ร่วมมือพัฒนาชุมชนตะโหมด สร้างภาพสังคม - ธรรมชาติให้สวยงามและสมบูรณ์

การอยู่รวมกันอย่างดีเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของสังคมและชุมชน ซึ่งสะท้อนมาจากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการอยู่ในสังคมภายใต้กฎระเบียบที่ดี ไม่กดขี่ กดดันคนในชุมชนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้มแข็งเพียงพอที่จะสร้างวินัยและสำนึกคิดที่ดีให้กับคนในสังคม รวมถึงการร่วมไม้ร่วมมือกันทำงานบางอย่างให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี หรือการมีแนวความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ทุกคนเห็นใจซึ่งกันและกัน ไม่เห็นแก่ตัวเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ชุมชนสงบสุข หรือสามารถผลักดันและพัฒนางานในชุมชนให้เป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจได้

แน่นอนว่าการบริหารจัดการชุมชนได้ดีผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนก็เหมือนกับการร่วมกันต่อจิ๊กซอว์ แต่ก็มีจิ๊กซอว์บางภาพที่มีคนริเริ่มที่จะต่อมัน แต่ไม่มีใครช่วย ไม่มีคนสานต่อ ก็จะทำให้จิ๊กซอว์ภาพนั้นไม่สามารถเสร็จสมบูรณ์ได้

“ชุมชนตะโหมด” ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างที่ปัจจุบันมีภาพจากการต่อจิ๊กซอว์ที่สวยงาม และพร้อมที่จะเป็นต้นแบบของชุมชนที่กำลังริเริ่มที่จะพัฒนา โดยจุดเด่นของชุมชนตะโหมด มีผลงานที่หลากหลาย โดยชุมชนใช้สภาลานวัดตะโหมดเป็นศูนย์กลางจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกำหนดทิศทางการพัฒนา สังคม เศรษฐกิจ (อาทิ การผลิต แปรรูป การตลาด) การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (อาทิ การจัดการพันธุกรรมพื้นบ้าน) โดยนำความรู้จากการปฏิบัติผนวกกับความรู้ทางวิชาการผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งช่วยยึดโยงภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนตะโหมดให้ เชื่อมต่อการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า จนเกิดความผูกพันของคนในชุมชนและนำมาสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน

ทั้งนี้ ชุมชนตะโหมดเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่ยังคงรักษาป่าเดิมอยู่ มีกลุ่มพิทักษ์ป่าคอยเฝ้าระวังตรวจตราดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างป่าใหม่โดยการปลูกพืชร่วมยางประมาณ 300 กว่าไร่ อนุรักษ์ดินโดยการใช้เครือข่ายการทำนาอินทรีย์พื้นที่ 300 กว่าไร่  อีกทั้ง มีการอนุรักษ์น้ำ ซึ่งมีการทำฝายชะลอน้ำประมาณ 800 ตัว ให้ผู้มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงเป็นผู้ดูแลรักษา

มีการปลูกป่าริมคลอง มีการเว้นป่าริมคลอง 4 สาย และสายห้วยอีก 18 สาย และมีการเว้นต้นไม้ริมคลองทุกสาย เป็นการทำงานอย่างมีกลยุทธ ทุกฝ่ายทั้งคนที่มีฐานะยากจน ปานกลาง ได้มีส่วนได้ส่วนเสียและมาทำงานร่วมกัน ซึ่งดิน น้ำ ป่า มีความเชื่อมโยงกันผ่านกิจกรรมที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมภายใต้หลักคิด อนุรักษ์ป่าเดิม เพิ่มเติมป่าใหม่ โดยมีความร่วมมือกับฝ่ายสนับสนุนด้านการศึกษา ซึ่งเป็นฐานที่มั่นให้กับคนรุ่นใหม่ เด็ก และเยาวชนมีหลักคิดเพื่อส่งต่อและสืบสาน คุณค่า ภูมิปัญญา ของคนรุ่นก่อนๆ ที่ทำเป็นตัวอย่างและบูรณาการสานพลังความรู้กับสถาบันทางวิชาการในท้องถิ่น สร้างเป็นแหล่งศึกษาให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสำหรับวิชาวิถีชีวิต

แต่ใช่ว่าทุกความสำเร็จจะเกิดมาอย่างง่ายดาย เพราะชุมชนตะโหมดเองก็ยังต้องเคยผ่านอุปสรรค ที่ในปี 2505 ชุมชนได้รับผลกระทบจากวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก ทำให้บ้านเรือน สวนยางพารา และพื้นที่ป่าบางส่วนเสียหาย และความเสียหายจากการเปิดสัมปทานทำไม้ในปี 2509 - 2513 ที่มีการโค่นและลำเลียงไม้จำนวนมาก ออกจากป่าครั้งใหญ่ และตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ก็ยังเกิดความไม่เข้าใจกันและความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐอยู่หลายครั้ง ทั้งจากนโยบายการประกาศพื้นที่ป่าทับที่ดินทำกิน การออกเอกสารสิทธิ สปก. ในเขตป่าสงวน

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชุมชนต้องหันกลับมาทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น...

“สภาลานวัดตะโหมด” ถือว่าเป็นเวทีหลักที่จัดทำระเบียบข้อบังคับ และจัดองค์กรการบริหารที่ชัดเจนขึ้น มีคณะกรรมการ และขอจัดตั้งองค์กรชุมชนที่มีชื่อว่าสภาลานวัดตะโหมดอย่างเป็นทางการ โดยมีพระครูอุทิตกิจจาทร เจ้าอาวาส เป็นประธานที่ปรึกษา พระครูสุนทรกิจจานุโยค รองเจ้าอาวาสเป็นประธานคณะกรรมการ และพระครูสังฆรักษ์วิ ชาญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ตลอดจนมีหน่วยงานราชการและเอกชน ชาวบ้านสาขา อาชีพต่างๆ มีทั้งเป็นกรรมการและเป็นที่ปรึกษา

และในปี 2550 เกิดการสร้างอ่างเก็บน้ำเข้าหัวช้าง แม้ชาวบ้านจะคัดค้าน แต่ก็ไม่เป็นผล ชุมชนจึงหันกลับไปรื้อฟื้นความเชื่อดั้งเดิมมาเป็นแกนศรัทธาเพื่อนำมาสู่การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ต่างๆ อาทิ พิธี “ผูกผ้าบูชารุกขเทวดาป่าเทือกเขาบรรทัด” เป็นกิจกรรมเชิงกุศโลบาย เพื่อกำหนดเขตป่ารักษาพันธ์สัตว์ป่า กับเขตทำกินของชาวบ้านให้ชัดเจน

นำกลุ่มพิทักษ์ป่าฯ กลุ่มเยาวชนต้นหญ้า กลุ่มชาวบ้านที่มีที่ทำกินติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร่วมเดินสำรวจ และพูดคุยตกลงหาข้อยุติว่าจะไม่บุกรุกอีก จนสามารถทวงคืนผืนป่า 500 ไร่ได้ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ไม่โค่นต้นยางพาราที่ปลูกแล้ว แต่ให้ปลูกป่าทดแทนในระหว่างต้นยางพารา ให้ทำกินได้ไม่เกิน 30 ปี และห้ามปลูกยางพาราอีกต่อไป

ต่อไป

นอกจากนี้ชุมชนตะโหมดยังดำเนินการเรื่องอื่นๆ อาทิ ทำผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายและประหยัดพลังงาน เช่น น้ำยาเอนกประสงค์ เผาถ่านจากผลไม้ที่เน่าเสียและเศษกิ่งไม้ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน และยังมีการทำฝายต้นน้ำลำธาร มากกว่า 100 ตัว เพื่อช่วยชะลอแรงน้ำตามริมสายห้วยต่างๆ ช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้ สามารถจัดทำระบบประปาภูเขาใช้ในชุมชน และจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์น้ำ ส่งเสริมการตัดหญ้าแทนการใช้ยาฆ่าหญ้า ส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพ เพาะพันธุ์ไม้ท้องถิ่น

จากความมุ่งมั่น และความร่วมมือกันทำให้ภาพของสังคม ของป่า ของแหล่งน้ำ และวิถีชีวิตของชุมชนตะโหมดเป็นภาพที่สวยงาม และสมบูรณ์แบบเสมอมา ซึ่งต้องชื่นชมการร่วมใจกันของคนในชุมชนที่ช่วยกันต่อจิ๊กซอว์ภาพนี้ออกมาได้อย่างดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เอ็กซ์เผิง’ยกทัพโชว์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า-เทคโนโลยีสุดล้ำ! ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 นี้มีหลายค่ายรถยนต์ขนทัพสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ

"รมว.พิพัฒน์" ลุย พัทลุง เพิ่มการจ้างงาน วัยเรียน แรงงานอิสระ กระตุ้นเศรษฐกิจ ผู้สนใจกว่า 3 หมื่นคน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 1 ล้านอัตรา ในปี 2567

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสร้างงาน และเส้นทางสู่อาชีพ ณ จังหวัดพัทลุง โดยมี นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นเกียรติในพิธี นายสมชาย

'พีระพันธุ์' สั่งการ ปตท. เร่งแก้ปัญหาปั๊มน้ำมัน จ่ายน้ำมันให้ผู้ใช้บริการไม่เต็มลิตร

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga” ระบุว่า เมื่อวานบ่ายๆ ผมได้รับรายงานเรื่องปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งจ่าย