กระจ่างทุกเม็ด 'โบว์' โต้ 'ปิยบุตร' เลิก112-ฟ้องแพ่ง

แฟ้มภาพ

อ่านความเห็น 'โบว์ ณัฏฐา' ชัดเจนโต้ข้อเสนอ 'ปิยบุตร' ยกเลิกมาตรา112- เปลี่ยนคดีหมิ่นประมาทจากคดีอาญาเป็นคดีแพ่ง!

6 พ.ย.2564 - น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ "โบว์" นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความเห็นต่างในประเด็นที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ชี้แจงแนวคิดการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 และเสนอให้คดีหมิ่นประมาททั้งหมดเปลี่ยนจากคดีอาญาเป็นคดีแพ่ง เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

โพสต์ของ "โบว์ ณัฏฐา" มีรายละเอียดดังนี้ "เวลาใครบอกว่าอยากให้การหมิ่นประมาทเป็นแค่โทษทางแพ่งเพื่อส่งเสริม free speech และให้สังคมรู้จักอดทนอดกลั้น นี่คือคุณกำลังบอกว่าให้คนถูกละเมิดอดทนต่อการกระทำของผู้ละเมิดนะคะ"

"เราไม่ได้ต้องไปสั่งสอนใครว่าให้พูดจาหรือทำตัวอย่างไร แค่ไม่คอยปลุกปั่นความเกลียดชังหรือให้ท้ายเวลาเขาทำผิดก็พอ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ทุกคนก็เห็นกันอยู่ว่าใครมีบทบาทอย่างไรด้วยวิธีไหนบ้างก่อนจะมาถึงวันนี้"

"การให้พระมหากษัตริย์ฟ้องเองไม่ควรอยู่แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่าท่านรู้สึกอย่างไรแล้วโยนให้ท่านตัดสินใจ เพราะกฎหมายนี้ไม่ได้ปกป้องตัวบุคคล แต่ปกป้องตำแหน่งประมุข จึงเป็นเรื่องของรัฐ ของประเทศ ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล"

"ทางแก้ปัญหาคือให้มีองค์กรทำหน้าที่ สุดท้ายก็แล้วแต่เสียงส่วนใหญ่ในสภา"

"การฟ้องคดีแพ่งต้องคนมีเงินเท่านั้นถึงจะมีปัญญา รู้หรือไม่ว่าต้องมีเงินวางศาลในจำนวนที่เป็นสัดส่วนกับค่าเสียหายที่ต้องการเรียกตอนฟ้องด้วย ไหนจะเงินค่าจ้างทนายอีก กว่าคดีจะจบต้องเหนื่อยยากขนาดไหน คนเราอยู่ดีๆ ต้องมีภาระขนาดนี้เพราะคนที่จงใจใช้ปากทำลายคนอื่นเพื่ออะไร เราควรปกป้องใคร?"

“เสรีภาพในการแสดงออกเพื่อละเมิดผู้อื่น” ไม่มีนะคะ การที่มีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้เป็นปัญหากับเสรีภาพในการแสดงออกของสุจริตชน แต่เป็นไปเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ถูกละเมิด และมีบทยกเว้นความผิดในกรณีที่เป็นประโยชน์สาธารณะด้วย"

"นอกจากนี้ในทางปฏิบัติศาลแทบไม่จำคุกใครด้วยข้อหาหมิ่นประมาทจากการกระทำผิดครั้งแรก โทษปรับทั้งนั้น ถ้าตัดสินจำคุกก็รอลงอาญา แต่การมีโทษจำคุกอยู่มันทำให้สังคมรู้สึกถึงน้ำหนักความผิด ความร้ายแรงต่อชีวิตคนผู้ถูกกระทำ ผู้เสียหายได้สัมผัสความยุติธรรมจากการตัดสินนั้น แม้จะเป็นการรอลงอาญา"

"แม้จะเป็นคดีจราจรก็ยังมีโทษหนักเบาไปตามฐานความผิด อะไรที่มันแย่มากกับสังคมก็มีโทษจำคุก เพื่อบอกว่าการกระทำอย่างนี้มันหนัก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แบบแค่จอดรถผิดที่นะ แต่คุณเมาแล้วขับ มันทำร้ายคนอื่นได้ ถึงเวลาก็อาจรอลงอาญา แต่กฎหมายมันบอกให้คุณรู้ว่ากรรมนี้หนัก อย่าทำแล้วคิดจ่ายค่าปรับ"

"ดังนั้นการเขียนกฎหมายคือเรื่องใหญ่ เพราะมันคือการบอกสังคมว่าเราจะอยู่กันยังไง คงเคยได้ยินคนที่จะไปต่อยคนแล้วบอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวจ่ายค่าปรับเอา นั่นแหละคือผลของการเขียนกฎหมายอย่างหนึ่ง"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตะวัน-แฟรงค์' ชวดประกันตัวครั้งที่ 6 ศาลชี้ไม่มีเหตุอื่นให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง

ทนายความได้ยื่นประกัน นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และ นายณัฐนนท์ ไชยมหาบุตร หรือแฟรงค์ ต่อศาลอาญาอีกเป็น

เพื่อไทยเฮลั่น! ศาลรธน.ตีตกคำร้องหาเสียงแก้มาตรา 112

ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวการพิจารณา เรื่องที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้อง) ตามคำแถลงการณ์ของ

'ยะใส' เผยนิรโทษฯคดี 112 ยังเห็นต่างกัน มอง 'ทักษิณ' ขยับเข้าเส้นการเมืองเร็วไป

นายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ชุมนุมเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เปิดเผยภายหลังการเข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการ

ลั่นต้องไม่เลือกปฏิบัติ นิรโทษกรรมต้องครอบคลุมคดี ม.112

ที่รัฐสภา น.ส.พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนพร้อมด้วย น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ ตัวแทนเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน เดินทางเข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการ

'ศักดิ์เจียม' คอนเฟิร์ม 'ทักษิณ-เพื่อไทย' คิดแต่เรื่องตัวเอง ได้แล้วอย่างอื่นไม่สน

นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ปัจจุบันลี้ภัยที่ประเทศ