‘หมอธีระ’ ยกงานวิจัยสหรัฐฯ ผลการติดเชื้อโควิด-19 ต่อ ‘ไต-หัวใจ-สมอง’

12 มิ.ย.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “ผลของการติดเชื้อโควิด-19 ต่อ ไต หัวใจ และสมอง” ระบุว่า ความรู้จากการวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นไม่ใช่แต่ติดเชื้อจบที่ทางเดินหายใจ แต่ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วย ทั้งไต หัวใจ สมอง ทีมงานจากประเทศสหรัฐอเมริกาทำการศึกษาตั้งแต่มีนาคม 2020 ถึงมกราคม 2022 พบว่าผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโควิด-19 จนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลมีอัตราการตรวจพบค่าการทำงานของไตผิดปกติเฉียบพลันได้ราวหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด (ภาพที่ 1-2)

ในขณะที่ทีมวิจัยจากสหรัฐอเมริกาอีกทีม ได้เผยแพร่ผลการศึกษาใน European Heart Journal เมื่อปลายพ.ค.ที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่า หลังจากติดเชื้อไป ไม่ว่าจะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรง ก็อาจส่งผลให้เกิดการไหลเวียนเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติได้ (ภาพที่ 3-4)

นอกจากนี้ทีมจากออสเตรเลีย เผยผลการศึกษาใน Science Advances วันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าไวรัสโควิด-19 นั้นสามารถติดเชื้อในเซลล์สมองและนำไปสู่การทำงานผิดปกติได้ (ภาพที่ 5-6)

…สถานการณ์ไทยเรา ยังมีติดเชื้อแต่ละวันจำนวนมาก ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวเสมอ ไม่กินดื่มใกล้ชิดร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง คือหัวใจสำคัญ

อ้างอิง

1. Geographic and Temporal Trends in COVID-Associated Acute Kidney Injury in the National COVID Cohort Collaborative. CJASN. 3 May 2023.

2. Coronary microvascular health in symptomatic patients with prior COVID-19 infection: an updated analysis. European Heart Journal. 31 May 2023.

3. SARS-CoV-2 infection and viral fusogens cause neuronal and glial fusion that compromises neuronal activity. Science Advances. 7 June 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สถานการณ์โควิด แนวโน้มสูงกว่าที่คาด

ปลายปีถือเป็นช่วงเทศกาล มีกิจกรรมสังสรรค์กันมาก หากไม่ป้องกันตัว จะติดเชื้อแพร่เชื้อจนป่วยกันได้มาก เสี่ยงปอดอักเสบ ตาย และ Long COVID อีกด้วย