7 ศิลปินร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร 2565 แรงบันดาลใจขับเคลื่อนวงการศิปะไทย

รางวัลศิลปาธร เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ศิลปินร่วมสมัยสัญชาติไทย ผู้มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 7  สาขาคือ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ สาขาดนตรี สาขาศิลปะการแสดง สาขาภาพยนตร์ และสาขาศิลปะการออกแบบ โดยในปี 2565 ได้มีการประกาศปผลการคัดเลือกและยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัล “ศิลปาธร” เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชูเกียรติศิลปินร่วมสมัยให้ก้าวไปในเส้นทางอาชีพได้อย่างมั่นคงและมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานอย่างอิสระ

อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ทรัพยากรบุคคลคือสิ่งที่มีคุณค่า ไม่สามารถเปรียบมูลค่าได้ ดังนั้นการยกย่องเชิดชูเกียรติ สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าที่บุคคลนั้นได้กระทำอันเกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่การยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะศิลปินจะเป็นต้นแบบ แรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังในการสร้างสรรค์ผลงานในแต่ละแขนงออกมาในอนาคต ปัจจุบันมีศิลปินที่ได้รับรางวัลศิลปาธร ทั้งสิ้น 1  พระนาม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้รับการยกย่องเป็นศิลปาธร สาขาศิลปะการออกแบบ (แฟชั่นและเครื่องประดับ) และอีก 94 ศิลปิน  ซึ่งรางวัลศิลปาธรปีนี้ทั้ง 7 สาขา  ศิลปินมีการต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง และทำคุณประโยชน์สังคม และยังอุทิศเวลาในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ไปสู่ผู้ที่สนใจ และจะเป็นแบบอย่างให้ศิลปินรุ่นใหม่ในอนาคตต่อไป

สำหรับศิลปินร่วมสมัยดีเด่นรางวัลศิลปาธรทั้ง 7 สาขา ประจำปี 2565 ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ ธวัชชัย  พันธุ์สวัสดิ์, สาขาสถาปัตยกรรม ได้แก่ หม่อมหลวง วรุตม์ วรวรรณ  สาขาวรรณศิลป์ ได้แก่ สถาพร จรดิฐ  หรือเจ้าของนามปากกา จเด็จ กำจรเดช, สาขาดนตรี ได้แก่ ชัยภัค ภัทรจินดา, สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ ศรวณีย์  ธนะธนิต  สาขาศิลปะการออกแบบ ได้แก่ นครินทร์ ยาโน และสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว ได้แก่ ลี ชาตะเมธีกุล

ศรวณีย์  ธนะธนิต  ศิลปินสาขาศิลปะการแสดง

ย้อนเส้นทางการสร้างสรรค์ผลงาน ศรวณีย์  ธนะธนิต  ศิลปินสาขาศิลปะการแสดง กล่าวว่า กว่าจะมาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่สำคัญคือการได้ทำในสิ่งที่รัก มีวินัยในการฝึกซ้อม และการท้าทายสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ผลงานที่ผ่านมา เป็นสมาชิกคนไทยคนแรกในคณะบัลเล่ต์ American Ballet Theatre และเป็นคนไทยเพียงหนึ่งเดียว ในฐานะนักแสดงนํา คณะแกรนด์ บัลเลต์ เด เจนีฟ์ คณะเต้นรําร่วมสมัยจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ออกแบบท่าเต้นให้กับเด็กชุมชนโครงการมูลนิธิเด็ก ในการแสดง นิทานเพลงจินตลีลา เรื่อง ฉันจะปลูกต้นไม้ ในโอกาสครบรอบ 40 ปี มูลนิธิเด็ก ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ได้สั่งสมประสบการณ์ในการโชว์ ทำให้อยากจะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจในประเทศไทย จึงได้เปิดอาร์ตเซ็นเตอร์ สอนให้กับเยาวชนที่สนใจในการเต้นคอนเทมโพรารี แดนซ์  หรือบัลเล่ต์ ในมาตรฐานที่เทียบเท่ากับต่างประเทศ พร้อมกับเป็นพื้นที่ให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้ทำการแสดงอีกด้วย

ลี ชาตะเมธีกุล ศิลปินสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว

นักลำดับภาพมืออาชีพ ลี ชาตะเมธีกุล ศิลปินสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว กล่าวว่า นับว่าเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่า ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ตนเท่านั้น แต่ยังทำให้เห็นถึงคุณค่าและพัฒนาการของอุตสาหกรรมภาพยนต์ที่ทุกส่วนหน้าที่ล้วนมีความสำคัญ อย่างตนที่เป็นนักลำดับภาพ เหมือนเป็นหน้าที่สุดท้ายที่ต้องเชื่อมระหว่างบทและผู้กำกับ ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพบอกเล่าเรื่องราวสู่ผู้ชม ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จในสายอาชีพนี้ หรือในอาชีพอื่นๆ ความใส่ใจ ความรับผิดชอบ ถือเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นคนที่สนใจในด้านนี้การหาประสบการณ์ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสก็ต้องไขว้คว้าเอาไว้ เพื่อฝึกฝีมือให้พัฒนาไปเรื่อยๆ

หม่อมหลวง วรุตม์ วรวรรณ  ศิลปินสาขาสถาปัตยกรรม

ด้าน หม่อมหลวง วรุตม์ วรวรรณ  ศิลปินสาขาสถาปัตยกรรม กล่าวว่า ภูมิใจที่ได้รับรางวัลซึ่งไม่ได้มาจากการประกวด แต่เพราะมีคนที่มองเห้นการทำงานของเรา ซึ่งไม่ใช่การทำงานเพียงคนเดียว แต่ยังมีทีมงานต่างๆที่เป็นแรงสนับสนุน โดยการออกแบบของตนไม่มีเอกลักษณ์ที่ตายตัว แต่มีความร่วมสมัยและ วิวัฒน์เทคนิคการก่อสร้างควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์ความรู้แบบท้องถิ่น รวมถึงมีความเชื่อมโยงเรื่องทรัพยากรที่มีอยู่ใน ท้องถิ่น ประกอบกับการนําเทคนิคและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับองค์ประกอบท้องถิ่น และขยายผลความรู้แบบท้องถิ่น ในเงื่อนไขของโลกยุคปัจจุบัน

สถาพร จรดิฐ  หรือเจ้าของนามปากกา จเด็จ กำจรเดช ศิลปินสาขาวรรณศิลป์

นักเขียนร่วมสมัยที่มีอุดมทัศน์ในการสร้างงานวรรณกรรม สถาพร จรดิฐ  หรือเจ้าของนามปากกา จเด็จ กำจรเดช ศิลปินสาขาวรรณศิลป์  มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างงานที่มีคุณภาพ เพื่อนําเสนอปัญหาของมนุษยชาติ และมีฉันทะในการเรียนรู้กลวิธีการเขียน ที่จะนําพาผู้อ่านเข้าสู่โลกแห่งความรู้สึกนึกคิด อันซับซ้อน ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ประจําประเทศไทย) จากรวมเรื่องสั้นชุด แดดเช้า ร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ ในปี 2554  และรวมเรื่องสั้นชุด คืนปีเสือและเรื่องเล่าของสัตว์อื่นๆ ในปี 2563

ธวัชชัย  พันธุ์สวัสดิ์ ศิลปินสาขาทัศนศิลป์ ผู้มีผลงานโดดเด่นลักษณะเฉพาะตน

ส่วน ธวัชชัย  พันธุ์สวัสดิ์ ศิลปินสาขาทัศนศิลป์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีความโดดเด่น มีลักษณะเฉพาะตน เป็นที่ประจักษ์และยอมรับในวงการ ศิลปะทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมมักนําเสนอภายใต้รูปทรงสลับซับซ้อน หรือรูปจําลองสามมิติ รับรู้ด้วยการสัมผัส ผสมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเห็น ความสําเร็จของชิ้นงานได้ผ่านกระบวนการ คิด และวิธีการคํานวณอย่างแม่นยํา ผลงานโดดเด่น อาทิ  A Shadow of Giving จัดแสดงในงาน Bangkok Art Biennale (BAB) 2018 ได้รับเลือกให้เข้าร่วมแสดงผลงานใน The 21st Biennale of Sydney และการจัดนิทรรศการเดี่ยว Existence of Void” ณ หอศิลป์วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นครินทร์ ยาโน ศิลปินสาขาศิลปะการออกแบบ เจ้าของแบรนด์ Yano

นครินทร์ ยาโน ศิลปินสาขาศิลปะการออกแบบ เจ้าของแบรนด์ Yano ดีไซเนอร์ผู้นำงานผ้าทอมือฝีมือของท้องถิ่นที่มีคุณค่า ให้ความสำคัญกับประเด็นให้เห็นปัญหาชายขอบของสังคม จุดประกายให้เห็นศักยภาพของท้องถิ่นที่มากมายด้วยทุนทางวัฒนธรรม และรอคอยการต่อยอด สร้างงานให้กับฝีมือช่าง ท้องถิ่น สร้างให้เกิดการเรียนรู้และสานต่อ ส่งต่อความภาคภูมิใจ สร้างงานอาชีพให้ขยายตัวไปสู่หมู่บ้านต่างๆ

. ชัยภัค ภัทรจินดา ศิลปินสาขาดนตรี

ศิลปินผู้มีความรู้ความสามารถครบถ้วนในทุกด้าน ชัยภัค ภัทรจินดา ศิลปินสาขาดนตรี เป็นทั้งนักประพันธ์เพลง นักเรียบเรียงเสียงประสาน และนักดนตรีที่มีความสามารถทั้งด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2530  จนถึงปัจจุบัน ผลงานดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นเองหรือมีส่วนในการสร้างสรรค์ มีจํานวนถึง 884  เพลง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.เปิดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง ชวนสัมผัสวัฒนธรรมล้านนาฉลองมรดกโลก

15 เม.ย.2567 - สงกรานต์เชียงใหม่คึกคัก กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

วธ.เปิดสงกรานต์ปีใหม่ไทยวัดสุทัศน์ฯ นทท.คึกคัก ทั่วไทยร่วมสืบสานความงามประเพณี

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

นิทรรศการประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทยที่หอศิลป์กรุงเทพฯ จัดใหญ่โชว์ซอฟต์พาวเวอร์ไทย

11 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร จัดงาน “นิทรรศการประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” เนื่องในโอกาสที่ ประเพณี

วธ.จัดใหญ่มหาสงกรานต์ เปิดไฮไลต์ กทม. - 5 จังหวัด ฉลองมรดกโลก

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) แถลงข่าวการจัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival)ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธนนมแห่งประเทศไทย เมื่อวานนี้ โดย

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ