อดีต ปปช. หนุนร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข

29 ม.ค. 2567 - ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และเครือข่ายภาคประชาชน จัดกิจกรรมเวทีสาธารณะสภาที่ 3 เรื่อง ‘ข้อเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม กับการปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริง’ โดยมี คุณอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวเปิดงาน

และผู้ร่วมอภิปรายโต๊ะกลม ได้แก่ ศ.วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คณะหลอมรวมประชาชน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์)

พร้อมด้วยผู้แทนพรรคการเมือง อาทิ นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ พรรคก้าวไกล ซึ่งมี นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดย ศ.วิชา กล่าวถึงข้อเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน และการปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริงว่า เห็นด้วยกับแนวคิดการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สร้างเสริมสังคมสันติสุข หรือร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ถูกเปลี่ยนชื่อ เพื่อลดแรงเสียดทานทางสังคม ว่า ไม่ขัดต่อความเป็นธรรมใดๆ เลย เพราะมีการนำเสนอเพื่อสร้างเสริมสังคมสันติสุข และเป็นเรื่องการคุ้มครอง เพื่อไม่ให้มีการดำเนินคดีในทางยืดเยื้อ ป้องกันการทำให้เกิดความรู้สึกปรปักษ์ต่อกันในทางการเมือง

ศ.วิชา กล่าวต่อว่า การนิรโทษกรรมแตกต่างจากการอภัยโทษ เพราะการอภัยโทษนั้น เป็นพระราชอำนาจเต็มของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นเรื่องของการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผิด แต่พระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานอภัยโทษเพื่อลดหย่อนผ่อนโทษ หรือยกเว้นความผิดกันไป แม้ศาลตัดสินแล้วก็ตาม

ส่วนการนิรโทษกรรมนั้น เป็นอำนาจของรัฐสภาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่ป้องกันไม่ให้เกิดความคลางแคลงใจต่อกัน เพราะถ้าหากบ้านเมืองไปไม่รอด รัฐสภาเองก็อยู่ไม่รอดเช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับ ปลายสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ไม่สามารถประชุมเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่มีประโยชน์ได้ ทำให้กฎหมายหลายฉบับคาราคาซังอยู่ในสภาฯ

สำหรับแนวทางของการนิรโทษกรรมนั้น การปกครองบ้านเมืองต้องขึ้นอยู่กับความเมตตาขององค์รัฏฐาธิปัตย์ แม้การปกครองประเทศจะเป็นอำนาจของราษฎร แต่การวางเกมในทางการเมือง เมื่อขึ้นมามีอำนาจสูงสุดแล้วก็ต้องมีความกรุณา จะใช้ความอาฆาตมาดร้าย หรือความพยาบาทต่อกันไม่ได้

ศ.วิชา ยังอ้างถึง แนวทางของสหประชาชาติ (UN) ที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อให้สังคมโลกมีเวทีในการเจรจากัน เช่นเดียวกับกฎหมายนิรโทษกรรมที่ต้องมีขึ้น เพื่อให้เกิดการพูดคุยกันในชั้นของผู้แทนฯ ในทุกระดับ ซึ่งการนิรโทษกรรมนั้น จะผ่านไม่ได้ ถ้าผู้นำทางการเมืองไม่มี ’Political View‘ หรือความปราถนาในการเมืองเพื่อต้องการยุติความรุนแรงให้เกิดสันติภาพในบ้านเมือง

ศ.วิชา ยังกล่าวถึงสถานการณ์ในระดับโลกอีกว่า สหรัฐอเมริกาทราบดี ว่าไม่สามารถพูดคุยกับอิหร่าน เพื่อหาข้อยุติในกรณีกบฎฮูตีก่อสงครามในทะเลแดงได้ จึงใช้ประเทศไทยเป็นเวทีแห่งสันติภาพ เพื่อพูดคุยกับ ’หวัง อี้‘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน

ศ.วิชา กล่าวทิ้งท้ายว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่การเอาชนะหรือแพ้ ไม่มีใครได้เต็มร้อย และไม่มีใครเสียเต็มร้อย ทุกคนมีทั้งได้ และเสีย แต่สิ่งได้เหนือกว่านั้นคือ ความสงบสุขในบ้านเมือง เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เมืองไทยสง่างามในสายตาโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปตท. ร่วมปรับภูมิทัศน์คลองเปรมประชากร ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

กรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และที่ผ่านมาก็มีหลายกิจกรรมเกิดขึ้นและใช้งานทรัพยากรภายในพื้นที่ไปอย่างคุ้มค่า

เคาะ นิรโทษกรรมคดีมีเหตุจูงใจทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน

ที่รัฐสภา นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราช

กองทัพอากาศ จ่อเคาะเลือกแบบเครื่องบินรบ

ที่กองทัพอากาศ พลอากาศเอก พันธุ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลัง นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังดูแลกองทัพต่อหลังมีการปรับคณะรัฐมนตรี ว่

เปิดความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี

สืบเนื่องจาก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้อง