'หมอธีระวัฒน์' ให้ข้อคิดก่อนตัดสินใจรักษาวิธีใดวิธีหนึ่ง ต้องคิดให้ดีว่าคุ้มเสียหรือไม่

29 ธ.ค.2566 - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

ในเมื่อของฟรีไม่มีในโลก การรักษาโรคภัยก็เช่นกัน

หากเราหวังจะหายจากโรคที่เป็น เราย่อมต้องแลก ไม่ว่าจะแลกด้วยร่างกายที่ทรุดโทรมลงจากการให้ยา เช่น การให้ยาเคมีบำบัด เป็นต้น หรือแลกกับภาวะจิตใจที่ห่อเหี่ยวจากการเข้า ๆ ออก ๆ โรงพยาบาล

ครอบครัวที่ต้องเสียการงาน เสียค่าเดินมาทางมาเฝ้าที่โรงพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มีแต่มากขึ้นในขณะที่รายได้เริ่มถดถอยลงไป

สิ่งเหล่านี้คือ “ต้นทุน” ที่ต้องจ่าย เพราะฉะนั้นก่อนตัดสินใจรักษาวิธีใดวิธีหนึ่ง เราต้องคิดให้ดีว่าการลงทุนครั้งนี้จะคุ้มเสียหรือไม่

และจุดนี้แหละที่จะบอกว่า แค่ไหนที่เราควรจะ “พอแล้ว” กับการรักษาที่แม้จะมีโอกาสหายอยู่บ้าง แต่เป็นวิธีที่อาจจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไข้จนไม่คุ้มที่จะแลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

'หมอธีระวัฒน์' เลิกพูดถึงเรื่อง 'white clot' แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

'หมอธีระวัฒน์' เปิดรายงานใช้วัคซีนโควิด ส่งผลเส้นเลือดตัน-แตก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการใช้วัคซีนโควิด มีเนื้อหาดังนี้

‘หมอธีระวัฒน์’ อธิบายชัด ‘โควิด-วัคซีน’ ผลกระทบแบบยาว

โควิดนี้มีได้แบบชนิดตอนเดียวจบ คือแบบสั้น ติดเชื้อแบบไม่มีอาการแพร่ไปให้คนอื่นเสร็จแล้วเชื้อก็หายไปจากตัวหรือติดเชื้อและเกิดอาการเบา กลาง หนัก จนถึงเสียชีวิต

อาจารย์หมอ ย้ำชัดเป็นสมองเสื่อม รู้เร็วป้องกันชะลอไม่ให้ลุกลามได้

สมองเสื่อมมีหลายยี่ห้อแล้วแต่ชนิดของโปรตีนพิษบิดเกลียว ที่จะมีทางวิ่งไปยังสมองส่วนต่างๆไม่เหมือนกัน ดังนั้นทำให้อาการที่ปรากฏขึ้นนั้น มีความผิดแผกแตกต่างกันได้ แต่ทั้งนี้ กลไกการเกิดและการทำลายสมองนั้นใกล้เคียงหรือเหมือนกัน