ถอดผลลัพธ์จากการประชุมเอเปค สู่การเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 29 ได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ถือเป็นการปิดฉากการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565 ของไทย นอกจากแนวคิดหลักของการประชุมอย่างการใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG มาขับเคลื่อนวาระการประชุมแล้ว ผลลัพธ์ของการประชุมเอเปคครั้งที่ไทยเป็นเจ้าภาพนี้ ยังเป็นการสานต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบเพื่อให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์โลก รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ และสร้างประโยชน์ให้ประชาชนได้ตรงตามแนวคิดหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ Open. Connect. Balance.” อย่างสมบูรณ์

ด้านการเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ หรือ OPEN. ไทยประสบความสำเร็จในเปิดโอกาสการค้าการลงุทน ผ่านการผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย – แปซิฟิก (FTAAP) ในบริบทหลังโควิด-19 ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมคือการร่วมกับนักวิชาการและนักธุรกิจ จัดทำแผนงานการขับเคลื่อนการหารือต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ.2023 – 2026 เพื่อเพิ่มขีดเความสามารถของสมาชิกและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับประเด็นการค้าการลงทุนใหม่ ๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล การมีส่วนร่วมในอีคอมเมิร์ซของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิก การค้ากับสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะช่วยลดอุปสรรค และทำให้โอกาสการค้าการลงทุนมีความครอบคลุมถึงคนทุกกลุ่มมากขึ้น

ด้านการสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค หรือ CONNECT. เอเปคเคยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากข้อจำกัดด้านการเดินทางข้ามพรมแดน ไทยประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูการเดินทางข้ามแดนให้สะดวก ปลอดภัย และไร้รอยต่อ ผ่านผลงานที่เป็นรูปธรรม 3 ชิ้น คือ (1) การรับรองหลักการในการนำใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปใช้ในทางปฏิบัติ (2) จัดทำฐานข้อมูลเอเปคเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการเดินทางเข้าเมือง และมาตรการสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเดินทาง (3) ขยายกลุ่มผู้ใช้งานบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (ABTC) เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม MSMEs และสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ คณะทำงานเฉพาะกิจที่ไทยเป็นประธานยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้เอเปคมีกลไกและแนวทางการรับมือกับ disruption ในอนาคต

นอกจากนี้ ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับแขกพิเศษ ได้แก่ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย รวมถึงหารือกับภาคเอกชนผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การประชุม APEC 2022 CEO Summit เวทีการประชุมสุดยอดผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และได้หารือกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคด้วย

ด้านการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน หรือ BALANCE. ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 ไทยจัดการเสวนาโต๊ะกลมเพื่อตอกย้ำความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยผู้แทนจากทุกภาคส่วนในสังคม มาเล่าถึงความสำเร็จและแนวปฏิบัติในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ คือ (1) ปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และ (2) เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG (Bangkok Goals on BCG Economy Model) ที่สะท้อนว่าไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ BCG เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เอเปคเดินหน้าท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเป้าหมายส่งเสริมความยั่งยืนฉบับแรกของเอเปคที่เน้นการดำเนินการ 4 ข้อ คือ (1) การดำเนินการเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ (2) การดำเนินการเพื่อบรรลุการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน (3) การดำเนินการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน (4) การดำเนินการเพื่อลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์และความสำเร็จทั้งหมดของไทยนี้ จะเป็นมรดกให้แก่ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคทั้ง สานต่อการผลักดันเศรษฐกิจที่ครอบคลุม สมดุล และยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งไทยได้ฝากสัญลักษณ์ของการเปิดกว้าง เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล ไว้ให้เอเปค ผ่านการส่งมอบ “ชะลอม”ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย โดยนายกรัฐมนตรีไทยสู่มือของนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่จะเป็นเจ้าภาพเอเปคต่อในปีหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คำป่าหลายโมเดล' ตีแผ่ 'นโยบายฟอกเขียว' ขยายวงกว้างแย่งยึดที่ดินทำกินชาวบ้าน

ยกขบวนชี้หลุมพรางใหญ่ BCG นโยบายฟอกเขียว – คาร์บอนเครดิต นำไปสู่ปัญหาการแย่งยึดที่ดินในวงกว้าง ผลักประชาชนให้ตกสู่ภาวะความยากจนเรื้อรัง หนุนรัฐบาลให้อำนาจประชาชนในการจัดการทรัพยากร

เดอะมอลล์ กรุ๊ป หนุน กทม. ลดฝุ่นพิษ เพิ่มสถานีชาร์จรถEV

2 ก.พ.2567 - วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่าเดอะมอลล์  กรุ๊ป ในฐานะองค์กรแห่งความยั่งยืนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้แนวคิด ESG  ตอกย้ำการเป็นศูนย์การค้ารักษ์โลกขานรับนโยบายกรุงเทพมหานครในโครงการ“

เอาแล้ว! 'รองอ้วน' เผยนายกฯฝากเคลียร์ทุกเรื่องที่ค้าง ระหว่างปฏิบัติภารกิจสหรัฐฯหลายวัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ในฐานรักษาการนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามก

เดินสายต่างประเทศ 'เศรษฐา' บินอเมริการ่วมประชุมเอเปค

นายกฯเดินทางไปประชุมเอเปค ครั้งที่ 30 วันนี้ พร้อมดึงดูดสนับสนุนการค้าการลงทุนในไทย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับการดำรงชีวิตประชาชน

ดีไซเนอร์ชื่อดังต่อยอด'บาติก'สู่แฟชั่นทันสมัยและยั่งยืน

ผ้าบาติกนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้ เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นำศิลปินนักออกแบบเครื่องแต่งกายมากความสามารถจับคู่กับชุมชนผู้ผลิตผ้าบาติกส่งเสริมความสามารถ

'บิ๊กตู่' ปลื้ม 'กกพ.' ขานรับและต่อยอดแนวคิด BCG

นายกฯ ยินดี หน่วยงานขานรับแนวทาง BCG ที่รัฐบาลผลักดัน ล่าสุด กกพ. สนับสนุนใช้พลังงานหมุนเวียน พลังงานสีเขียว แต่ยังรักษาความมั่นคงทางพลังงานในประเทศ