'หมอมนูญ' อธิบาย ทำไมโควิด-19 ถึงจบที่ 'โอมิครอน'

ในที่สุดมนุษย์ก็จะมีภูมิคุ้มกันหมู่ หยุดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างภายในปีนี้ โรคโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เด็กเกิดใหม่ทุกคนในโลกนี้ไม่เคยรับเชื้อ ก็จะติดเชื้อนี้ทุกปี

7 ม.ค.2565- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ว่า ธรรมชาติหาทางช่วยให้ไวรัสโควิด-19 อยู่กับมนุษย์มากที่สุดและนานที่สุด ไม่ให้สูญพันธุ์จากโลกนี้ ด้วยการกลายพันธุ์ เกิดไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ลดความรุนแรงลงมาก ไม่ทำให้มนุษย์ป่วยหนักถึงขั้นเสียชีวิต เพื่อให้มนุษย์เป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อต่อให้เพื่อนมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ผิวดำ ผิวขาว คนเอเซีย ทุกเพศ ทุกวัย แพร่เชื้อได้ง่ายทางการหายใจ และรวดเร็วมากกว่าทุกสายพันธุ์ดั้งเดิม ในที่สุดคนส่วนใหญ่ในโลก ไม่ช้าก็เร็วจะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน

การติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเปรียบเสมือนการได้รับวัคซีนธรรมชาติอ่อนฤทธิ์ตัวเป็น กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่าวัคซีนทุกชนิดในปัจจุบัน ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลมีความเห็นตรงกับผม (ดูภาพ) ในที่สุดมนุษย์ก็จะมีภูมิคุ้มกันหมู่ หยุดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างภายในปีนี้ โรคโควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เด็กเกิดใหม่ทุกคนในโลกนี้ไม่เคยรับเชื้อ ก็จะติดเชื้อนี้ทุกปี

ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนเป็นตัวแปรสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำของประเทศที่ยากจนขาดแคลนวัคซีน กับประเทศที่ร่ำรวยมีวัคซีนมากเกินพอ คนที่ได้รับวัคซีนครบโดสก็ยังติดเชื้อและแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เพียงแต่ลดความรุนแรงลง แต่เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรง อาการเหมือนเป็นหวัดธรรมดา วัคซีนช่วยลดความรุนแรงลงได้อีก แต่ก็ไม่มากเท่าสายพันธุ์เดลตา

ผมแนะนำให้คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัว 7 โรคและหญิงตั้งครรภ์ ที่ยังไม่ได้วัคซีนเข็มแรก รีบไปรับวัคซีนโดยด่วน และคนที่ถึงเวลาฉีดเข็มวัคซีนกระตุ้น รีบไปรับวัคซีน ก่อนที่คนส่วนใหญ่ในประเทศจะรับเชื้อโอมิครอนใน 1-2 เดือนข้างหน้า

ในอนาคต โลกอยากเห็นวัคซีนครอบจักรวาล ครอบคลุมเชื้อไวรัสโคโรนา 4 ชนิด ที่ทำให้เกิดไข้หวัดในเด็ก รวมทั้ง ซาร์ส (SARS) เมอร์ส (MERS) ไม่เฉพาะไวรัสโควิด-19 เท่านั้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 150 ราย ดับ 6 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 19 – 25 มี.ค. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 150 ราย

'หมอยง' ชี้ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจในคนปกติ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”