ศาลรธน. เสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 สั่งเศรษฐา พ้น นายกฯ ปมตั้งพิชิตนั่งรมต. ทั้งที่ขาดคุณสมบัติ ชี้ผิดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ไม่ซื่อสัตย์สุจริต
14 ส.ค.2567 - ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคดีถอดถอน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กรณีแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายจิระนิติ หะวานนท์ เริ่มอ่านคำวินิจฉัยว่า ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาเบื้องต้นมีว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เข้าชื่อร้องต่อผู้ร้องขอให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 และผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4)และ(5) กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82(1 )และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 มาตรา7 ( 9)
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งรับคำร้อง กรณีของผู้ถูกร้องที่1ไว้ วินิจฉัย และให้ผู้ถูกร้องที่ 1ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ส่วนคำร้องในส่วนที่ขอให้พิจารณาความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัว เห็นว่าข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกร้องที่ 2 ขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.2567 แล้วเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง ( 2)
กรณีไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีต่อไป ตามพระราชบัญญัติประ กอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 มาตรา 57 กรณีไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งนี้รับคำร้องเฉพาะกรณีของผู้ถูกร้องที่ 2 สำหรับการสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82วรรคสอง หรือไม่ ในชั้นนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาและคำชี้แจงและเอกสารของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบแล้ว เห็นว่าคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา58 วรรคหนึ่ง กำหนดประเด็นที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา170 วรรคหนึ่ง(4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ(5 )หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 160 และมาตรา 170 เป็นบทบัญญัติในหมวด 8 คณะรัฐมนตรี มาตรา 160 บัญญัติว่ารัฐมนตรี(4) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์( 5) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง มาตรา 170 (1) บัญญัติว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160
สำหรับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160(5)นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 219 บัญญัติให้นำมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระรวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยธุรการของศาล รัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระพ.ศ. 2561 มาใช้บังคับแก่คณะรัฐมนตรีด้วยโดยมาตรฐานทางจริยธรรมข้อ 3 วรรคสอง กำหนดว่ามาตรฐานทางจริยธรรมนี้ให้ใช้บังคับแก่คณะรัฐมนตรีด้วย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 219 วรรคสองด้วย
ข้อ 7 กำหนดว่าต้องถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ข้อ8 กำหนดว่าต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่นหรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ข้อ 11 กำหนดว่าไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างผลประ โยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ข้อ 17 กำหนดว่าไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดการเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง ข้อ 19 กำหนดว่าไม่คบหาสมาคมกับผู้ประพฤติผิดกฎหมาย ผู้มีอิทธิ พลหรือผู้มีความประพฤติหรือผู้มีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสียอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ และข้อที่ 7วรรคหนึ่ง กำหนดว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง และวรรคสอง กำหนดว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 2 และหมวด 3 จะถือว่ามีลักษณะร้ายแรงหรือไม่ให้พิจารณาถึงพฤติกรรมของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ เจตนาและความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
นอกจากนั้น ยังปรากฏเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญตามคำปรารภว่ารัฐธรรมนูญนี้ วางกลไกป้องกันตรวจสอบและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวดเด็ดขาดเพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจาก คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการปกครองบ้านเมือง หรือใช้อำนาจตามอำเภอใจ จึงบัญญัติคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ตามรัฐธรรม นูญ มาตรา 170 เป็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเพิ่มเติมจากลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 98 ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่ามีความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริย ธรรมอย่างร้ายแรง รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ( 7) และ( 8) ด้วยสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ สูงกว่าบุคคล ที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานทางบริหาร และทางการปกครองประเทศ ความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของรัฐธรรม นูญ มาตรา160(4) และ(5)นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 160(4)เป็น กรณีความซื่อสัตย์สุจริตในภาพรวมทั่วไปของบุคคลที่ปรากฏต่อสังคม ส่วนกรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5) เป็นกรณีเฉพาะเจาะจง ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานทางจริยธรรม การพิจารณาว่าบุคคลใดมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160(4) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5)นั้น เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นผู้พิจารณาในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรีและเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการดังกล่าว
โดยผู้รับสนองพระบรมราชโองการจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการที่ตนลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั้นเสมอ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามที่มีผู้ถวายคำแนะนำ ความรับผิดชอบดังกล่าวประกอบด้วย 3 ประการ คือ ความรับผิดชอบในความถูกต้องตามแบบพิธี หรือกระบวนการได้มาโดยถูกต้องและสมบูรณ์ ความรับผิดชอบในข้อ ความของเอกสารที่นำขึ้นกราบบังคมทูล ทูลเกล้าทูลกระหม่อม เพื่อถวายเพื่อให้ทรงลงพระปรมา ภิไธยและความรับผิดชอบในสารัตถะที่ถูกต้องและความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และกฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน
นายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 2 เคยต้องโทษตามคำสั่งศาลฎีกาที่ 4599/2551 ที่วินิจฉัยว่า เสมียนทนายความที่ทำงานประสานงานให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำถุงกระดาษใส่เงินสดพร้อมให้เจ้าหน้าที่ของศาลฎีกา โดยที่รู้หรือควรรู้ว่า ภายในถุงกระดาษนั้นมีเงินสดอยู่ และผู้ถูกร้องที่ 2 มีพฤติการณ์ ที่เชื่อได้ว่ามีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าวด้วยในลักษณะเป็นตัวการร่วม โดยมีเจตนาจูงใจให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กระทำการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ที่อาจเชื่อมโยงไปเป็นประโยชน์แก่จำเลยในคดี หมายเลขอว. 1/2550 ซึ่งเป็นลูกความของผู้ถูกร้องที่ 2
การกระทำดังกล่าวเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นความผิดละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความทางแพ่ง มาตรา 31 (1) และ มาตรา 33 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และน่าจะมีมูลความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144 หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงาน ผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งประกอบอาชีพทนายความและที่ปรึกษากฎหมายย่อมตระหนักดีว่าการกระทำดังกล่าว จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันศาลยุติธรรม และจะส่งผลกระทบต่อความ เชื่อถือ ศรัทธาในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในอำนาจตุลาการจึงลงโทษสถานหนักให้จำคุกผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกกล่าวหาอื่นรวม 3 คน คนละ 6 เดือน ในเดือนก.ย. 2552 คณะกรรมการมารยาททนายความ สภาทนายความพิจารณาแล้วเห็นว่าการที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ถูกลงโทษ ในคดีละเมิดอำนาจศาลตามคำสั่งศาลฎีกาข้างต้น เป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาลทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา และกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมไทย เป็นการกระทำผิดตามข้อบังคับสภาทนายความว่า ด้วยมารยาททนายความ พ.ศ 2529 ข้อ 6 และข้อ 18 โดยลบชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 และผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องออกจากทะเบียนทนายความ
ต่อมามีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 22 ส.ค.2566 และพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ฉบับลงวันที่ 1 ก.ย. 2566 โดยไม่ปรากฏชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรีแต่ในพระบรมราชโองการประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 27 เม.ย. 2567 ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้นำความกราบบังคมทูลว่า สมควรปรับปรุงรัฐมนตรีบางตำแหน่งเพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และปรากฏชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงมีมูลกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง ที่ 1 นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเพราะเหตุไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4)ประกอบมาตรา 160 (4)และ(5) อันเนื่องมาจากการแสดงชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ ก็ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ถูกร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าผู้ถูกร้องที่ 2 ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4)และ (5) เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 2 เคยถูกลงโทษจำคุกเป็นเวลา 6 เดือนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลร่วมกับผู้ถูกกล่าวหาอื่นรวม 3 คน ตามคำสั่งศาลฎีกาที่ 4599 /2551 และถูกสภาทนายความสั่งลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ
แม้ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าการถูกลงโทษตามคำสั่งศาลให้จำคุกในคดีดังกล่าวได้พ้นโทษเกิน 10 ปีถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ไม่เป็นลักษณะต้องห้าม ความเป็นรัฐมนตรี แต่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการให้ความเห็นที่จำกัดเฉพาะกรณีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 อนุมาตรา 6 ประกอบมาตรา 98 (7)และมาตรา 160 (7)เท่านั้น ไม่รวมถึงลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 260 อนุมาตรา 4 และอนุมาตรา 5 เมื่อพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 1 ก.ย. 2566 ไม่ปรากฏชื่อของผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี แต่ภายหลังปรากฏชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดังกล่าว ที่มีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 27 เม.ย. 2567 จึงมีปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ถูกร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่ 2 ตามที่ถูกกล่าวหาว่าอาจมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ไม่ว่าอนุมาตราใดมาตราหนึ่ง อย่างชัดเจนหรือไม่
จากการไต่สวนผู้ถูกร้องที่ 1 และ นางณัฐจารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ชี้แจงว่า กระบวนการเสนอชื่อบุคคลเพื่อนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมมหารกรุณาธิคุณเพื่อทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีในเบื้องต้นจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรี โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็น หน่วยงานรับผิดชอบจะทำแบบแสดงประวัติ และแบบแสดงคุณสมบัติผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีได้ตรวจสอบ และกรอกข้อมูลรับรองตนเอง และนำส่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตรวจสอบและยืนยันคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลนั้น เช่น การเป็นบุคคลล้มละลาย ข้อมูลคดีแพ่ง คดีอาญา รวมทั้งเชิญบุคคลดังกล่าวมาชี้แจงหรือหารือ กันในข้อมูลให้ครบถ้วน หากพบประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามจะดำเนินการหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาและจัดทำเอกสารสรุปการตรวจสอบประวัติรายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งรัฐมนตรีต่อไป
พิจารณากระบวนการดังกล่าวเป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ย่อมต้องทราบถึงประวัติอันรวมถึงคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้ถูกร้องที่ 2 จากเอกสารสรุปการตรวจสอบประวัติที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เสนอขึ้นมา และในคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่าได้พิจารณาข้อเท็จจริงกรณีผู้ถูกร้องที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกตามคำสั่งศาลฎีกา ที่ 4599/2551 การละเมิดอำนาจศาลตั้งแต่ปี 2551 รวมถึงการลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความเพราะประพฤติผิดมารยาททนายความ ตั้งแต่ปี 2552 มาพิจารณาด้วยประกอบกับไม่มีพฤติการณ์หรือการกระทำอื่นใดของผู้ปกครองที่ 2 จะถูกหยิบยกขึ้นมาโต้แย้ง รวมทั้งไม่พบว่าผู้ถูกร้องที่ 2 มีพฤติการณ์หรือการกระทำอื่นใดเป็นพิเศษหรือถูกฟ้องเป็นคดีอาญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องที่ 1 พิจารณาข้อเท็จจริงและใช้วิจารณญาณในการวินิจฉัยเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกร้องที่ 2 แล้วเห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ได้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ไม่ให้แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี ข้อเท็จจริงสอดคล้องกับคำชี้แจงของเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ว่า เมื่อตรวจสอบและมีข้อสงสัยในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2566 จึงรายงานต่อผู้ถูกร้องที่ 1 และผู้ถูกร้องที่ 1 ขอให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
ข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้างต้นจึงรับฟังได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่ 2 ตามที่ถูกกล่าวหาว่าอาจมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ไม่ว่าอนุมาตราใดอนุมาตราหนึ่งก่อนการตัดสินใจเสนอแต่งตั้งให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี
นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อ่านว่า ข้อพิจารณาต่อไปมีว่า เมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่สอง ดังกล่าวแล้วแต่ยังคงเสนอชื่อผู้ถูกร้องที่สองแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ฉบับวันที่ 27 เม.ย.2567 เป็นกรณีที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติ ตามคุณสมบัติรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) หรือไม่ เห็นว่า พฤติการณ์ที่ผู้ถูกร้องที่สองถูกลงโทษจำคุกดังกล่าว และการถูกลงโทษให้ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ เพราะมีพฤติการณ์ ผิดมารยาททนายความ เป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สถาบันและวิชาชีพทนายความ เป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความอย่างมาก เป็นการแสดงว่า เป็นผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ เพราะความหมายของคำว่าซื่อสัตย์และคำว่าสุจริต มิใช่เป็นเพียงเรื่องของการกระทำทุจริตหรือประพฤติโดยมิชอบเท่านั้น แต่ต้องให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธา เชื่อถือได้ ซึ่งต้องเป็นการทำให้วิญญูชนทั่วไปทราบและยอมรับ ว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตหรือไม่ หากเป็นหรือไม่เป็นเช่นนั้น ย่อมถือได้ว่าไม่ใช่เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
โดยข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นที่รู้อยู่แล้ว ข้อเท็จจริงต้องไม่มีเหตุหรือเงื่อนไขใด หรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นได้อีก แต่เมื่อผู้ถูกร้องที่ 2 มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 เสนอชื่อผู้ถูกร้องที่ 2 ให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ย่อมปฏิบัติมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะเสนอบุคคลที่ไม่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี แม้ผู้ถูกร้องที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าตนมีภูมิหลังจากการประกอบธุรกิจ มีประสบการณ์ทางการเมืองที่จำกัด ไม่มีความรู้ด้านนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ จึงไม่อาจวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้
เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของฝ่ายบริหาร ทุกการตัดสินใจมีผลกระทบต่อบ้านเมือง จึงต้องมีความรับผิดชอบในทุกการกระทำ ประกอบกับหลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจต่อสาธารณชนนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัดในลักษณะภาวะวิสัย ไม่ใช่ปัญหาข้อเกี่ยวกฎหมายที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญหรือประสบการณ์โดยเฉพาะ เพียงความตระหนักรู้ถึงมาตรฐานเยี่ยงวิญญูชนหรือบุคคลทั่วไปในสังคมก็เพียงพอต่อการวินิจฉัยได้แล้ว
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ผู้ถูกร้องที่ 2 ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่สาธารณะชนต่างรู้กันโดยทั่วไป จากการกระทำของผู้ถูกร้องที่สอง เป็นเหตุให้ศาลฎีกาสั่งลงโทษจำคุกนั้น เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่ผิดไปจากบทวิสัยที่วิญญูชนทั่วไปจะปฏิบัติ
เมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นำความกราบบังคมทูลฯ ทั้งที่มีข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เป็นกรณีต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 160 (4) โดยไม่ได้ใช้ วิจารณญาณเยี่ยงวิญญูชน หรือแม้คำนึงถึงมาตรฐานบุคคลทั่วไป และไม่คำนึงถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ การที่นายกรัฐมนตรีจะเสนอบุคคลใดแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีนั้น มิได้อาศัยเฉพาะแต่เพียงความไว้วางใจส่วนตนโดยแท้ เพราะนอกจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในรูปแบบรัฐสภาแล้ว คณะรัฐมนตรีซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแต่ละคน ต้องได้รับความเชื่อถือ และไว้วางใจจากสาธารณะชนหรือประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตยที่แท้จริง อันเป็นความเชื่อถือและ และไว้วางใจในทางความเป็นจริงด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์สำคัญ ในการป้องกันบุคคลที่ปราศจากคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอำนาจในการบริหารปกครองบ้านเมืองตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) (5) บัญญัติให้รัฐมนตรีต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง จึงเป็นคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามสำคัญที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้บัญญัติไว้เพิ่มเติม จากลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรีที่เคยมีมาในรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้
ดังนั้น แม้นายกรัฐมนตรี จะวินิจฉัยเสนอแต่งตั้งบุคคลที่ตนไว้วางใจให้เป็นรัฐมนตรีตามที่ตนเห็นสมควร หรือตามครรลองประเพณีทางการเมือง แต่บุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามอันเป็นข้อกฎหมาย ที่วินิจฉัยได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 บุคคลนั้นต้องมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจจากสาธารณะชนตามมาตรฐานวิญญูชนด้วย ดังนั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4)
ข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี ในการแต่งตั้งครั้งที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นในคราวการเสนอการแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อครั้งวันที่ 1 ก.ย. 2566 เฉพาะกรณีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเฉพาะกรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (6) (7) เท่านั้น แต่การเสนอแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี เมื่อครั้งวันที่ 27 เม.ย. 2567 ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ถูกร้องที่ 1 สอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่สองเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ผู้ถูกร้องที่ 1 และนางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ชี้แจงในประเด็นดังกล่าวประกอบเอกสารหลักฐานจากเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รับฟังได้ว่า การเสนอชื่อบุคคลต่างๆให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตามพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ฉบับลงวันที่ 1 ก.ย. 2566 และฉบับลงวันที่ 27 เม.ย. 2567 มีกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามโดยหน่วยงานที่มีอำนาจและหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี คือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อตามกรอบหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานของตน
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อกฎหมายคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีรายใดก็ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ เพื่อหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามแล้ว นายกรัฐมนตรีปฏิบัติตามความเห็น คณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป เห็นว่า การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นอกจากการพิจารณาความเห็นและข้อหารือกฎหมายจากองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ถูกร้องที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรีต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกสรรบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของวิญญูชนว่าน่าเชื่อถือและไว้วางใจด้วย
การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่าตนมีภูมิหลังจากการประกอบธุรกิจ มีประสบการณ์ทางการเมืองจำกัด ไม่มีความรู้ทางด้านนิติศาสตร์หรือ รัฐศาสตร์ จึงไม่อาจวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามการเป็นรัฐมนตรีหรือไม่ เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้
เพราะหลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือไว้วางใจจากสาธารณะชนไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่ต้องอาศัยความรู้หรือความชำนาญประสบการณ์ที่ต้องศึกษาโดยเฉพาะ เพียงความตระหนักรู้ ตามมาตรฐานวิญญูชนบุคคลทั่วไปก็เพียงพอต่อการวินิจฉัยได้แล้ว
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่ข้อเท็จจริงปรากฏในคำสั่งศาลฎีกาที่ 4599/2551 ที่ศาลสั่งลงโทษผู้ถูกร้องที่ 2 ล้วนเป็นข้อเท็จจริง ที่สาธารณะชนต่างรู้กันโดยทั่วไป แม้กรณีดังกล่าวพนักงานอัยการจะมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ถูกร้องที่ 2 และพวกเป็นคดีอาญา ในข้อหาให้สินบนต่อเจ้าพนักงานหน้าที่ โดยความผิดอาญาอื่นก็ตาม แต่การฟ้องคดีอาญาเป็นการดำเนินคดีทางกฎหมายที่มุ่งจะกล่าวโทษความผิดต่อบุคคลที่ให้ต้องถูกลงโทษอาญา ซึ่งเป็นโทษที่ถึงแก่สิทธิเสรีภาพ เนื้อตัว ร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรง ดังนั้น มาตรฐานในการพิจารณาว่าจะฟ้องหรือจะลงโทษอาญาต่อบุคคลใดจึงต้องพิสูจน์ความผิดให้ครบองค์ประกอบความผิดฐานนั้น การที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้น ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือหรือความน่าไว้วางใจทางการเมือง ที่พิจารณาจากมาตรฐานของวิญญูชน
การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2อันเป็นเหตุให้ศาลฎีกามีคำสั่งลงโทษนั้น เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้อย่างชัดแจ้ง เป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่ผิดไปจากปกติวิสัย ที่วิญญูชนทั่วไปประพฤติปฏิบัติ เช่นการนำเงินสดจำนวนสองล้านบาทใส่ถุงมามอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศาลฎีกา โดยอ้างว่าหยิบสลับกับถุงขนมช็อกโกแลต เป็นพฤติการณ์ที่วิญญูชนยากจะเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นได้ โดยผู้กระทำการและผู้ร่วมกระทำการ เป็นบุคคลที่ผู้ถูกร้องที่สองไม่อาจปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำได้ ดังนั้นผู้ที่เคยมีพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมไม่มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจที่จะเป็นรัฐมนตรี เมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยตลอดแล้ว แต่ยังคงเสนอให้แต่งตั้งผู้ถูกร้องที่สองเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามพระบรมราชโองการฯลงฉบับวันที่ 27 เม.ย. 2567 ผู้ถูกร้องที่ 1 จึงไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4)
นายปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง อันเป็นลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5) โดยกล่าวหาว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าพบผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าทนายความประจำตัว จึงเป็นมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ ผู้ถูกร้องที่ 1 ต้องการเอื้อประโยชน์ให้บุคคลดังกล่าว และหลังจากผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าพบบุคคลดังกล่าวแล้ว ผู้ถูกร้องที่ 1 นำความกราบบังคมทูล เพื่อเสนอแต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรี ทั้งที่เคยถอนชื่อ หรือขอให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ถอนชื่อ จากบัญชีเสนอชื่อแต่งตั้งรัฐมนตรีในการเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2566 เป็นพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่มี ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงรวมถึงรู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 2 หรือผู้อื่น ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 ให้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีโดยมิชอบ เป็นการกระทำที่ถือเอาประโยชน์ส่วนตนหนือกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ และเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตน และ ประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม เป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการสมคบสมาคม กับผู้มีความประพฤติ หรือผู้มีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสีย อันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ถ้าต่อมาตรฐานจริยธรรม ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระพ.ศ. 2561 ข้อ 7, 8, 11, 17 และ 19 ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 219 วรรคสอง บัญญัติให้ใช้บังคับแก่คณะรัฐมนตรีด้วย ผู้ถูกร้องที่ 1 จึงมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5) เห็นว่าการวินิจฉัยว่า รัฐมนตรีคนใดมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม อย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5) เป็นหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อการวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีผู้นั้น จะต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ส่วนหน้าที่และอำนาจของศาลฎีกาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1) กำหนดให้มีอำนาจวินิจฉัยคดีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม อย่างร้ายแรง หากมีเหตุสงสัยว่า มีพฤติกรรมซึ่งกระทบต่อความเชื่อถือ และไว้วางใจจากสาธารณชนเพื่อการวินิจฉัยว่าผู้นั้นเป็นผู้สมควรที่จะมีตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ไม่ว่าผู้นั้นดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ในขณะนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าการที่ผู้ถูกร้องที่ 1 รู้หรือควรรู้ ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆของผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าวโดยตลอดแล้ว แต่ยังเสนอแต่งตั้ง ให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตอันเป็นที่ประจักษ์ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) ย่อมเป็นการกระทำการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและ องค์กรอิสระ พ.ศ 2561 หมวด 1 ข้อ 8 ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งข้อ 27 วรรคหนึ่ง กำหนดให้การฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวดหนึ่ง ให้ถือว่า มีลักษณะร้ายแรง อันเป็นลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5) ด้วย อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4)และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐาน ทางจริยธรรม อย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (5) เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) แล้วรัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) โดยให้นำ มาตรา 168 วรรคหนึ่ง (1)มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นตำแหน่งต่อไป
สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 5 คน คือ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ เห็นว่า ความเป็น รัฐมนตรีของนายเศรษฐา นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160 (4) และ (5) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 4 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลรับคำร้อง ให้สว.สมชาย หยุดทำหน้าที่
ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “สมชาย เล่งหลัก” หยุดปฏิบัติหน้าที่ สว.
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
'สนธิญา' ยื่นหลักฐานเพิ่ม ร้องศาลรธน. สั่ง 'อิ๊งค์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจกเงินหมื่นไม่ตรงปก
นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป
'เทพมนตรี' ชี้รัฐบาลไม่กล้านำ 'MOU44-JC44' ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย!
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา
'พุทธอิสระ' บอกหรือถึงยุคทมิฬของประชาชนเมื่อนักการเมืองขู่ค้าความ!
นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือเดิมเรียกพระพุทธะอิสระ