‘ชลบุรี’ ติดเชื้อรายใหม่ 295 ราย คลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้าง-โรงงาน

สสจ.ชลบุรี เผยสถานการณ์โควิดพบผู้ติดเชื้อใหม่ 295 ราย คลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้าง-โรงงาน ย้ำมาตรการเข้มงวดตามหลักสาธารณสุขงดสังสรรค์ ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ

25 ต.ค.2564- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี โพสต์ข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 ระบุว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 295 ราย 1. สถานประกอบการและมีที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 18 ราย สะสม 4,272 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,726 ราย 2. Cluster แคมป์ก่อสร้าง บริษัท ไร่โกทอง คอนสตรัคชั่น  แอนด์เซอร์วิส จำกัด อ.ศรีราชา 6 ราย สะสม 14 ราย 3. Cluster บริษัท ชอง อิล (ไทยแลนด์) จำกัด อ.ศรีราชา 5  ราย สะสม 31 ราย 4. Cluster บริษัท จี.เอ็ม.ที อินโนเวชั่น จำกัด อ.เมืองชลบุรี 6  ราย สะสม 6 ราย 5. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 11 ราย 6. บุคลากรทางการแพทย์ 4 ราย 7. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด  7.1 จังหวัดระยอง 4 ราย  7.2 จังหวัดสมุทรปราการ 1 ราย 8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน  8.1 ในครอบครัว 109 ราย 8.2 จากสถานที่ทำงาน 52 ราย 8.3 บุคคลใกล้ชิด 9 ราย 8.4 ร่วมวงสังสรรค์ 2 ราย 9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 20 ราย 10. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 48 ราย

การระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิท ทำให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในที่มีผู้คนรวมตัวกัน ทั้งในในสถานประกอบการ ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง และชุมชนที่พักอาศัย ค่ายทหาร

ขอความร่วมมือ แหล่งชุมชุมชน ดังนี้ ตลาด 1. ผู้ค้าหรือลูกจ้าง ไม่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ค้าหรือลูกจ้างร้านอื่น ๆ ไม่ทานอาหารใกล้ชิดด้วย 2. ไม่สังสรรค์ 3. ป่วยต้องหยุด 4. ทำความสะอาดห้องน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะจุดสัมผัสร่วม หลังออกจากห้องน้ำต้องล้างมือทุกครั้ง ไม่ใช้มือจับหน้าโดยไม่ล้างมือ 5. ใส่แมสก์ตลอดเวลา 6. เมื่อมีผู้ติดเชื้อในตลาด หากมีการตรวจเชิงรุก ขอให้รับการตรวจเชิงรุกทุกคน 7. เมื่อมีการปิดตลาด ขอความร่วมมือผู้สัมผัส หรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้หยุดอยู่บ้าน 8. ไม่รับแรงงานต่างด้าวจากพื้นที่เสี่ยง 9 มีการสุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ

สถานประกอบการ 1. ไม่สังสรรค์ ไม่ตั้งวงดื่มเหล้า 2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย 3. ป่วยต้องหยุด 4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที 5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน 6 สุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ

“ผู้เสียชีวิตรายใหม่ทั้ง 2 รายของวันนี้ เป็นผู้สัมผัสในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคมะเร็ง และทั้งสองรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

ปรบมือรัวๆ ‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาด ‘โควิด’ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง

อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง แต่ขอให้ตระหนักว่าการติดเชื้อในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันยังมีกันอยู่ต่อเนื่อง การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าพิสมัย ไม่ประมาท

สยอง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยพบแท่งย้วยสีขาว คล้ายหนวดปลาหมึก ในคนที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อ

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว