เปิดความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี

2 พ.ค.2567 - สืบเนื่องจาก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี เฉพาะตามมาตรา 160(6) ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดย นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีหนังสือลงวันที่ 1 ก.ย.2566 ตอบกลับเลขาธิการคณะรัฐนตรี โดยมีเนื้อหาระบุว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าว โดยมีผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริง และมีความเห็นในแต่ละประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ หนึ่ง เห็นว่า มาตรา 160 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี โดยใน(6) ของมาตราดังกล่าวบัญญัติว่า รัฐมนตรีต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 ซึ่งมาตรา 98 (7) กำหนดลักษณะต้องห้ามไว้ว่า "เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้งเว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลทุโทษ" ดังนั้น การได้รับโทษจำคุกไม่ว่าโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งใด จึงเป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี บุคคลซึ่งเคยได้รับโทษจำคุกในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามดังกล่าว เว้นแต่บุคคลนั้นได้พ้นโทษเกินสิบปีแล้ว หรือได้รับโทษจำคุกในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ อันเป็นข้อยกเว้นที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ประเด็นที่สอง เห็นว่า มาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ชัดเจนว่า รัฐมนตรีต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวไม่รวมถึงคำสั่งให้จำคุก ดังนั้น ผู้ซึ่งจะด้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจึงต้องไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

ทั้งนี้ การให้ความเห็นในกรณีนี้เป็นการตอบข้อหารือตามที่ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีชี้แจงต่อกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ว่าประสงค์จะขอหารือเฉพาะกรณีมาตรา 160 (6)ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เท่านั้น

อนึ่ง ข้อหารือนี้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดย่อมเป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ การให้ความเห็นในกรณีนี้จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ตรวจฯโยนเผือก 'กกต.' ส่งศาลรธน. วินิจฉัยคุณสมบัติ รมต.พิชิต

พ.ต.ท. กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยผลวินิจฉัยคำร้องที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรี

'รมต.พิชิต' มั่นใจไม่ใช่คนผิด รับชีวิตมีอุบัติเหตุกันได้ พร้อมขอโอกาสพิสูจน์ตัวเอง

นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า วันนี้ตนปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นวันแรก ซึ่งจากการประชุมครม.วันนี้ ได้มีมติมอบหมายงานสำคัญให้กับตนคือ เป็นผู้ตรวจร่างมติคณะรัฐมนตรี

นายกฯรับไม่ทราบขั้นตอน 'กฤษฎีกา' ให้ศาลรธน.ชี้ขาดคุนสมบัติ 'พิชิต' ยันทุกอย่างเป็นไปตามกม.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าพรรคเพื่อไทยเพื่อร่วมกิจกรรม "10 เดือนที่ไม่ต้องรอ ทำต่อให้เต็ม 10" ซึ่งจะมีการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. ในนามพรรคเพื่อไทย

'สมชาย' ฟันเปรี้ยง 'พิชิต' ขาดคุณสมบัติ จี้กกต.ส่งศาลรธน.สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่ามีคำวินิจฉัย

'สว.สมชาย'ฟันธง 'พิชิต' เสี่ยงขาดคุณสมบัติ ยัน รมต.ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามรธน.มาตรา160 หาใช่เพียงแค่ที่ส่งไปถามให้กฤษฎีกาตีตวาม ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ผิดจริยธรรมด้วย จี้กกต.ส่งศาลรธน.มีคำสั่งให้ 'หยุดปฏิบัติหน้าที่' จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย

นายกฯซวยแล้ว! ภาคปชช.อ้างคำวินิจฉัยกฤษฎีกาคุณสมบัติ 'ทนายถุงขนม' ยื่นป.ป.ช.เอาผิด

สืบเนื่องจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรี เฉพาะตามมาตรา 160(6) ประกอบกับมาตรา 98 (7) และมาตรา 160 (7) ของรัฐธรรมนูญ

'ถาวร' งัดรธน.ชำแหละ 'พิชิต' ไม่มีคุณสมบัติเป็นรัฐมนตรี จี้กกต.วินิจฉัยเองได้

นายถาวร เสนเนียม สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความผ่ านเฟซบุ๊กว่า “ถาวร”ย้ำ หนักมาก!ข้าฯก็คนไทย #รับไม่ได้