อาจารย์หมอจุฬาฯ แนะแนวทางเสริมพลังป้องกันโรค!

หมอธีระวัฒน์แนะแนวทางเสริมพลังป้องกันโรคแถมสู้โควิด ทั้งเรื่องอาหารการกินมือเช้า การใช้ประโยชน์จากแสงแดด และการออกกำลังกาย

25 พ.ค.2566 - ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “เสริมพลังป้องกันโรคแถม สู้โควิดได้” ระบุว่า ในปี 2023 นี้หลังจากที่ผ่านมาสามปีอยู่ท่ามกลางโควิด เราได้รับบทเรียนมากมาย ทั้งนี้ ทั้งหลายทั้งปวงประดามีพิสูจน์แล้วว่าอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะช่วยปกป้องชีวิตของเราได้

หลักฐานที่เราเห็นทั้งในประเทศไทยเองและจากประเทศต่างๆ พิสูจน์ให้เห็นว่าต้นทุนสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือเรื่องของโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องตรวจตราสม่ำเสมอว่ามีอะไรโผล่ขึ้นมาจะได้ป้องกันได้ทันท่วงที และถ้าเกิดไปแล้วต้องควบคุมให้ดีที่สุดให้กลับกลายเป็นคนปกติ และในขณะเดียวกันเราสามารถเสริมเพิ่มพลังของเราเองได้ โดยที่จะสามารถสู้กับโควิดไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์หลักสายพันธุ์ย่อยสายพันธุ์ควบรวม

พลังที่เราสามารถแสวงหาได้นั้นพิสูจน์แล้วในทางกลไกวิทยาศาสตร์ว่าเพิ่มปราการด่านหน้าในการต่อสู้กับอันตรายที่เข้าร่างกายเชื้อโรคต่างๆ ไม่จำกัดว่าจะเป็นโควิดหรือเป็นไวรัสชนิดอื่นหรือแม้แต่แบคทีเรียก็ตามด้วย อาหาร แดด ออกกำลัง ไม่เสียสตางค์ ด้วย

ในเรื่องของโควิดนั้นเรามีทุนที่สะสมอยู่แล้วจาก ประการแรกคือเราได้วัคซีนคนละสามเข็มแล้วแถมติดตามธรรมชาติไปด้วย และ 608 เปราะบาง อาจจำเป็น เข็มกระตุ้น

ประการที่สอง เรากินยารักษา ได้ทันทีที่มีอาการแม้ 2 ขีดยังไม่ขึ้น เช่นด้วยฟ้าทะลายโจร ซึ่งเป็นสมุนไพรไทย และประกาศให้ใช้ได้จากกระทรวงสาธารณสุขในการรักษาโควิด และแม้แต่บริษัทยา อาหาร ของสหรัฐก็มีออกมาจำหน่าย โดยอ้างอิงถึงสรรพคุณที่มีการใช้มาเป็นร้อยเป็นพันปี และเป็น แอนโดรกราโฟไลท์ ขนาด 60-80 มิลลิกรัมต่อเม็ด ด้วยซ้ำ

เหล่านี้เป็นที่น่ากังวลว่าขณะที่คนไทยและแพทย์แผนปัจจุบันอาจละเลยที่จะเห็นความสำคัญของสมุนไพร ต่างๆและในที่สุดแล้วเราอาจจะเสียสิทธิบัตรไปและกลับกลายเป็นต้องซื้อยาจากต่างประเทศที่มีตัวยาสำคัญจากสมุนไพรของเรา

ประการที่สาม เรื่องของอาหารการกิน ชนิดประเภทของอาหารและจะกินเมื่อใดตอนไหน จะได้ประโยชน์สูงสุด (ไทยรัฐสุขภาพหรรษา หมอดื้อ กินเร็วตั้งแต่เช้า ตายช้า 27 พ.ย.2565) นั่นก็คือลักษณะการ ฉัน ของพระภิกษุ ช่วงไม่เกินเที่ยง เปรียบ เสมือน IF (intermittent fasting) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน แบบ early eater ทานช่วงเช้า ระยะเวลา 6 ชั่วโมง (ดีกว่า ทานบ่าย เย็น กลางคืน แล้วไปอดเช้า )

ดังที่มีการพิสูจน์ ขั้นลึกจนถึงระบบ biometric ต่างๆ และแน่นอนเข้าใกล้มังสวิรัติ อด ลด แป้ง กินปลา สัตว์น้ำได้ งดเนื้อสัตว์บกทั้งสิ้น หรือน้อยสุด ผักผลไม้กากไยวันละครึ่งกิโล ถั่ว ได้ไม่อั้นโดยเฉพาะถั่วที่มีเปลือกแข็ง แอลมอนด์เป็นต้น กาแฟดำหรือใส่น้ำตาลน้อยวันละสองถึงสามแก้ว ทั้งนี้ดูด้วยว่าควรจะทานเท่าไรในแต่ละคนซึ่งถ้ามีใจสั่น ก็หยุดอยู่เท่านั้น

ประการที่สี่ แดด เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่พิสูจน์มาตลอด (สุขภาพหรรษา 21 ส.ค.2565) จนกระทั่งถึงปลายปี 2022 มีรายงานทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ชีให้เห็นถึงสิ่งที่เพิ่มพลังของมนุษย์เราจากแสงแดด ทั้งนี้โดยที่แสงนั้นมีโซล่าสเปกตรัม (solar spectrum) เป็นส่วนที่มองเห็น (visible light) 39% อยู่ในคลื่นระหว่าง 400 nm จนถึง 760 nm และส่วนที่มองไม่เห็น 7% เป็นอัลตราไวโอเลต ยูวีเอ ยูวีบี และยูวีซี (UVA UVB UVC) อยู่ระหว่าง 290 ถึง 400 nm และอีก 54% เป็นอินฟราเรด ไออาร์เอ ไออาร์บี และ ไออาร์ซี (IRA IRB IRC) โดยอินฟราเรดนี้สามารถทะลุผ่านผิวหนังในชั้นต่างๆลึกลงไปถึงชั้นไขมันและในเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปอีก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคลื่นความถี่ และทำให้รับรู้สึกเป็นความร้อน แม้จะไม่เห็นแสงจ้าก็ตามโดยอินฟราเรดนั้นสามารถผ่านชั้นเมฆต่างๆได้ อินฟราเรดที่สำคัญคือส่วนที่เป็น NIR (near infrared) 760-1400nm

รายงานที่เกี่ยวข้องกับโควิดโดยการใช้แสงเป็นการรักษา (photo biomodulation therapy) ใน วารสาร Photonics (MDPI) 23 กันยายน 2022 และ วารสาร photo chemistry and photo biology 5 ธันวาคม 2022
ในรายงานแรก ได้รวบรวมรายงานต่างๆ ในการใช้รักษาการอักเสบในปอด ความผิดปกติของการรับรสและกลิ่น ในคนป่วย ความผิดปกติที่โครงสร้างใบหน้าปากและริมฝีปาก และการศึกษาในสัตว์ทดลอง

ในรายงานที่สองนั้น เป็นการใช้แสง อินฟราเรดแอลอีดี (infrared LED) ในผู้ป่วยโควิดที่มีปอดบวม ได้รับ ออกซิเจนแต่ไม่ใส่ท่ออายุระหว่าง 50 ถึง 80 ปีและดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30 ไม่มีมะเร็งไม่แพ้แสง และเป็นการศึกษา แบบ สุ่ม (prospective descriptive, single blinded, randomized, and longitudinal trial) โดยผู้ป่วยเหล่านี้ ทุกคนจะได้รับการรักษาแบบมาตรฐานเหมือนกัน ใส่เสื้อกั๊ก ขนาด 300 infrared LED (GaAIAs,940nm) 0.02W total optical power 6W และมี ค่าเฉลี่ยของ power density =0.0029 W/ตารางเซนติเมตร โดยขนาดของเสื้อกั๊กนั้นเป็น 36 ซม X58 ซม ครอบคลุมพื้นผิว 2088 ตารางเซนติเมตร
ทั้งนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ใส่เสื้อกั๊กที่เปิด และที่ปิดแสง เป็นเวลา7 วัน

ถึงแม้ว่าจะมีกลุ่มผู้ป่วย 30 รายก็ตามแต่กลุ่มที่ได้รับการรักษา มีความรุนแรงของอาการทางปลอดมากกว่า ด้วยซ้ำ(pneumonia severity index 97.1 vs 85.3 ) ผลของการรักษาพบว่า ความสมบูรณ์ของการทำงานของปอดและหัวใจดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ทั้ง ความต้องการออกซิเจนความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปริมาณอากาศที่หายใจ แรงดันของการหายใจเข้าและออก (oxygen flow intake, partial oxygen saturation, tidal volume, Maximum inspiratory and expiratory pressure, respiratory frequency) และหัวใจทำงานหนักน้อยลงทั้งชีพจรและความดันโลหิตที่ดีขึ้น จำนวนของเม็ดเลือดขาว ดีขึ้น อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ จำนวน นิวโตรฟิลที่ลดลงและลิมโฟไซท์ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลสั้นลงถึง 4 วัน และอาการกลับเป็นปกติเร็วขึ้น

การรักษาโดยการใช้แสงจากเสื้อกั๊กนี้แท้จริงมีแนวคิดหรือรากฐานมาจากการที่ทราบว่าแสงแดดให้ประโยชน์อย่างมากมายนอกจากที่จะช่วยสร้างวิตามินดีและเห็นได้ชัดเจนจากคนในทวีป แอฟริกา ที่แม้ยากจน ขาดแคลนอาหารและยาและได้รับวัคซีนโควิดน้อยมาก โดยในบางพื้นที่ไม่ได้เลยแต่ทั้งทวีปกลับไม่มีปัญหาจากโควิดตั้งแต่เริ่มระบาดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ทั้งนี้ การลงทุนในการเพิ่มพลังสุขภาพทำได้ตั้งแต่ตากแดดเองและเมื่อเกิดเจ็บป่วย การนำแนวคิดการรักษา ดังข้างต้นขยายผลศึกษาในกลุ่มขนาดใหญ่ขึ้นน่าจะเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ทั้งนี้เป็นการรักษาที่ถูกมาก และเสริมกับการรักษาปัจจุบันที่มีอยู่ให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ประการที่ห้าได้แก่การออกกำลัง ทั้งนี้ทำได้ง่ายทุกอายุตากแดดด้วยโดยการเดินให้ได้วันละ 10,000ก้าว หรือถ้าไม่มีเวลาจะออกกำลังแบบเข้มข้นในวันสุดสัปดาห์ ที่เรียกกันเล่นๆว่า นักรบสุดสัปดาห์ (weekend warrior) ก็ได้ผลทางสุขภาพเช่นกัน (สุขภาพหรรษา 28 สค 2565 และ 29 พ.ค.2565)

ในข้อสาม สี่และห้านั้น เป็นสิ่งที่หาได้เอง ไม่ได้เสียสตางค์เสียเงินทอง และนอกจากที่จะสู้กับโควิดได้เก่งขึ้นนั้นกลับทำให้สุขภาพแข็งแรงจากโรคไม่ติดต่อและรวมถึงโรคของเส้นเลือดหัวใจและสมองและมะเร็ง แต่ที่สำคัญก็คือต้องลงทุนด้วยตัวเองคงไม่มีทางลัดอื่นนะครับ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัวสังคมและระบบสาธารณสุขของประเทศไทยจะได้ยังยืนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย