จุดเปลี่ยนคดีทักษิณ-พท.! จับตาสมัคร ตุลาการ ศาลรธน. ใหม่ 2 คน

จับตาเลือกปธ.ศาลรธน.-ตุลาการฯใหม่ 2 คน เริ่มสมัครพรุ่งนี้ จุดเปลี่ยนคดีทักษิณ-พท.ล้มล้างปกครองฯ พ่วงยุบพรรค ในกำมือสว.สีน้ำเงิน  คาดประมุขศาลฯคนใหม่ แทน’นครินทร์’มาจากสายศาลฎีกาฯ 

10 พ.ย.2567-ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของศาลรัฐธรรมนูญที่ตอนนี้กำลังจะมีการพิจารณาคำร้องคดีสำคัญเช่น คำร้องคดี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ร้องขอให้ศาลรธน.วินิจฉัยสั่งการให้ ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่หนึ่งและพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่สอง หยุดพฤติการณ์ที่เข้าข่ายล้มล้างปกครองฯ ที่ยื่นไปรวมหกประเด็น รวมถึงจะยื่นประเด็นใหม่เพิ่มเติมกรณีเรื่อง MOU44 ซึ่งเป็นการยื่นตามช่องทางรธน.มาตรา 49 โดยคาดว่า ศาลรธน.จะพิจารณาว่าจะลงมติรับหรือไม่คำร้องดังกล่าวในวันพุธที่ 13 พ.ย.นี้หรือวันพุธหน้า 20 พ.ย.  เพราะปรากฏว่าในวันที่ 16 พ.ย.นี้ ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะอยู่ครบวาระการเป็นตุลาการศาลรธน.  ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง ประธานศาลรธน.และตุลาการศาลรธน. เช่นเดียวกับ นายปัญญา อุดซาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งวันที่ 24 พ.ย. จึงทำให้ต้องมีการรับสมัครเลือกตุลาการศาลรธน.คนใหม่ รวมถึงต้องเลือกประธานศาลรธน.คนใหม่เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ ตุลาการศาลรธน.ที่แม้จะครบวาระการทำหน้าที่แล้ว แต่ยังต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีตุลาการศาลรธน.คนใหม่มาทำหน้าที่แทน ซึ่งแตกต่างจากคณะกรรมการป.ป.ช. ที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไปเลยหากครบวาระ ไม่สามารถอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อได้

โดยมีรายงานว่า นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรธน. ได้ออกประกาศรับสมัครตุลาการศาลรธน.สองตำแหน่งแล้ว โดยจะเริ่มรับสมัครกันวันแรกในวันพรุ่งนี้ จันทร์ที่ 11 พ.ย.ถึงจันทร์ที่ 25 พ.ย. เป็นเวาลาสองสัปดาห์ ที่อาคารัฐสภา

อย่างไรก็ตาม แม้คณะกรรมการสรรหาฯ คัดเลือกจนได้รายชื่อสองคนส่งไปที่วุฒิสภา แต่สุดท้าย ก็อยู่ที่ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่าจะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรายชื่อที่ส่งไปหรือไม่ ซึ่งอาจเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ได้  ที่ทั้งหมดอยู่ที่สว.เสียงข้างมาก ที่ก็คือ สว.สีน้ำเงิน ที่มีร่วม 167 คนจาก 200 คนว่าจะเอาด้วยกับรายชื่อที่ส่งมาหรือไม่ หรือจะตีตกไม่โหวตเห็นชอบทั้งสองชื่อก็สามารถทำได้

ซึ่งการสรรหาและลงมติคัดเลือกตุลาการศาลรธน.สองตำแหน่งครั้งนี้ เริ่มถูกจับตามองว่า จะมีผลต่อการพิจารณาคำร้องคดีที่พรรคเพื่อไทย และนายทักษิณ ถูกร้องว่า ล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ เพราะคดีนี้ หากสุดท้าย คำวินิจฉัยกลางของศาลรธน. มีคำวินิจฉัยที่เขียนออกมาตอนใดตอนหนึ่งว่า นายทักษิณ และพรรคเพื่อไทย มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองฯ รวมถึงนายทักษิณเข้าไปครอบงำพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลในการจัดตั้งรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร จะทำให้มีคนไปร้องกกต. เพื่อให้ส่งศาลรธน.ยุบพรรคเพื่อไทยและหกพรรคการเมืองที่ไปร่วมหารือกับทักษิณที่บ้านจันทร์ส่องหล้าตามมา ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องการถูกยุบพรรคตามมา 

ทำให้ ต้องดูผลการลงมติของตุลาการศาลรธน. ทั้งเก้าคนตั้งแต่ตอนลงมติว่าจะรับหรือไม่รับคำร้องว่า ผลจะออกมาอย่างไร และตุลาการศาลรธน.แต่ละคนลงมติอย่างไร โดยเฉพาะนายนครินทร์ ประธานศาลรธน. และนายปัญญา ที่ต้องดูว่าจะลงมติให้รับหรือไม่รับคำร้อง ที่หากนายนครินทร์ กับนายปัญญา ลงมติไม่ให้รับคำร้องทั้งสองคน ทำให้คาดว่า ฝ่ายนายทักษิณกับพรรคเพื่อไทย จะไม่มีการดึงเวลาการสู้คดี ล้มล้างการปกครองออกไปก็ได้  เพราะอาจมองว่า ทั้งสองคน ก็คงต้องลงมติตอนตัดสินคดีในทางที่เป็นคุณกับผู้ถูกร้องคืออาจวินิจฉัยว่า คำร้องไม่มีมูลฯ  แต่หากทั้งสองคน ลงมติให้รับคำร้องไว้พิจารณา ก็คาดว่าจะทำให้ฝ่ายผู้ถูกร้อง จะไม่ดึงเรื่องการสู้คดีแต่จะปล่อยไปตามสถานการณ์ แล้วไปลุ้นให้สว.สีน้ำเงินโหวตเห็นชอบตุลาการศาลรธน.ใหม่สองคน ที่จะเข้าไปพิจารณาคดียุบพรรคที่อาจถูกร้องตามมา

หากคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครองออกมาไม่เป็นคุณกับผู้ถูกร้อง ที่ทางทักษิณกับเพื่อไทยรวมถึงหกพรรคการเมือง  อาจหวังให้คดีอาจพลิกได้ เพราะเป็นตุลาการศาลรธน.ใหม่ ที่อาจมีแนวทางคำวินิจฉัยส่วนตนที่ไม่จำเป็นต้องยึดคำวินิจฉัยคดีล้มล้างการปกครองฯ ก็ได้ เพราะถือว่ามาทำหน้าที่ใหม่ 

ขณะเดียวกัน ต้องคอยติดตามว่า การเลือกประธานศาลรธน.คนใหม่ ที่จะมาแทน นายนครินทร์ สุดท้ายแล้ว ตุลาการศาลรธน.คนใดจะมาเป็นประธานศาลรธน.คนใหม่ ที่ตอนนี้มีการคาดการณ์กันว่า ประธานศาลรธน.คนใหม่ น่าจะเป็นตุลาการศาลรธน.ที่มาจากสายอดีตผู้พิพากษาซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา คัดเลือกและส่งชื่อไปเป็นตุลาการศาลรธน.

อนึ่งคณะกรรมการสรรหาฯ ตุลาการศาลรธน.ใหม่สองคน ประกอบด้วย นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรธน.,ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา-ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ-หัวหน้าพรรคประชาชน , ประธานศาลปกครองสูงสุด นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ , นางสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ตัวแทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง -นายอรรถยุทธ ศรีสมุทร ตัวแทนจากผู้ตรวจการแผ่นดิน ,นายชาญนะ เอี่ยมแสง ตัวแทนจากคณะกรรมการป.ป.ช. ,นายเจษฎา กตเวทิน ตัวแทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิด 11 ชื่อผู้สมัคร 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ปลัด ก.เกษตรฯ มาวันสุดท้าย

ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน ระหว่างวันที่ 11-25 พฤศจิกายน 2567

'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง

จับตาสมัครตุลาการศาลรธน. ชิง 2 เก้าอี้ พรุ่งนี้วันสุดท้าย 

คึกคัก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีผู้สมัครแล้ว 8 ราย เปิดรับพรุ่งนี้วันสุดท้าย จับตาสายตุลาการเริ่มมาแล้ว นักวิชาการ – ผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาเพียบ

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ