“แกนนำกลุ่ม 40 อดีตสว.” มัดรวม 5 จุดสลบหวังศาลรธน.ฟัน “เศรษฐา” กระเด็นหลุดเก้าอี้ เก็บของออกจากตึกไทยคู่ฟ้า ย้ำพฤติการณ์เป็นตัวหลัก นำชื่อคนมีมลทินขึ้นทูลเกล้าฯ
14 ส.ค.2567 – ในวันพุธ 14 ส.ค. เวลา 15.00 น. เป็นวันที่ ศาลรัฐธรรมนูญ จะนัดอ่านคำวินิจฉัยคดี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตกเป็นผู้ถูกร้องในคำร้องคดี กลุ่ม 40 อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ยื่นคำร้องให้ศาลรธน.วินิจฉัยกรณี นายเศรษฐา นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบานเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสมชาย แสวงการ แกนนำกลุ่ม 40 อดีตสว.กล่าวว่า ทางกลุ่มผู้ร้องมีความมั่นใจในการสู้คดี ซึ่งในคำแถลงปิดคดีที่ยื่นต่อศาลรธน. ทางกลุ่มผู้ร้องได้สรุปย้ำ 5 ประเด็นสำคัญว่านายเศรษฐา ในฐานะนายกฯมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการนำรายชื่อนายพิชิต ขึ้นกราบบังคับทูลฯ เป็นรัฐมนตรี ที่จะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ ไม่ให้มีสิ่งใดบกพร่อง แต่เรื่องนี้ สิ่งสำคัญก็คือ นายเศรษฐา รู้อยู่แล้วหรือควรรู้อยู่แล้วสองครั้ง ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวว่านายพิชิต มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ
นายสมชาย กล่าวว่า ครั้งแรกคือตอนกำลังตั้งรัฐบาลเศรษฐา 1 ที่จะตั้งนายพิชิต กับนายไผ่ ลิกค์ เป็นรมต.แต่แล้วก็ถอนชื่อออก เพรามีปัญหาเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรธน.มาตรา 160 (4)และ(5) ซึ่งสังคมรับรู้และสื่อมวลชนก็รับรู้ว่า ทั้งสองชื่อมีปัญหา นายเศรษฐา จะปฏิเสธไม่รับรู้ไม่ได้ เพราะรับรู้ตั้งแต่ต้น จึงไม่นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ แต่นายกฯ ก็อาจจะอ้างทางการเมืองว่าทั้งสองคน ถอนตัวไม่ประสงค์จะมีชื่อ ก็ว่ากันไป อีกทั้ง ก็ยังสามารถเสนอชื่อคนอื่นเป็นรัฐมนตรีแทนได้ เพราะตอนตั้งรัฐบาลครั้งแรก รายชื่อเสร็จเมื่อ 1 ก.ย. 2566 แล้วมาปรับครม.อีกครั้งช่วงเมษายน 2567 รวมเวลา 7 เดือนเศษ นายกฯ ถ้าจะปรับครม.ก็เสนอชื่อคนอื่นแทนนายเศรษฐาได้
นายสมชาย ระบุว่า และการที่ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำหนังสือถามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา หลังนายพิชิตกับนายไผ่ ลิกค์มีปัญหา การทำหนังสือถามความเห็นไปที่กฤษฏีกา ก็ต้องถามแบบให้พิจารณาทั้งมาตรา ในเรื่องเกี่ยวกับหากมีข้อสงสัยเรื่องคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของการเป็นรัฐมนตรี ไม่ใช่ถามแค่ว่า มีปัญหาขัดกับมาตรา 160 (6) และ (7) หรือไม่ เหตุใดไม่ถามให้ครบไปเลยว่า ขัดมาตรา 160เลยหรือไม่ ที่ผ่านมา เวลาหากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะสอบถามกฤษฎีกา ก็จะถามโดยให้กฤษฎีกาพิจารณาว่ารัฐมนตรีแต่ละคนมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่
นายสมชาย ยกตัวอย่างว่า สมัยที่ตนเองเคยเป็นประธานกมธ.วิสามัญตรวจสอบประวัติฯ ของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นองค์กรอิสระหลายแห่ง ของวุฒิสภา เวลาคณะกรรมาธิการฯ สอบถามหรือขอข้อมูลหน่วยงานราชการ ที่ตามหลักปฏิบัติ จะมีการถามไปยัง 21 หน่วยงานเพื่อขอให้ตรวจสอบข้อมูล เช็คประวัติ เช่นสำนักงานป.ป.ช. , สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, สำนักงานศาลยุติธรรม -สำนักงานอัยการสูงสุด-สำนักข่าวกรองแห่งชาติ -สำนักงานตำรวจแห่งชาติ -ศาลปกครอง ทางกมธ.ฯ จะไม่ได้ถามว่า คนที่ส่งชื่อไปมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติตามรธน.มาตรา 160 วงเล็บใดวงเล็บหนึ่ง หรือไม่ แต่กมธ.ฯ จะถามไปเลยว่า คนที่ส่งชื่อมาให้ตรวจสอบ เคยมีคดีอะไรหรือไม่ หรือเคยถูกตรวจสอบอะไรหรือไม่
นายสมชาย ระบุว่า แล้วหน่วยงานต่างๆ ก็จะตอบมา เช่น บอกว่าบุคคลใดกล่าวเคยตกเป็นจำเลยหรือมีคดีความมีชื่ออยู่ ถ้าแบบนี้ ก็เท่ากับไม่ผ่านคุณสมบัติฯ ไม่ใช่ไปเลือกตั้งคำถามกับบางหน่วยงาน เช่น บุคคลคนนี้ ที่เคยมีคดีอยู่ที่ศาลปกครอง คดีสิ้นสุดหรือยัง ศาลยกคำร้องหรือไม่ ถ้าแบบนี้เรียกว่า ถามแบบเฉพาะเจาะจง ที่ไม่ถูกต้อง การถามให้ตรวจสอบประวัติ-คุณสมบัติต้องห้าม ต้องถามทั้งหมด ไม่ใช่ถามแบบเฉพาะเจาะจง
นายสมชายกล่าวต่อไปว่า การตั้งรัฐมนตรีครั้งแรกของรัฐบาลนายเศรษฐา เมื่อกันยายน 2566 การถามเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนที่มีชื่อเป็นรัฐมนตรี ต้องถามทั้งหมด ถามให้ครอบคลุม ถามทุกอนุมาตรา ของมาตรา160 และมาตรา 98 จะเลือกถามเฉพาะบางอนุมาตราแบบที่ทำไม่ได้ นี้คือรู้ครั้งแรก ว่านายพิชิต มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ
นายสมชาย กล่าวอีกว่า รู้ครั้งที่สองคือ ในช่วงปรับครม.และมีชื่อนายพิชิต จะได้เป็นรมต. นายเศรษฐาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ได้ตรวจสอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนนำชื่อนายพิชิตฯ ขึ้นทูลเกล้าฯในการปรับครม. แต่เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไม่ได้มีการทำหนังสือไปถึงคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อขอหารือก่อนนำชื่อนายพิชิตขึ้นทูลเกล้าฯ มีแค่การถามครั้งแรกเมื่อ 1 ก.ย. 2566 ในช่วงการตั้งรัฐบาลครั้งแรก จึงเท่ากับว่า นายกฯก็รู้ตัวดีว่า ไม่ได้ถามกฤษฏีกา แต่กลับบอกกับสื่อมวลชนว่าหารือไปยังกฤษฏีกาแล้ว
“ถือเป็นการไม่ซื่อสัตย์สุจริตในการตอบ ทำโดยไม่รับผิดชอบ ทำให้สังคมสับสน เกิดความเข้าใจว่า ตรวจสอบคุณสมบัตินายพิชิตอีกครั้งหนึ่งแล้ว ทั้งที่นายพิชิต เคยถูกคุมขังหกเดือนในคดีถุงขนม 2 ล้านบาท ซึ่งคดีนี้ คนที่อยู่ในวงการตุลาการ นักกฎหมายรู้ดีว่า ถือเป็นคำพิพากษา แต่ที่เรียกว่าคำสั่งศาลให้จำคุกเพราะตอนเริ่มต้น ความผิดมันเกิดขึ้นที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ที่ตอนเกิดเหตุคดีถุงขนม ยังเป็นศาลเดียว ไม่เหมือนปัจจุบัน ที่ให้อุทธรณ์ได้จึงเป็นสองศาล อีกทั้งศาลยุติธรรม ยังได้มีการดำเนินคดีอาญา กับกลุ่มผู้กระทำผิดในคดีถุงขนมสองล้านบาท ในข้อหา ติดสินบนเจ้าพนักงาน โดยนำรูปถ่ายเงิน -พยานบุคคลไปแจ้งความกับตำรวจ จนคดีไปถึงอัยการ แต่อัยการกลับสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งพบว่าอัยการสูงสุด เวลานั้นคือหนึ่งในสามแคนดิเดตนายกฯคนปัจจุบันของพรรคเพื่อไทย” นายสมชาย ระบุ
นายสมชาย ระบุด้วยว่า ซึ่งนายเศรษฐา ก็สามารถสอบถามอดีตอัยการสูงสุดคนดังกล่าวเพื่อถามข้อมูลได้ นอกจากนี้ ที่สำคัญมาก คือสำนักงานศาลยุติธรรม ยังทำบันทึกถึงสภาทนายความหลังเกิดคดีถุงขนม เพื่อให้สภาทนายความเพิกถอนใบอนุญาตการว่าความ การเป็นทนายความของนายพิชิต เพราะทำผิดจริยธรรม-จรรยาบรรณอย่างร้ายแรง ที่สภาทนายความมีระเบียบไว้ว่า หากถูกเพิกถอนใบอนุญาตครบห้าปีแล้ว สามารถไปยื่นเรื่องขอใบอนุญาตใหม่ได้ แต่จากการตรวจสอบพบว่า ทีมทนายความถุงขนมที่มีด้วยกันสามคน ถึงตอนนี้ทั้งหมด ยังไม่ได้รับใบอนุญาตทนายความ ซึ่งส่วนใหญ่ คนที่ถูกถอนใบอนุญาตพอครบห้าปีไปขอใหม่ ก็ได้รับเกือบหมด ยกเว้นกรณีมีความผิดร้ายแรง
“กรณีถุงขนม ถือว่ามีความผิดร้ายแรง สภาทนายความ ถึงไม่มีการคืนใบอนุญาตว่าความ ให้กลุ่มทนายความคดีถุงขนม ซึ่งพบว่ากลุ่มดังกล่าวเคยไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง จนคดีไปถึงศาลปกครองสูงสุด ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำตัดสินยืนว่าสิ่งที่สภาทนายความทำถูกต้องแล้ว ดังนั้นเท่ากับนายเศรษฐา รู้อยู่แล้วเป็นครั้งที่สอง โดยรู้และสามารถตรวจสอบได้ แต่ไม่ตรวจสอบก่อนนำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ นายกฯจะมาอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้เรียนนิติศาสตร์ ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์จะอ้างแบบนี้ไม่ได้ คนไทยทุกคนต้องรู้กฎหมาย และนายกฯมีคณะที่ปรึกษากฎหมายคือกฤษฎีกา แต่ตอนที่ทำหนังสือไปถึงกฤษฎีกา มีการเลือกถามความเห็น ถามไม่ครบ
นายสมชาย ระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามคำร้อง นายเศรษฐา ถือเป็นตัวการหลัก ไม่ใช่ตัวประกอบ นายกฯคือตัวการในความไม่ซื่อสัตย์สุจริต ในการนำรายชื่อนายพิชิตขึ้นทูลเกล้าฯ ที่ต้องนำชื่อคนที่ไม่มีปัญหาข้อกฎหมาย ไม่มีลักษณะต้องห้าม การเป็นรัฐมนตรี แต่นายเศรษฐา ไม่ซื่อสัตย์สุจริตในการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี เพราะคดีนายพิชิต มีหลักฐานครบถ้วนหมด ปฏิเสธไม่ได้ นายกรัฐมนตรี ทำผิดมาตรฐานประมวลจริยธรรมอย่างร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าพิจารณาตามข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง นายเศรษฐา พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรีแน่นอน เพราะข้อกฎหมายกับข้อเท็จจริง
“นายเศรษฐา ก็ยอมรับว่าทำจริง จะมาบอกว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ ยิ่งเป็นนายกฯ ผู้บริหารสูงสุดของประเทศต้องรู้กฎหมาย ทำตามกฎหมาย หากเป็นชาวบ้านทั่วไปทำผิดคดีลหุโทษ แล้วอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย ศาลยังอาจพอทุเลาคดีให้รอลงอาญาได้ แต่กรณีของนายกฯ เป็นความผิดร้ายแรง ไม่ซื่อสัตย์สุจริต จะมาอ้างไม่รู้ไม่ได้ เป็นความรับผิดชอบของนายกฯต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่สุดท้าย ศาลรธน.จะวินิจฉัยอย่างไร ในฐานะตัวแทนกลุ่ม 40 สว. ก็มั่นใจนายกฯทำผิดร้ายแรง ไม่ต่างจากคดีอดีตผู้นำประเทศคนอื่นๆ ที่เคยถูกศาลรธน.สั่งให้พ้นจากตำแหน่งเช่นกรณีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สมัยเป็นนายกฯย้ายเลขาธิการสมช.เพื่อเอาญาติมาเป็นผบ.ตร.เป็นการเอื้อให้กับเครือญาติ ศาลรธน.ก็ให้ยิ่งลักษณ์ พ้นจากการเป็นนายกฯ กรณีของนายเศรษฐา ก็น่าจะวินิจฉัยให้นายเศรษฐา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนว่าหากนายเศรษฐา พ้นจากนายกฯแล้วใครจะมาเป็นนายกฯต่อ อย่าไปกังวล หากใครทำผิดกฎหมาย ไม่ว่ามีตำแหน่งอะไร ก็ต้องผิด ต้องรับผิดชอบ แล้วคนอื่นก็ขึ้นมาทำหน้าที่แทน”นายสมชาย ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลรับคำร้อง ให้สว.สมชาย หยุดทำหน้าที่
ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “สมชาย เล่งหลัก” หยุดปฏิบัติหน้าที่ สว.
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
'สนธิญา' ยื่นหลักฐานเพิ่ม ร้องศาลรธน. สั่ง 'อิ๊งค์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจกเงินหมื่นไม่ตรงปก
นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป
'เทพมนตรี' ชี้รัฐบาลไม่กล้านำ 'MOU44-JC44' ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย!
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา
'พุทธอิสระ' บอกหรือถึงยุคทมิฬของประชาชนเมื่อนักการเมืองขู่ค้าความ!
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือเดิมเรียกพระพุทธะอิสระ