทั้ง 2 ฉบับ เป็นหลักในการพิจารณา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครูหยุย' มั่นใจร่างพรบ.สมรสเท่าเทียม คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน

’ครูหยุย‘ มั่นใจ ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’ คลอดทัน สว.ชุดปัจจุบันแน่นอน เหตุตัวบทกฎหมายไม่มีอะไรยาก มองเกณฑ์อายุไม่เป็นปัญหา ส่วนศาสนาไม่ได้บังคับ

'วู้ดดี้' ลั่นถึงวันที่รอคอย เฮ! กม.สมรสเท่าเทียมผ่าน

ใช้ชีวิตร่วมกันกับแฟนหนุ่ม โอ๊ต อัครพล มานานหลายปี สำหรับพิธีกรคนเก่ง วู้ดดี้-วุฒิธร มิลินทจินดา และเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากให้ประเทศไทยมีกฏหมายสมรสเท่าเทียม โดยล่าสุดหลังจากรอคอยมากว่า 20 ปี ในวันที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยได้รับการอนุมัติ วู้ดดี้ วุฒิธร ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าวผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว

ผ่านแล้ว พรบ.สมรสเท่าเทียม ให้สิทธิเบื้องต้น LGBTQ อายุ 18 ปี หมั้น-สมรสได้

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่.)พ.ศ…. หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม

'รัดเกล้า' ตอกย้ำ รัฐบาลให้ความสำคัญความเท่าเทียมทางเพศ

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนนตรี และ รมว.คลัง

นายกฯ สั่งตรวจสอบชื่อตำแหน่งในหน่วยงานรัฐ ไม่ให้มีคำด้อยค่า-ลดทอนคุณค่าเพศสภาพ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ศึกษารายละเอียดการใช้ถ้อยคำเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ความเท่าเทียม ความหลากหลายทางเพศ รวมถึงเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ เพื่อให้เกียรติและศักดิ์ศรีคนทุกกลุ่ม

'วู้ดดี้-นัท นิสามณี-แต๋ง อาฟเตอร์ยัม' ร่วมประชุม กมธ.สมรสเท่าเทียม

ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศก่อนเข้าประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... หรือ