‘เสน่ห์จันท์’ต้นแบบพัฒนาชุมชน ฟื้นเศรษฐกิจ หนุนเมืองสร้างสรรค์

จันทบุรี เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ทะเล ภูเขา สวนผลไม้  และมีความหลากหลายทางด้านอาหารเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภูมิปัญญาอาหารท้องถิ่น เกิดเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์มากมาย ความโดดเด่นด้านอาหารของเมืองจันท์  ถือเป็นต้นทุนที่สำคัญในการพัฒนาชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ นำมาสู่การพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะ คำว่า ”เสน่ห์จันท์”  ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนรุ่นใหม่ใน จ.จันทบุรี  ที่อยากร่วมพัฒนาบ้านเกิด เป็นต้นแบบการสร้างรายได้ เพิ่มและสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนผู้ผลิต กลุ่มสินค้า และบริการที่ผลิตจากวัตถุดิบในเมืองจันท์ ก่อเกิดธุรกิจที่ยั่งยืน

เสน่ห์จันท์มีผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากอาชีพประมง อาชีพชาวสวน อาชีพทอเสื่อกกตั้งแต่บรรพบุรุษ มีการวางแผนบริหารจัดการธุรกิจ  ยกระดับมาตรฐานการผลิตแบบดั้งเดิม เน้นปลอดภัย และกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน  โดยได้รับการส่งเสริมผ่านชุมชนดีมีรอยยิ้มที่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ  จำกัด (มหาชน) เป็นผู้สนับสนุน เกิดเป็นต้นแบบขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)

นางสาวจิรยา ประพรต เจ้าหน้าที่ชำนาญการโครงการพัฒนาชุมชน (ชุมชนดีมีรอยยิ้ม จันทบุรี)  กล่าวว่า   “จันทบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่นี่มีวัฒนธรรมอาหารหลากหลาย แต่ละอำเภอในจังหวัด มีวัตถุดิบพื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มีภูมิปัญญาการปรุง และวิถีกินเป็นรสชาติเฉพาะตัว ถือเป็นเสน่ห์ของเมืองจันท์  นำมาสู่การพูดคุยกับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่จันทบุรี  ขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ชื่อ ”เสน่ห์จันท์” (Sanay Chan)   โดยมีพื้นที่กระจายสินค้าที่หลากหลายของ จ.จันทบุรี ภายใต้แนวคิด “ภูผา มหานที วิถีคนจันท์ “   นอกจากนี้ เชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการผลักดันเมืองจันทบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอาหารตามกรอบเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกอีกด้วย”

แนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างวิสาหกิจเพื่อสังคมจันทบุรี มุ่งเน้นคัดสรรผลิตภัณฑ์จากชุมชนที่มีความพร้อม  มีความต้องการพัฒนาร่วมกัน  ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสินค้า มาตรฐานการผลิต พัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ตอบโจทย์คนยุคปัจจุบัน  จากนั้นจึงจัดทำแผนธุรกิจชุมชน  นำชาวบ้านมาอบรมเชิงปฏิบัติการคำนวณต้นทุนการผลิต การจัดทำระบบบัญชีการเงิน ระบบสต๊อก แผนการผลิต แผนการตลาด  และหาช่องทางจัดหน่ายสินค้า ทั้งฝากขายออนไลน์ และทำตามออเดอร์ มีระบบหน้าบ้าน หลังบ้าน ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ นี่คือ ทักษะองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดให้คนเมืองจันท์ เพื่อสร้างความยั่งยืน  ระยะยาวตั้งเป้าหมายจะยกระดับสู่บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม

“ร้านเสน่ห์จันท์ตั้งอยู่ย่านการค้าใจกลางเมืองจันท์บริเวณชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร  ถือเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนธุรกิจให้กับผู้ประกอบการชาวจันทบุรี โดยมีพื้นที่กระจายสินค้า กลุ่มสินค้าเกษตร อาหารทะเลแปรรูป อย่างกะปิ กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง ปลาแดดเดียว ปลากุเลา    ผลไม้แปรรูปจากกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น อย่างทุเรียนทอด มังคุดกวน สละกวน เงาะกวน    กลุ่มสินค้าหัตถกรรม งานคราฟ เช่น เสื่อกก  กลุ่มสินค้าผลไม้สดตามฤดูกาล ไอติมตามฤดูกาลของ จ.จันทบุรี  โดยร้านมีพื้นที่แสดงสินค้า มีนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นลูกค้า กลางปีนี้กลุ่มสินค้าผลไม้แปรรูปจะจำหน่ายบนเครื่องบินแอร์เอเชียอีกด้วย  ซึ่งแผนการตลาดจะเชื่อมโยงกับวัตถุดิบอาหารของจันทบุรีตลอด 12 เดือน และมีการหาช่องทางขายสินค้าใหม่ๆ  ทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ สร้างการรับรู้ผ่านเพจ เว็บไซด์ ไอจี และผ่านออฟไลน์“  นางสาวจิรยา กล่าว

การดำเนินงานของชุมชนดีมีรอยยิ้ม จันทบุรี นอกจากกระตุ้นเกษตรกรให้มีการปลูกผลไม้ ปลูกสมุนไพร เพื่อการแปรรูป รวมถึงเกษตรกรชาวเมืองจันท์เห็นช่องทางและมูลค่าการตลาด เกิดช่องทางระบายผลไม้ตามฤดูกาล  ถือเป็นแรงจูงใจในการประกอบอาชีพและสืบสานภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่น ตลอดจนกระตุ้นผู้ประกอบการแปรรูปให้นำผลไม้มาผลิตเน้นความเป็นสุดยอดอาหาร กระตุ้นให้งานแปรรูปเสื่อกกเติบโต สมาชิกรวมตัวกันเหนียวแน่น เกิดรอยยิ้มในชุมชน   เพราะมีออเดอร์ตลอดทั้งปี มีการพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด เกิดการขยายกลุ่มผู้รับประโยชน์ในชุมชน ที่สำคัญเด็กรุ่นใหม่หันกลับมาให้ความสนใจกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของจันทบุรี   สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

นอกจากนี้  ยังต่อยอดศาสตร์และศิลป์ต่างๆ ของชุมชน สู่หลักสูตรการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น เสื่อกกจันทบูร ของดีเมืองจันทน์ ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น  ขณะเดียวกันมีสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เข้ามาร่วมพัฒนางานหัตถกรรมผ่านโครงการนี้  โดยดึงนักศึกษาออกแบบและพัฒนาลวดลายเสื่อกกที่ดึงดูดใจผู้บริโภคและไม่ตกเทรนด์แฟชั่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น

อีกความสำเร็จหนึ่ง คือเกิดทริปท่องเที่ยวยั่งยืนหลายเส้นทางพานักท่องเที่ยวไปสัมผัสอาหารถิ่นเมืองจันทบูรที่มีเสน่ห์  เยี่ยมชมสวนสมุนไพรเศรษฐกิจที่สำคัญเมืองจันท์ สวนออร์แกนิค  ชมวิถีประมงพื้นบ้าน   อิ่มอร่อยเมนูพื้นบ้านของคาวและหวานขึ้นชื่อ หรือเยี่ยมชมชุมชนเก่าแก่ริมน้ำจันทบูร ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ

ส่วนการร่วมขับเคลื่อนเมืองจันท์ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก จนท.ชำนาญการโครงการพัฒนาชุมชน (ชุมชนดีมีรอยยิ้ม จันทบุรี) กล่าวทิ้งท้ายว่า การก้าวสู่เมืองสร้างสรรค์อาหารโลกมีความเป็นไปได้อย่างมาก เพราะองค์การยูเนสโกให้ความสำคัญกับกลุ่มคนทำงานภาคปฏิบัติในพื้นที่ ถ้าไม่มีคน ไม่มีชุมชนพัฒนาขับเคลื่อน ช่วยสร้างศักยภาพด้านอาหารของเมืองจันทบุรี จะไม่มีทางผ่านการพิจารณาของยูเนสโก แต่ที่นี่ชุมชนเข้มแข็งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมือง  เรามีเครือข่ายกลุ่มคนรุ่นใหม่ช่วยพัฒนาเมืองเพื่อเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์  มีวัตถุดิบอาหาร สำรับอาหารพื้นถิ่น และผลผลิตทางการเกษตร มีตลาดวัตถุดิบ มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเสริมประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารครบครัน  เป้าหมายสู่เมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกจึงเป็นฝันที่ไม่ไกล

ด้วยกระบวนการทำงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรีที่เน้นการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงความร่วมมือระดับท้องถิ่น ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด  และเครือข่ายภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ทั้งในด้านสังคม  เศรษฐกิจ  วัฒนธรรมประเพณี และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  ถือเป็นการเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

สทนช.เกาะติดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 2 จังหวัดภาคตะวันออก บูรณาการแก้ปัญหาเร่งด่วน-ระยะยาว มั่นใจรอดแล้งนี้

สทนช.ลงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จ.จันทบุรี-ตราด ทั้งพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ เร่งประสานหน่วยงานเกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนแผนแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำเค็มรุกล้ำในระยะเร่งด่วน

ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่

'Young Designer' พัฒนาดินเผาบ้านเชียง

เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ร่วมออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ มาผลิตของที่ระลึกโดยไม่ลืมอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชน เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุนชนบ้านเชียงให้ทันสมัยและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์

กทม. Big Trees และ ไทยเบฟ ร่วมสร้างความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟู “ต้นจามจุรี” ณ “สวนเบญจกิติ” ปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุง

หลังจากที่ได้มีการฟื้นฟูต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นไม้ดั้งเดิมภายในใจกลางสวนสาธารณะใจกลางเมืองสวนเบญจกิติ เมื่อกลางปี 2566 ที่ผ่านมานั้น ทำให้ต้นจามจุรีที่มีปัญหาเรื่องความสุขภาพ