‘เรวดีโซน 2’ ตัวอย่างชุมชนเมืองเข้มแข็ง เดินหน้าพัฒนา-แก้ไขปัญหาสะสม

ในปี 2565 นี้ ปัญหาขยะยังเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญที่สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมอยู่ ไม่ใช่แค่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ แต่ในระดับชุมชน หรือหมู่บ้านนอกเมืองก็ต้องประสบกับปัญหานี้เช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าความเข้าใจในเรื่องของขยะในประเทศไทยนั้นยังจำกัดวงแคบอยู่ จึงทำให้หลายพื้นที่หรือหลายครัวเรือนอาจจะมีการจัดการในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง นำมาซึ่งปัญหาทั้งตัวขยะเอง และการเก็บกวาด แม้ที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่ามีโครงการออกมาพูดถึงหรือรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนความเคยชินของคนในสังคมได้เลยทันที

แน่นอนว่ายิ่งในพื้นที่ที่เป็นชุมชน ที่มีประชากรหนาแน่น มีพื้นที่จำกัดปัญหาขยะก็มักจะเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่างๆ จนนำไปสู่ผลเสียทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนชุมชนอีกด้วย เช่นเดียวกับในอดีตของชุมชนเรวดีโซน 2 ที่ถือว่าเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ประชากรอาศัยหนาแน่นในรูปแบบห้องเช่า และทาวเฮาส์บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนี่ยม โรงงาน โรงเรียน เดิมผู้คนมีวิถีชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ จึงขาดการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนร่วมกัน และนำไปสู่การประสบปัญหาขยะล้นถัง ส่งกลิ่นรบกวน

โดยผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาส่วนใหญ่มาจากประชากรแฝง และชุมชนไม่มีการจัดการขยะที่ดีพอ มีแต่รอทางเทศบาลมาจัดเก็บ แต่ด้วยปัญหาที่เริ่มหนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ในปี 2549 ประธานชุมชน เริ่มชักชวนเพื่อนบ้านพูดคุยถึงปัญหาและวิถีชีวิตคนชุมชนเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมาก จากปัญหาจัดการขยะนำไปสู่การขยายการรวมตัวกันในชุมชน ลุกขึ้นมารณรงค์จัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างดี และนำความรู้กลับไปทำต่อในชีวิตประจำวัน

ชุมชนเรวดีโซน 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาดขวัญ อยู่ในพื้นที่ของเทศบาลนครนนทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ และมีประชากรหนาแน่น จำนวน 625 ครัวเรือน / 3,418 คน ซึ่งจากการรวมกลุ่มกันนั้นมีการทำงานในลักษณะจิตอาสา ที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้คนหลายวัย ทั้งผู้ใหญ่-เด็ก และมีความหลากหลายในอาชีพ อาทิ กลุ่มรักษ์เรวดี กลุ่ม อสม. กลุ่มฝึกอาชีพในกลุ่มสตรี กลุ่มสองขาพิทักษ์โลก เป็นต้น ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ รวมทั้งความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

โดยแผนการดำเนินงานถูกต่อยอดมาในหลายรูปแบบ อาทิ เมื่อปี 2550 เกิดกิจกรรมคัดแยกขยะรีไซเคิลในชุมชน โดยคณะกรรมการชุมชนประชาสัมพันธ์ในชุมชนเรวดี โซน 2 ให้ช่วยกันคัดแยกขยะรีไซเคิล มีการแจกแบบสำรวจการซื้อขายขยะรีไซเคิลเพื่อจะได้ทราบปริมาณขยะรีไซเคิลในชุมชน และหลังจากกิจกรรมเริ่มเดินหน้า ถนนสะอาดขึ้น ไม่ล้นด้วยขยะเหมือนแต่ก่อน มีเศษวัสดุเหลือใช้ที่นำมาดัดแปลงเป็นโต๊ะ/เก้าอี้ใช้ในศูนย์เรียนรู้

รวมทั้งยังมีการจัดการขยะที่เป็นแบบอย่างของชุมชนเมือง (คัดแยก ทำปุ๋ยหมัก รีไซเคิล) เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนเมือง และมีการจัดการขยะ โดยชาวบ้านที่เป็นคุณครู หลังเลิกงาน จะมีกิจกรรมชวน เด็กๆ นักเรียนที่หลังเลิกเรียนแล้วในชุมชน ปั่นจักรยานเก็บขยะ ซอย 10,12 ,14 ,16 และซอย 8 เข้าเป็นบางครั้งเพราะในซอยมีการดูแลดี

กรรมการชุมชนยังได้มีการประสานงานชาวบ้านรณรงค์ติดตั้งถังดักไขมัน เพื่อลดปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน โดยเริ่มทำบ้านแกนนำกระจายไปทุกซอยประมาณ 20 หลัง จึงทำให้มีการติดตั้งถังดักไขมัน เพื่อลดปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน รวมทั้งยังใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ฯ จนสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้หลากหลาย เข้าใจง่าย น่าสนใจ ประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่าย ร่วมสมัย/สื่อใหม่ เช่น สื่อออนไลน์ คิวอาร์โค้ด ฯลฯ ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

นอกจากนี้ยังมีการปรับภูมิทัศน์ด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียว มีการถ่ายทอดให้เด็กมีจิตใจรักธรรมชาติ ด้วยการให้ผู้ปกครองพาเด็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมในวันเสาร์/อาทิตย์ เพื่อส่งเสริมให้สร้างพื้นที่สีเขียวหลายระดับ ด้วยการเพิ่มไม้สวยงาม รวมทั้งการปลูกพืชแนวตั้ง เช่น บ้านพื้นที่น้อย ทาวน์เฮ้าส์ ห้องแถว คอนโด เป็นต้น และทำการอบรมให้ความรู้การขยายพันธุ์พืช โดยประสานผู้เชี่ยวชาญสาธิตการปลูกต้นไม้ การขยายพันธุ์พืชอย่างถูกวิธี

รวมทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกของชุมชนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมมือกับเทศบาลนครนนทบุรี กศน.นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นเครือข่ายในการแก้ไขมลพิษ และตั้งเป้าที่จะเป็นชุมชนต้นแบบการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านกิจกรรมชุมชนคาร์บอนต่ำ ประจำปี 2564 “โครงการนครนนท์สู่เมืองคาร์บอนต่ำ(Low Carbon City)”

ขณะเดียวกันกลุ่มจิตอาสายังขยายผลไปชุมชนข้างเคียงและยังเริ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้มาปรับใช้ต่อยอดสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในบริบทสังคมเมืองใหญ่ ทั้งในภาคประชาชน และการประสานงานกับภาครัฐและภาคธุรกิจ เช่นนักเรียน กศน. ตำบลตลาดขวัญ ใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นห้องเรียนการขยายพันธุ์พืช และการรักษาพืช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง

มูลนิธิบูรณะนิเวศ และเทศบาลตำบลนาดี จ.สมุทรสาคร ศึกษาดูงานการรักษาคูคลองเพื่อเป็นข้อมูลในการทำวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากสหประชาติ (UN) รวมถึง มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาดูงานด้านการรักษา สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค รวมถึงยังมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ การลดใช้พลังงาน การอนุรักษ์คูคลอง รวมทั้งการนำความรู้การปลูกผักสวนครัว การทำปุ๋ยไปใช้ในพื้นที่ๆ จำกัด ในคอนโดมิเนียม เป็นต้น

โดยชุมชนเรวดีโซน 2 ได้ชื่อว่ามีความโดดเด่น เพราะมีการทำงานอย่างต่อเนื่องในทุกๆ มิติ มีทีมงานที่เข้มแข็ง และสร้างพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือมีคนรุ่นใหม่มาสืบทอดการทำงาน พัฒนาต่อให้เป็นพื้นที่สีเขียว ที่คนในชุมชนรอบข้าง มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น เปตอง เดิน วิ่งออกกำลังกาย และมีระบบการดูแลสุขภาพกาย ใจ ของคนในชุมชนและผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนในเมืองที่น่าสนใจ จนกลายเป็นชุมชนเข้มแข็งในปัจจุบัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เอ็กซ์เผิง’ยกทัพโชว์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า-เทคโนโลยีสุดล้ำ! ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 นี้มีหลายค่ายรถยนต์ขนทัพสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ

โครงการกำจัดมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าหนองแขม วางศิลาฤกษ์และยกเสาเอก มุ่งแก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืน

นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์และยกเสาเอก โครงการกําจัดมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าหนองแขม 1,000 ตัน ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขม

'พีระพันธุ์' สั่งการ ปตท. เร่งแก้ปัญหาปั๊มน้ำมัน จ่ายน้ำมันให้ผู้ใช้บริการไม่เต็มลิตร

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga” ระบุว่า เมื่อวานบ่ายๆ ผมได้รับรายงานเรื่องปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งจ่าย

กลุ่ม ปตท. จุดพลัง “สุดยอดนักขาย” และ “สุดยอดไอเดียการตลาด” มอบรางวัล Young Influencer Challenge Thailand 2023

ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา 10 มหาวิทยาลัย สร้างยอดขายสินค้าชุมชน ผ่านเว็บไซต์ ‘ชุมชนยิ้มได้’ รวมกว่า 540,000 บาท สร้างทักษะการตลาดให้ชุมชนเข้มแข็ง

ปตท. ได้รับยกย่อง “หุ้นยั่งยืน” ระดับสูงสุด AAA พร้อมคว้ารางวัลเกียรติยศด้านความยั่งยืนและนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2023

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2023 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย