เช็กท่าที ส.ว. ในสถานการณ์ 'พิธา' จ่อเก้าอี้นายกฯ

15 พ.ค.2566 - นายจเด็จ อินสว่าง สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) กล่าวถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของที่ประชุมร่วมรัฐสภา หลังพรรคก้าวไกลได้เสียงมาเป็นอันดับหนึ่งและนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลประกาศพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีว่า สำหรับตนเองได้กล่าวคำปฏิญาณตนตอนเข้ารับหน้าที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติไว้ที่มาตรา 6 ไว้ว่า เราต้องมีหน้าที่รักษาระบอบประชาธิปไตยอันทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฯ และมาตรา 50(1)ก็บัญญัติไว้ว่าหน้าที่ของปวงชนชาวไทยคือต้อง

พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งพรรคก้าวและนายพิธาได้เคยประกาศในการที่จะเลิกมาตรา 112 ซึ่งกระทบกระเทือนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะด้อยค่าสถาบันฯ ที่เรารับไม่ได้

“ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น สำหรับผม ก็คือไม่เห็นชอบ ซึ่งแม้เขาจะรวมเสียงส.ส.มาได้เท่าไหร่ก็ตาม จะเป็น 309 เสียงของสภาฯ อย่างที่แถลงไว้หรือจะไปถึง 376 เสียงก็แล้วแต่ ที่หากได้ถึง 376 ก็ไม่ต้องมาพึ่งสว. แต่หากได้มาสัก 309 เสียง ก็ยังต้องถามสว. ซึ่งส่วนตัวผม ถ้าเสนอชื่อมาเป็นนายพิธา ผมไม่รับ จะลงมติไม่เห็นชอบเพราะผมจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและคำปฏิญาณ “นายจเด็จกล่าว

เมื่อถามว่าหากหัวหน้าพรรคก้าวไกล บอกว่าจะไม่เอาเรื่องแก้ 112 มาเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภา นายจเด็จกล่าวว่า ถ้าแบบนั้นค่อยว่ากันอีกที ดูว่าเขาจะพูดแบบไหน แต่ว่าเขาพูดไปแล้ว เขาจะกลืนคำพูดได้หรือ เขาจะกลับกลอกถึงขนาดนั้นหรือ ถ้าจะมาบอกว่าไม่ได้ยกเลิก แต่จะมาปฏิรูป ผมมองว่าพรรคก้าวไกลมีความสับสนคำว่าปฏิรูปกับคำว่าล้มล้างอยู่ตลอดเวลา บางทีก็ใช้คำว่าเลิก บางทีก็บอกปฏิรูป แล้วผมถามว่าจะปฏิรูปอะไร สถาบันฯไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคุณเลย คุณจะมาแก้112 จะมาลดโทษกฎหมาย ถามว่าทำเพราะอะไร คุณต้องการจะด้อยค่าสถาบันฯ ใช่ไหม แล้วเรื่องอะไรคุณต้องทำแบบนั้น ก็อย่างที่มีคลิปวีดีโอออกมา ตอนก้าวไกลหาเสียง ที่มีคนขับวินมอเตอร์ไซด์พูดกับคนของก้าวไกลว่า เขาอายุ 37 ปี แต่สถาบันไม่เคยมาทำอะไรผมเลย แล้วทำไมต้องยกเลิกเรื่องการทำผิดหมิ่นสถาบันฯ เขาก็พูดตรงไปตรงมาดี ผมยังชอบเลย หากนายพิธา จะมาให้เหตุผลใหม่เรื่อง 112 ผมก็ต้องฟังอีกที ว่าเขาให้เหตุผลอย่างไร แต่ถ้ายังเหมือนเดิม ผมก็จะลงมติไม่เห็นชอบเพราะผมกล่าวคำปฏิญาณไปแล้ว หน้าที่ของผมคือต้องดูแลชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และธำรงไว้ซึ่งการปกครองอันทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

“ท่านพุทธทาสภิกขุเคยบอกไว้ว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นกระแสไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านทรงเคยตรัสเป็นพระบรมราโชวาทไว้เลยว่า เรื่องของความถูกต้องนั้น ต้องดูว่าเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่หรือไม่ และเป็นประโยชน์ในระยะยาวหรือไม่ บางทีมันก็เป็นประโยชน์ของคนส่วนน้อย หรือบางทีเป็นประโยชน์ของคนส่วนใหญ่แต่เป็นประโยชน์ในระยะสั้นๆ ท่านพูดถึงความยั่งยืน ผมก็ยินดีด้วย ก้าวไกลได้กระแสเยอะแยะ แต่ว่ากระแสเหล่านี้ เป็นเรื่องของคนส่วนใหญ่ที่มาตามกระแส ที่ก็รู้ๆกันอยู่ และที่พูดกันว่าเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แต่ผมว่าไม่ใช่เรื่องของประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โดยหากเป็นเรื่องของประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ตามที่ท่านพุทธทาสภิกขุพูด ผมยินดีเต็มที่ ต้องเข้าใจความหมายของคำว่าประชาธิปไตยให้ชัดเจน”นายจเด็จกล่าว

ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภาอีกคนกล่าวว่า เรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรีนั้น เรื่องดังกล่าว ต้องดูว่า ฝ่ายก้าวไกลรวมเสียงส.ส.ได้ตามที่บอก 309 เสียงอย่างที่บอกหรือไม่ ต้องรอให้เขาไปรวมเสียงมาก่อนและต้องดูว่าสุดท้าย เสียงส.ส.ที่จะได้ที่แท้จริงคือเท่าไหร่เพราะต้องรอให้กกต.ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งก่อนเพื่อดูว่า แต่ละพรรคการเมืองมีเสียงส.ส.เท่าใดและสุดท้ายต้องดูว่า มีการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯให้ที่ประชุมรัฐสภากี่คน เสนอมากี่พรรค ต้องดูสามประเด็นดังกล่าวถึงจะตัดสินใจได้

เมื่อถามถึงกรณีนายพิธา ที่มาจากก้าวไกลที่ได้ยื่นนโยบายตอนหาเสียงและยื่นต่อกกต.อย่างเป็นทางการว่าพรรคมีนโยบายแก้ 112 คิดว่าสว.จะมีท่าทีอย่างไร นายเสรีกล่าวว่า ก็ต้องดูอีกที เพราะตอนที่เขาพูด เขาพูดตอนหาเสียงก่อนวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่หลังจากนี้ต้องดูว่าเขาจะยืนยันเรื่องการแก้ไขหรือยกเลิก 112 อีกหรือไม่ ก็ต้องมาดูตรงนี้อีกที

ถามย้ำว่า หากนายพิธาและก้าวไกลบอกว่า เรื่องแก้ 112 หากเป็นนายกฯหรือเป็นรัฐบาลจะไม่เอาเรื่องนี้มาเป็นนโยบายรัฐบาล แต่จะให้ส.ส.ก้าวไกล ไปดำเนินการในสภาฯเอง นายเสรีกล่าวว่า ก็ต้องให้เขาพูดมาให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายหรือเรื่องของเจตนาที่จะทำอะไรกับเรื่องเหล่านี้ ก็ต้องดูความชัดเจนว่าเขาจะยืนยันเรื่องนี้หรือไม่

“ส่วนตัวผมเอง หากเขายืนยันว่าจะแก้ไข ผมก็ไม่เห็นด้วยอยู่แล้วเพราะมันสร้างความร้าวฉานให้คนในชาติ ก็ต้องดูเขาอีกที ว่าหลังจากที่ได้รับการเสนอชื่อ จะมีเรื่องเหล่านี้อยู่หรือไม่ แต่ไม่รู้ว่าเขาจะบอกหรือไม่บอก แต่ต้องดูเจตนาที่เขาจะแสดงออก จะเป็นนโยบายหรือไม่ จะมีเรื่องเหล่านี้หรือไม่”นายเสรีกล่าว

นายเสรี กล่าวว่า การตัดสินใจ ว่าจะเห็นชอบ ไม่เห็นชอบหรืองดออกเสียง ของสว. ก็เป็นการตัดสินใจของแต่ละบุคคล มันเป็นการทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเขาจะเลือกแบบไหน ตรงนี้ก็รอความชัดเจนจากเขา(นายพิธา) อีกที เพราะก็ต้องยอมรับว่าเขาได้เสียงมาเยอะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดระเบียบ กกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวเลือกสมาชิกวุฒิสภา 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวานนี้ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน​กรรม​การ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ ได้ลงนามในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาพ.ศ.2567

ประธาน กมธ.พัฒนาสังคมฯ ย้ำจุดยืนไม่ไปดูงาน ตปท.

'ครูหยุย' ย้ำจุดยืน กมธ.การพัฒนาสังคมฯ ไม่ไปดูงาน ตปท. ชี้หากใครไปต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ แนะกำหนดแนวทางให้ชัด เศรษฐกิจแย่ -แจกเงินหมื่น ไม่ให้ไปดูงานต่างประเทศ

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

'ธนาธร' ปลุกหนักมาก! ชวนลงสมัคร 'สว.ประชาชน' เข้าไปรื้อรัฐธรรมนูญ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า แถลงเปิดตัวแคมเปญ ‘สว.ประชาชน’ ของคณะก้าวหน้า ว่า คณะก้าวหน้าเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง สว.ในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่จะมาถึง จึงอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนให้มาร่วมกันลงสมัคร สว.