เตือนด่วน 11 จังหวัดภาคใต้ เตรียมรับมืออุทกภัย

6 พ.ย.2564 - เมื่อเวลา 16.50 น. กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติว่า ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากแผนที่ฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) พบว่าในช่วงวันที่ 7 – 13 พฤศจิกายน 2564 เนื่องจากคาดการณ์มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยมีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย 11 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และภูเก็ต แยกเป็น

1. พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากบริเวณที่ลาดเชิงเขา บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

2. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ระนอง และภูเก็ต

3. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี คลองท่าดีและคลองชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา แม่น้ำปัตตานี จังหวัดยะลา, จังหวัดปัตตานี และแม่น้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้แจ้งให้ 11 จังหวัดภาคใต้ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ดังกล่าว จัดเจ้าหน้าที่ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เน้นการเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีปริมาณฝนสะสม และพื้นที่เสี่ยงที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ชุมชนเมืองที่อาจได้รับผลกระทบ และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า พร้อมทั้งให้จัดเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการ รถปฏิบัติการ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยเข้าประจำจุดเสี่ยงน้ำท่วม รวมถึงประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร และจิตอาสา เพื่อแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีที่เกิดภัย หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้จังหวัดดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด

สำหรับประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามข่าวสารและการแจ้งเตือนภัยจากทางราชการอย่างใกล้ชิด หากมีประกาศหรือคำเตือนขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด หากพบเห็นหรือได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอปพลิเคชัน “พ้นภัย” รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เปิดพื้นที่เสี่ยงภัย 'พายุฤดูร้อน' ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันนี้ถึง 18.00 น. ของวันพรุ่งนี้ 17 เมษายน โดยระบุว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า เตือนอากาศช่วงเดินทางกลับสงกรานต์

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 - 24 เม.ย. 67

4 วันอันตรายสงกรานต์! สังเวย 162 ศพ 'เมืองคอน' แชมป์อุบัติเหตุ

พลตำรวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

อุตุฯ เตือนร้อนถึงร้อนจัด ฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด ลมแรง ลูกเห็บตก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

กรมอุตุฯ เตือน 30 จังหวัด ระวังพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดในระยะนี้ไว้ด้วย

พายุฝน ลูกเห็บตกกระหน่ำ อ.นครไทย เสียหาย 2 หมู่บ้าน ต้นตะเคียนหลายร้อยปีหักโค่น

ายุฤดูร้อนกระหน่ำบ้านเรือนประชาชนเสียหาย 2 หมู่บ้าน ลูกเห็บขนาดใหญ่ตกรอบหมู่บ้าน ลมพายุแรงส่งผลให้ต้นตะเคียนอายุกว่า 700 ปี ประจำหมู่บ้านล้มทับรั่วโรงเรียนบ้านนาทุ่งใหญ่ โชคไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ