จัดกิจกรรม Change for Chickens หนุนยกระดับสวัสดิภาพไก่ของไทย

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จัดกิจกรรมส่งมอบรายชื่อผู้สนับสนุนโครงการ Change for Chickensจำนวนกว่า 20,000 รายชื่อ ที่ต้องการให้ เคเอฟซี ประเทศไทย เร่งประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับสวัสดิภาพไก่ด้วยการลงนามใน The Better Chicken Commitment ณ บริเวณหน้าศูนย์การค้าอัมรินทร์ พลาซ่า เมื่อวันก่อน

นางสาวโรจนา สังข์ทอง ผู้อำนวยการองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวว่า “ ไก่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ถูกบริโภคมากที่สุด คนไทยบริโภคไก่เฉลี่ยคนละประมาณ 15 กิโลกรัมต่อปี หรือคิดเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณเนื้อสัตว์ทั้งหมดที่บริโภคเฉลี่ยคนละ 30 กิโลกรัมต่อปี  ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา การบริโภคไก่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะหาง่าย อร่อย และมีราคาถูก แต่สิ่งนี้สวนทางกับสภาพความเป็นอยู่ของไก่ที่นับวันมีแต่จะแย่ลง ไก่ที่เราบริโภคกันทุกวันนี้ส่วนใหญ่ มาจากอุตสาหกรรมฟาร์มไก่ขนาดใหญ่ไม่ใช่การเลี้ยงไก่ในเล้าหลังบ้าน เหมือนเมื่อ 40 กว่าปีก่อนอีกต่อไปแล้ว อุตสาหกรรมฟาร์มไก่ส่วนใหญ่สามารถจุไก่ได้มากนับหมื่นๆตัว ไก่มีชีวิตอันแสนสั้น น่าเบื่อและขาดอิสระ ไก่ส่วนใหญ่จะมีอายุเพียงไม่เกิน 5-6 สัปดาห์เท่านั้น และส่วนมากต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัดและไม่เอื้อต่อการแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติ โดยในประเทศไทยนั้น เคเอฟซี เป็นหนึ่งในบริษัทฟาสต์ฟู้ดที่ใช้ไก่เป็นเมนูหลัก แต่ปัจจุบันยังไม่ได้แสดงถึงความใส่ใจในเรื่องสวัสดิภาพไก่เท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้เราจึงมอบรายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 20,000 คน ที่ต้องการให้ เคเอฟซี ประเทศไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่ามีมาตรการใดในการปกป้องสวัสดิภาพของไก่รวมถึงประกาศคำมั่นสัญญาสาธารณะว่า จะยกระดับสวัสดิภาพไก่โดยเลือกซื้อเนื้อไก่จากฟาร์มที่ใส่ใจในสวัสดิภาพสัตว์”

นางสาวเหมือนดาว คงวรรณรัตน์ ผู้จัดการโครงการสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก กล่าวเสริมว่า “น่าเสียดายที่วันนี้ เคเอฟซี ไม่ได้เข้ารับมอบรายชื่อผู้สนับสนุน 20,000 คน แต่อย่างไรก็ตาม เราก็หวังว่าทาง เคเอฟซี ประเทศไทย จะออกมาเปิดเผยข้อมูลว่ามีมาตรการใดในการปกป้องสวัสดิภาพของไก่รวมถึงประกาศคำมั่นสัญญาสาธารณะว่าจะยกระดับสวัสดิภาพไก่โดยเลือกซื้อเนื้อไก่จากฟาร์มที่ใส่ใจในสวัสดิภาพสัตว์ อย่างไรก็ตาม เคเอฟซี ประเทศไทยควรจะแสดงจุดยืนที่จริงจังและจริงใจในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยกระดับคุณภาพชีวิตไก่ในฟาร์ม โดยมาร่วมมือกันกับองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกในการสร้างแนวทางที่เป็นมาตรฐาน เพื่อพัฒนาสวัสดิภาพของไก่ให้มากขึ้น“

มารีญา พูลเลิศลาภ ทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ในโครงการ Food System เปิดเผยว่า “มารีญารู้สึกดีใจมากค่ะ ที่มีคนเริ่มหันมาสนใจในเรื่องสวัสดิภาพของสัตว์ฟาร์มกันมากขึ้น จะเห็นได้จากจำนวนของผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนโครงการนี้ที่มีมากกว่า 20,000 รายชื่อ ในฐานะที่มารีญาได้เป็นทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก มารีญาจะทำหน้าที่ร่วมเป็นกระบอกเสียง รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของสวัสดิภาพสัตว์เพิ่มขึ้นค่ะ โดยเฉพาะสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มในประเทศไทย ภายใต้โครงการ Food System ค่ะ และตอนนี้ค่ะองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกก็ได้โพสต์คลิปวีดีโอทางเฟสบุ๊ค ซึ่งคลิปนี้จะทำให้เราได้เห็นว่า ในแต่ละปี มีสัตว์ฟาร์มจำนวนมากขนาดไหนที่ต้องทุกข์ทรมาน เนื่องจากการเลี้ยงดูที่ไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งทางเลือกหนึ่งที่เราจะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ คือ การบริโภคแบบ Less and Better Meat ค่ะ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

12 สิงหา วันช้างโลก รณรงค์หยุดดูโชว์ช้าง

ในโอกาสวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นวันช้างโลก องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection  องค์กรที่ยืนหยัดเคียงข้าง ปกป้องชีวิตและสวัสดิภาพของสัตว์อย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการส่งเสริมสวัสดิภาพช้างอย่างเป็นรูปธรรม ได้จัดทำมิวสิควิดีโอเพลง “ไปให้สุดหยุดดูโชว์ช้าง”

องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องเพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ และห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ ในแผนต้านจุลชีพแห่งชาติ

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคเข้าสู่แผนปฏิบัติการด้านการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ฉบับที่ 2

ส่องนโยบายพรรคการเมือง แก้ปัญหาช้าง

การเลือกตั้ง’66 เป็นเรื่องสำคัญของคนไทย เวทีดีเบตนโยบายสัตว์ๆ กับ 6 พรรคการเมืองไทย จัดโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก มีการประชันวิสัยทัศน์ นโยบายจากตัวแทนพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคก้าวไกล พรรคพลังประชารัฐ

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเผยรายชื่อบริษัทท่องเที่ยวทั่วโลก ที่ยังแสวงประโยชน์จากสัตว์ป่า

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก World Animal Protection เผยรายงานล่าสุด พบแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มท่องเที่ยวระดับโลกอย่าง GetYourGuide Klook, Traveloka, Trip.com และ TUI Musement ยังคงเปิดขายกิจกรรมท่องเที่ยวที่แสวงประโยชน์จากสัตว์ป่าอยู่

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกย้ำ เร่งยุติมฤตยูเชื้อดื้อยา จากฟาร์มอุตสาหรรม “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักใช้ยาต้านจุลชีพ” ปี พ.ศ. 2565

จากการทำงานขององค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย พบว่ากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ตรวจพบเชื้อดื้อยาจำนวน 19 ชนิด ในเนื้อสัตว์และแหล่งน้ำรอบฟาร์มอุตสาหกรรมใน 9 ประเทศ 4 ทวีป รวมทั้งประเทศไทย วิกฤติเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ หรือซุปเปอร์บั๊กส์ (Superbugs)