กระแสข่าวลือเรื่อง “ดีลลับบรูไน” กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงการเมือง หลังจากนายทักษิณ ชินวัตร ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปบรูไน ระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซียน ตามคำเชิญของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน
แต่ท่ามกลางกระแสข่าวนี้ มีการอ้างว่าการเดินทางดังกล่าวอาจไม่ใช่แค่ภารกิจทางการทูตธรรมดา หากแต่แฝงไปด้วยการเจรจาทางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลกำลังจะเผชิญกับ ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือนมีนาคม
เป้าหมายหลักของศึกอภิปรายครั้งนี้ถูกระบุว่า พุ่งเป้าไปที่ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การนำของ "อนุทิน ชาญวีรกูล" หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และ กระทรวงพลังงาน ที่มี "พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค" หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ คุมอยู่
ข่าวลือนี้ ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการ เปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมือง ด้วยการดึง พรรคประชาชน (ค่ายส้ม) เข้าร่วมรัฐบาลแทนพรรคภูมิใจไทยและพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมกับการเสริมทัพด้วยพรรคประชาชาติ, ประชาธิปัตย์ และกล้าธรรม นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงความเป็นไปได้ที่ สส. บางส่วนจากพลังประชารัฐ อาจเข้าร่วมเป็นรายบุคคล ผ่านการเดินเกมของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า
ที่น่าสนใจคือ มีการระบุว่า "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" อาจเดินทางไปบรูไนเพื่อพบกับ "ทักษิณ" คล้ายกับกรณีที่เคยเดินทางไปฮ่องกงก่อนหน้านี้ แต่ดีลล่มไป ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เรียกว่า “รัฐบาลข้ามขั้ว”
หากพิจารณาจากโครงสร้างอำนาจทางการเมืองในปัจจุบัน ดีลนี้มี อุปสรรคสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะบทบาทของ "ภูมิใจไทย" ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ "สว.สีน้ำเงิน" ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจสำคัญที่มีบทบาทต่อกฎหมายหลักของรัฐบาล หากภูมิใจไทยถูกดีดออกไป อาจทำให้การทำงานของรัฐบาลมีปัญหาทันที
ในขณะเดียวกัน พรรครวมไทยสร้างชาติของ "พีระพันธุ์" ยังมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแบ็กอัพหลัก ซึ่งต้องไม่ลืมว่า พล.อ.ประยุทธ์ เองคือกลไกสำคัญที่ช่วยเปิดทางให้ "ทักษิณ" ได้กลับประเทศไทย และที่สำคัญ ปัจจุบันพล.อ.ประยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่ง "องคมนตรี" อีกด้วย
"ทักษิณ" จะเลือกสลัดทิ้งไปหรือรักษาสมดุลอำนาจนี้ไว้?
นอกจากนี้ หากพรรคประชาชน (ค่ายส้ม) จะเข้าร่วมรัฐบาลจริง คำถามที่ตามมาคือ พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะ "ทักษิณ" จะกล้าตัดสินใจร่วมรัฐบาลกับพรรคที่มีจุดยืนแข็งกร้าวในประเด็นมาตรา 112 หรือไม่ ขณะที่ตัวทักษิณเองก็ยังมีคดี 112 ค้างอยู่
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขต่างๆ แล้ว โอกาสที่รัฐบาลใหม่จะเกิดขึ้นตามแนวทางของข่าวลือในระยะเวลาอันใกล้นั้นเป็นไปได้ยาก เว้นเสียแต่ว่าเงื่อนไขทางอำนาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
การตัดสินใจของทักษิณในช่วงเวลานี้จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. การรักษาสถานะของลูกสาว แพทองธาร ชินวัตร ให้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
2. ความคืบหน้าเกี่ยวกับคดี มาตรา 112 ของทักษิณเอง
3. กรณีป่วยทิพย์ “ชั้น 14”
4. ความเป็นไปได้ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้เดินทางกลับประเทศไทย
ทุกปัจจัยล้วนเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ "ทักษิณ" ต้องคำนึงถึงก่อนตัดสินใจ หากปัจจัยเหล่านี้ยังไม่ถูกจัดการเรียบร้อย โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนขั้วในระยะสั้นก็ดูจะเป็นไปได้ยาก
แต่หาก 4 เงื่อนไขหลักเหล่านี้ถูก "ปลดล็อก" ไปในทิศทางที่ "เอื้อต่อนายทักษิณ" อาจได้เห็นการจัดโครงสร้างรัฐบาลใหม่ โดยที่ "พรรคประชาชน" ได้เข้ามามีบทบาทร่วมกับเพื่อไทยอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ “ดีลลับบรูไน” อาจไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันไปเสียทีเดียว แต่ก็ยังห่างไกลจากความเป็นจริงในเวลานี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
’ทักษิณ‘ นิมนต์ ‘หลวงปู่ศิลา สิริจันโท’ ฉันเพลบ้านจันทร์ส่องหล้า
‘ทักษิณ ชินวัตร’ นิมนต์หลวงปู่ศิลา สิริจันโท เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน จ.กาฬสินธุ์ ฉันเพลที่บ้านจันทร์ส่องหล้า พร้อมลูกสาวพินทองทา ชินวัตร เพื่อความเป็นสิริมงคล
🛑LIVE ก้าวลงเหว!? | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568
พรรคส้ม แซะรัฐบาล รีบคลอดร่าง พ.ร.บ.กาสิโนฯ หลังศึกซักฟอก
พรรคประชาชน แซะรัฐบาล รีบเกิน! คลอดร่าง พ.ร.บ.กาสิโนฯ หลังจบศึกซักฟอก คาดล็อคสเปคใบอนุญาต “สิทธิพล” เผยต้องคุยในพรรค แนะรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่น-โปร่งใส
'วิโรจน์' มั่นใจนายกฯออกตั๋ว PN เลี่ยงภาษี เป็นการทำนิติกรรมอำพราง
"วิโรจน์" มองศึกซักฟอกตรงตามแผนที่ฝ่ายค้านคาดหวัง น้อมรับคำวิจารณ์ไปปรับปรุง ไม่กังวลผลลงมติไว้วางใจ ชีวิตต้องทำงานต่อ ย้ำพรุ่งนี้เข้าพบอธิบดีสรรพากร มั่นใจปมตั๋ว PN นายกฯ คือการทำนิติกรรมอำพราง ชี้ เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ทำได้ หากเป็นประโยชน์กับ ปชช. แต่ต้องประมูลโปร่งใส-ป้องผลกระทบเชิงลบ
นักวิชาการ มธ. ชี้ 319 เสียงไม่การันตี ‘รัฐบาลแพทองธาร’ อยู่ครบเทอม
นักวิชาการ ธรรมศาสตร์ ระบุแม้ ‘อิ๊งค์’ ตอบโต้ได้และรอดกฎหมาย แต่ยังมีมิติศีลธรรมจรรยาที่ต้องพิสูจน์ ชี้คะแนน 319 สะท้อนเสถียรภาพรัฐบาล แต่หากทำไม่ได้ตามที่พูด อาจอยู่ไม่ครบเทอม ข้อมูลฝ่ายค้านไม่มีอะไรใหม่ ยกเว้นประเด็นไอโอ ที่ดึงความสนใจมากกว่าตัวเนื้อหาซักฟอก
'แพทองธาร' ลั่นเสียงรัฐบาลมีเหลือเฟือ ซื้อ 'งูเห่า' อีกทำไม ข้องใจแชทจริงหรือไม่
นายกฯอิ๊งค์ บอกเสียดายเงินซื้องูเห่า เสียงเหลือเฟือทำไมต้องจ่าย ย้อน "เท้ง" ใช้วาทกรรมไม่เลิก จวกหากยังเป็นนายกฯจะยิ่งทำให้คนไทยอายุสั้นลง