'สมศักดิ์เจียม' เปิดบทสนทนา 'ลี้ภัย-ฝรั่งล้มเจ้า' เห็นตรงกัน 99% ฝีมือเสื้อแดงฆ่า กปปส.

14 ก.พ.2565 - นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ปัจจุบันลี้ภัยที่ประเทศฝรั่งเศส โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้

"ต่อไปนี้เป็นบทสนทนาระหว่างผม, คุณแอนดรู และคุณ..... ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในปารีส ตอนนั้นประมาณปลายปี 2557 ผมเพิ่งมาถึงปารีสไม่นาน

คุณแอนดรูกล่าวว่า เขากำลังจะเขียนบทความเรื่องหนึ่งกล่าวถึงการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องกับ กปปส. เพื่อสร้างสถานการณ์รัฐประหาร เขาเชื่อว่า ส่วนใหญที่สุดของความรุนแรงนี้เกิดจาก agent provocateur (สายลับผู้ลอบก่อความรุนแรง เพื่อจุดชนวน)

ผมก็บอกว่า ไม่ใช่หรอก เกิดจากเสื้อแดงนี่แหละ

คุณแอนดรูไม่เชื่อ บอกว่าเกิดจากฝีมือเสื้อแดงอย่างมาก 5% เท่านั้น

ผมบอกว่า ไม่น่าจะใช่นะ ต้องอย่างต่ำๆ 50-60% มากกว่า

คุณ...ที่นั่งสนทนาอยู่ด้วยบอกว่า ไม่ใช่หรอก 99% มากกว่า แล้วคุณ....ก็เล่าว่า ตอนแรก....ก็ไม่อนุญาตให้ใช้ความรุนแรง แต่พอเหตุการณ์ตึงเครียดขึ้น ก็เอาด้วย

ผมได้แต่ส่ายหัวด้วยความเอือมระอา บอกว่าตอนอยู่เขมร พวกเราพูดเรื่องนี้กันเยอะ ไม่ไหวเลยจริงๆ

คุณแอนดรูยังไม่เชื่อนัก หลังจากนั้น เขาหาทางติดต่อกับแหล่งข่าวเขา ซึ่งเป็นอดีตเสื้อแดงหลบภัยอยู่ แล้ววันหนึ่งก็มาบอกผมว่า เรื่องที่ผมพูด เป็นเรื่องจริง เขาเตรียมตัวจะเขียนเรื่องนี้

ผมตกใจรีบห้ามปรามเขา บอกว่าเรื่องยังไม่พร้อม อย่าเพิ่งเปิดเผยเลย

คุณแอนดรูฟังแล้ว ก็เห็นด้วย"

โพสต์นี้ของนายสมศักดิ์ ได้ถูกมวลชนคนเสื้อแดงเขาไปแสดงความคิดเห็นต่อว่าเป็นจำนวนมาก ทำนองเช่นว่า อมนกหวีดตั้งแต่เมื่อไหร่ ,ใกล้เลือกตั้งแล้วโยนความชั่วให้คนเสื้อแดง-พรรคเพื่อไทย, ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศทำไมรู้ดีเหลือเกิน เป็นต้น

นายสมศักดิ์ โพสต์อีกว่า ถ้าสังคมไทยอยากจะก้าวข้ามอดีตไปข้างหน้าก็ต้องรู้จัก 'come to terms' (ตกลงใจยอมรับ)​ กับเรื่องความรุนแรงในอดีตให้ได้ นั่นคือยอมรับเรื่องความรุนแรงที่ก่อขึ้นทั้งโดยฝั่งตนเองและฝั่งตรงกันข้าม ทั้งจากภาครัฐ และจากประชาชนด้วยกันเอง

เราต้องรื้อฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับอดีตอย่างระมัดระวัง ไม่ใช่เพื่อเหตุผลทางการเมือง เช่น "เดี๋ยวจะเสียการเมือง ทำให้พวกเราดูแย่" หรือ "ฟื้นฝอยหาตะเข็บ" แต่เพื่อทำให้เกิด "การจดจำอย่างมีจริยธรรม" (ethical remembrance)

การเลือกจำเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งของความรุนแรง เช่น จดจำเฉพาะความรุนแรงที่เกิดขึ่นกับพวกเราเอง ไม่ใช่การจดจำแต่เป็นการหลงลืมอย่างหนึ่ง นั่นคือ ลืมความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับประชาชนด้วยกันที่มีความคิดทางการเมืองคนละแบบกับเรา หรือ ลืมความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับประชาชนคนบริสุทธิ์​

มีแต่การยอมรับความรุนแรงในลักษณะ​นี้เท่านั้นที่จะทำให้สังคมไทยเติบโตและก้าวข้ามอดีตไปได้ ตราบใดที่เรายังทำไม่ได้ มันก็แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยยังไม่เติบโตติดอยู่ในกับดักของอดีตไปเรื่อย ๆ และพร้อมที่จะเกิดความรุนแรงที่จะถูกลืมขึ้นอีกครั้งแล้วครั้งเล่า"

สำหรับการชุมนุมของ กปปส. หรือคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย ที่มีเจตนาลบล้างความผิด นายทักษิณ ชินวัตร โดยเริ่มต้นชุมนุมที่ สถานีรถไฟสามเสน ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. 2556 - 4 พ.ย.2556

ก่อนจะเคลื่อนย้ายไปปักหลักชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และยุติบทบาทลงเมื่อ 22 พ.ค. 2557 ในวันรัฐประหาร โดยระหว่างการชุมนุม กปปส. เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นหลายครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 29 คนและบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศชอ. คัมแบ็ค! ประกาศกลับมาแล้ว พร้อมลุยใช้กฎหมาย ม.112 ปกป้องสถาบัน

เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ ศชอ.โพสต์ข้อความว่า "กลับมาแล้ว" หลังจากเมื่อเดือนกันยายน 2566 ได้ประกาศยุติบทบาทการเคลื่อนไหวใช้กฎหมายในการปกป้อง ช

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ' 23 พ.ค. เจ้าตัวแย้มจ่อลุยการเมือง

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ เพ็ญแข' ครอบครองอาวุธสงคราม 23 พ.ค.นี้ เจ้าตัวเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม จ่อลุยการเมืองหลังพ้นคดี ชี้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ควรได้ความเป็นธรรมเหมือนทุกคน

'นิชา' ภรรยาพลเอกร่มเกล้า ทำบุญครบ 14 ปี โพสต์ยอมเป็น 'คนแพ้' เสียสละชีวิตเพื่อแผ่นดินไทย

นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ คนเสื้อแดง บริเวณแยกคอกวัว เมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย. 2553 โพสต์เฟซบุ๊กว่า ๑๐ เมษายน ๒๕๖๗ ปีนี้อากาศร้อนเหลือเกิน ต้องพยายามเรียกสติไม่ให้หลงไปกับความร้อน