ภาพฝันกรุงเทพฯ เมืองปลอดอุปสรรคผู้พิการ

การพัฒนาเมืองที่เต็มไปด้วยถนน  ตึกสูง และระบบขนส่งสาธารณะที่ทันสมัย  แต่ในสายตาคนพิการและคนสูงวัย หรือแม้แต่นักปั่นจักรยาน พวกเขาต้องเผชิญความยากลำบากจากโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ครอบคลุมการเดินทางของคนทุกกลุ่ม เกิดปัญหาความปลอดภัย อุบัติเหตุ มลพิษ และสร้างภาระค่าใช้จ่าย  การใช้ชีวิตยากขึ้นหรือเอาตัวรอดในแต่ละวัน สะท้อนคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี เพราะเข้าถึงโอกาสได้อย่างจำกัด สุ่มเสี่ยงจะเป็นภาระของสังคม

ปัจจุบันมีความพยายามปรับปรุงพื้นที่เมืองด้วยแนวคิดออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตและเข้ากับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ มีเสียงจากวงเสวนาเรื่อง“ เมืองในอนาคตควรเป็นแบบไหน เมืองอัจฉริยะ เมืองน่าอยู่  หรือเมืองที่ไม่ทิ้งใคร”  ในเวทีประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประขากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ร่วมกับภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้  (T4A) ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เมื่อวันก่อน เพื่อสร้างความตระหนักและผลักดันให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมสำหรับทุกคน ไม่มีใครตกหล่นในสังคม  พร้อมทั้งโชว์เมืองดีเด่นของประเทศญี่ปุ่นที่จัดเต็มเพื่อคนพิการ

มาซามิ ทสึจิ ผู้จัดการด้านการวางแผนและประสานนโยบายเทศบาลเมืองอาคาชิ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า เดิมญี่ปุ่นมีเทศบัญญัติออกแบบอาคารเพื่อผู้สูงอายุ  ก่อนจะพิจารณาออกเทศบัญญัติออกแบบจราจรที่ลดอุปสรรคในการใช้ถนน ทางเท้า และสถานีรถไฟฟ้า ก่อนจะพัฒนารวมกฎหมาย 2 ฉบับ เพื่อบูรณาการการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล โดยมีการเชื่อมการเดินทางบนทางเท้าและระบบขนส่งทางราง ต่อมาได้ออกกฎหมายขจัดอุปสรรคสำหรับคนพิการ ประกอบกับโตเกียวได้รับคัดเลือกให้จัดพาราลิมปิกและโอลิมปิก เป็นโอกาสส่งเสริมประเทศที่ปลอดอุปสรรคสำหรับคนพิการ

สำหรับเมืองอาคาชิ มาซามิ กล่าวว่า มีการออกกฎหมายท้องถิ่นเพื่อออกแบบพัฒนาเมืองปลอดอุปสรรคคนพิการ เกิดเทศบัญญัติว่าด้วยภาษามือ สร้างสภาพแวดล้อมที่สื่อสารได้ง่าย และให้เกียรติกันและกัน จัดอบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการให้แก่เจ้าหน้าที่เทศบาล  พร้อมมาตรการอำนวยความสะดวก และมาตรการทางการเงินอุดหนุนการปรับปรุงอาคาร ร้านค้า และกลุ่มผู้ประกอบการที่อยากปรับปรุงสถานที่เพื่อคนพิการ เงินช่วยเหลือจัดซื้ออุปกรณ์อำนวยความสะดวก นอกจากนี้ ได้ส่งเสริมจัดทำเมนูอาหารอักษรเบลล์เพื่อผู้พิการทางสายตา กระดานเขียนเพื่อสั่งอาหารสำหรับคนพิการทางการได้ยิน รวมถึงสร้างทางลาดสำหรับผู้ใช้งานรถเข็น

 “ หลังจากประกาศใช้กฎหมายนี้มีร้านค้ามากกว่า 528  แห่ง ทำโครงการเพื่อของบประมาณจากเทศบาลเมืองอาคาชิ  เกิดการตระหนัก ดูแล และปรับเปลี่ยนร้านเพื่อคนพิการมากขึ้นในเมือง  การผ่านกฎหมายท้องถิ่น ส่งผลให้สุขภาวะของคนพิการหลากหลายวัยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ส่วนการขับเคลื่อน Universal Design ผ่านแผนปฏิบัติการออกแบบเมือง บรรจุในแผนแม่บท เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ละเลยประเด็นนี้ ทำให้คนพิการเดินทางได้อย่างอิสระและปลอดภัย ปัจจุบันยังจัดตั้งสภาออกแบบเมืองเพื่อรวบรวมความคิดเห็นพัฒนาเมืองด้วย  “   มาซามิ กล่าว

ในเมืองอาคาชิ ทางเทศบาลยังขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมท่องเที่ยว และกรมการค้า เพื่อปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ทั้งยังประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแลขนส่งสาธารณะ ทั้งรถเมล์ แท็กซี่ และบริษัทที่รับผิดชอบระบบสัญญาณจราจร เพื่อคนพิการไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก

ส่วนแผนแม่บทเมือง เธอระบุประเด็นสำคัญสร้างความร่วมมือกับประชาชน รวมถึงคนพิการในพื้นที่ จนท.กับประชาชนเดินสำรวจร่วมกัน จัดตั้งระบบบริการให้คำปรึกษาในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสถานที่ รวมถึงการจัดกิจกรรมที่คนพิการเข้าถึงได้

“ เราไม่ใช่แค่ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหรือกายภาพ เพราะจะไม่สามารถขจัดอุปสรรคสำหรับคนพิการได้ทั้งหมด ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกคน เป็นการเปลี่ยนทัศนคติ มีผลต่อจิตใจ  เพื่อขยายแนวคิดออกแบบเมืองเพื่อทุกคน อีกทั้งเราไม่ได้ผลักดันในทุกสถานที่พร้อมๆ กัน แต่จัดลำดับความสำคัญ เน้นพื้นที่สาธารณะที่มีคนใช้งานจำนวนมาก เช่น สถานีรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ตู้บริการขายตั๋วอยู่ในระยะที่ผู้ใช้รถเข็นเอื้อมถึง  สวนสาธารณะ และศูนย์การค้า  ระบุเส้นทางเชื่อมต่อ ก่อนจะปรับปรุง ส่วนอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ต้องออกแบบตามที่กฎหมายกำหนด “ มาซามิ   ย้ำเมืองต้องส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ

เมืองกรุงเทพฯ ขยับอย่างไร  ดำรงฤทธิ์ พรหมณีวัฒน์ ผู้อำนวยการทางส่วนวิศวกรรมทาง 2 สำนักการโยธากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.ได้ปรับปรุงทางเท้าให้โล่ง สะอาด เป็นระเบียบ สร้างทางเท้าที่มีคุณภาพ คงทน พัฒนาทางเลียบคลองให้เดินไป ปั่นปลอดภัย ปัจจุบันปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าพระรามที่ 1 เพื่อเป็นฟุตบาทต้นแบบ และเตรียมจะปรับย่านสุขุมวิท และอนุสาวรีย์ชัยต่อไป ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้าย่านบางกะปิ  คลองแสนแสบ เป็นจุดเชื่อมต่อท่าเรือใกล้เคียง  อย่างบางกะปิและวัดศรีบุญเรือง  พัฒนาพื้นที่เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองกับสายสีส้ม สู่ท่าเรือคลองแสนแสบ ซึ่งวีลแชร์ใช้ได้ ส่วนอุโมงค์ทางลอดถนนมหาราชและถนนหน้าพระลานซึ่งเปิดใช้งานบางส่วน มีลิฟต์สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ 

“ ความคืบหน้าการปรับปรุงสถานที่ราชการให้สอดคล้องตามหลักอารยสถาปัตย์ ขณะนี้ปรับปรุงแล้ว 30 เขต อีก 20 เขต ไม่ได้ปรับปรุง เพราะเป็นพื้นท่าหรือกายภาพไม่อำนวย  นอกจากนี้ ปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุขในสังกัดอีก 28 แห่ง เหลืออีก 40 แห่ง ส่วนสูนย์เยาวชน สำนักงานต่างๆ โรงพยาบาลในสังกัดอยู่ระหว่างการสำรวจ และวางแนวทางออกแบบเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการได้“  ดำรงฤทธิ์ บอก

แม้ว่าจะเห็นทางเท้าใน กทม. หลายพื้นที่มีความชำรุดและยากลำบากในการเดินเท้า  แต่ ผอ.ให้ข้อมูลกทม. จัดทำแบบมาตรฐานทางเท้าใหม่ หนุนแผนพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี หลักๆ ลดระดับคันหินราวตื้นให้สูง 10 เมตร ปรับระดับทางเข้าออกอาคารให้สามารถเดินสัญจรได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด และเพิ่มความแข็งแรงทางเท้ามากขึ้น รวมถึงปรับ Slope ทางเชื่อม ทางลาดให้เป็น 1:12 ตามมาตรฐานสากล  มีการอำนวยความสะดวกให้คนตาบอดเดินทาง ผ่านแผ่นเตือนและแผ่นนำทาง ปรับปรุงฝาท่อระบายน้ำ ปูเสมอผิวทางเท้า เพื่อให้เดินสะดวกและง่ายขึ้น  

“ เมืองกรุงเทพฯ ในอนาคต การใช้งานของผู้สูงอายุ คนพิการ จะสะดวกมากขึ้น  ซึ่งต้องพัฒนานวัตกรรมออกแบบและปรับปรุงก่อสร้างต่างๆ ให้เหมาะกับทุกคนในสังคม “ ดำรงฤทธิ์ ให้ภาพ กทม. เมืองไม่ทิ้งใคร

สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายจากการประชุมครั้งนี้ มีการเรียกร้องให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่และไม่ทิ้งใคร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เมือง พื้นที่สาธารณะและการเดินทาง โดยเฉพาะถนน ทางเท้า ทางข้ามถนน ตามแนวคิดถนนที่สมบูรณ์ของทุกตน โดยใช้แนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล และแนวคิดเมืองอัจฉริยะ ,จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเมืองที่ไม่ทิ้งใคร หรือเพิ่มเข้าไปในโครงสร้างเดิม เช่น คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของคนทั้งมวลในการพัฒนาเมือง,พิจารณาออกเทศบัญญัติหรือกฎหมายท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเมืองน่าอยู่ และพิจารณาจัดทำโครงการนำร่อง 1 จังหวัด 1 ทางเท้ากว้าง 1 ทางข้ามปลอดภัย เพื่อเป็นก้าวแรกสู่ถนนที่สมบูรณ์ของทุกคน และพัฒนาเมืองวิถีใหม่ ที่เน้นการเดิน ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะซึ่งปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายน้อย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น