เลขาฯกฤษฎีกา ชี้ ยกเลิกเอ็มโอยูฝ่ายเดียวได้ แต่ไม่ควร หวั่นกระทบความสัมพันธ์ วอน อย่าใช้คำว่า “พื้นที่ทับซ้อน” หวั่นเสียประโยชน์ หากต้องขึ้นองค์กรระหว่างประเทศ ระบุ ให้ใช้คำว่า “พื้นที่อ้างสิทธิ” ตาม “รัฐบาลบิ๊กตู่”
12 พ.ย.2567 - เมื่อเวลา 13.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีเรียกร้องให้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 สามารถยกเลิกฝ่ายเดียวได้หรือไม่ ว่า ตามหลักการทำเอ็มโอยูมีจุดเริ่มต้นมาจากสองประเทศว่าจะคุยกันเรื่องอะไร ไม่ใช่อยู่ที่ว่าเราเป็นคนริเริ่มทำและทำฝ่ายเดียว แต่เป็นการร่วมกันทำ ถามว่าการยกเลิกเอ็มโอยูฝ่ายเดียวทำได้หรือไม่ ตอบว่าทำได้ แต่ควรหรือไม่คือ ไม่ควร เนื่องจากมีผลกระทบมาก ต้องให้เกียรติกัน เราเริ่มมาด้วยกัน เวลาจะยกเลิก หลักการคือจะต้องพูดคุยกัน
เมื่อถามถึงการอ้างพื้นที่ทับซ้อน นายปกรณ์ อธิบายว่า เรื่องดินแดนทับซ้อนกันไม่ได้ ดินแดนใครดินแดนมัน แต่ในระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ที่ยังคุยกันไม่ตกลงว่าเป็นดินแดนของใครจะใช้คำว่าทับซ้อนไม่ได้ มันผิด ต้องใช้คำว่าพื้นที่อ้างสิทธิ ต่างคนต่างอ้าง เพราะฉะนั้น เอ็มโอยูที่ทำขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน เราไม่ได้บอกว่าอันนี้ของเรา อันนี้ของเขา แต่เป็นเรื่องที่เราตกลงกันว่าอันนี้เราจะคุยกันถึงแนวทางการกำหนดแนวเขตที่ชัดเจน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยุติ เป็นเพียงกรอบการหารือ
เมื่อถามอีกว่า การใช้คำว่าพื้นที่ทับซ้อนในทางกฎหมายจะเสียเปรียบใช่หรือไม่ นายปกรณ์ กล่าวยอมรับว่า ในกฎหมายระหว่างประเทศอาจมีผล ตนแนะนำให้สื่อมวลชนใช้คำว่าพื้นที่อ้างสิทธิ เพราะต่างคนต่างอ้าง ตอนนี้ยังไม่ได้มีของใครเป็นของใครแน่ จะแบ่งกันอย่างไร และการใช้คำว่าทับซ้อนตนคิดว่าไม่เป็นผลดีต่อประเทศในระยะยาว เนื่องจากจะมีคนเอาไปอ้างหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นต้องไปขึ้นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อวินิจฉัย ก็จะหยิบยกไปอ้างได้ แต่หากเราคุยกันเป็นพื้นที่ต่างคนต่างอ้างสิทธิ มองว่าเป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่า และจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า ตนพูดในแง่ทางวิชาการ ไม่มีการเมือง ขณะที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ใช้คำว่าพื้นที่อ้างสิทธิมาตลอด ไม่เคยใช้คำว่าพื้นที่ทับซ้อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ปานเทพ’ ถามพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ MOU44 ขัดพระบรมราชโองการหรือไม่
แผนที่กรอบการเจรจาตกลงกันตาม MOU2544 จึงย่อมขัดต่อแผนที่พระบรมราชโองการด้านซ้าย เมื่อไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ย่อมต้องเป็นโมฆะหรือไม่
นักการเมืองไทยอย่าทะลึ่ง! ยก 4 เคส บัวแก้วเคยประท้วงกัมพูชา อ้างสิทธิ 'เกาะกูด'
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คนกัมพูชาจำนวนไม่น้อยเคยเชื่อหรือยังเชื่อว่าเกาะกูดเป็นของเขา ไม่ทั้งหมดก็อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง!
'อนุทิน' ชี้เป็นสิทธิ์ สส.-สว.ตาม รธน. หากต้องการถก MOU 44 ในสภา
“อนุทิน”ชี้เป็นสิทธิ์“สส.-สว.”ตาม รธน. หากต้องการถก MOU 44 ในสภา ยันรบ. พร้อมแจงตามข้อเท็จจริง ย้ำยังไม่มีข้อตกลงอะไรทำให้เสียดินแดน
พท.ซัดกันเอง MOUเข้าสภา
"ภูมิธรรม" เผยจ่อถกพรรคร่วมหาฉันทามติเปิดสภาฯ ถกปมขุมทรพย์ทางทะเล-MOU 44 ชี้ แนวคิด “นพดล” น่าสนใจ ยันกัมพูชายอมรับเกาะกูดเป็นของไทยตั้งแต่ต้น