'โค้ก' พร้อมพันธมิตร 'ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky' ปีที่ 2

โคคา-โคล่า พร้อมพันธมิตร ร่วมมือผลักดันการจัดการขยะ

นับว่าเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงสำหรับมนุษย์ในการลดการสร้างขยะ โดยเฉพาะขยะ ประเภทพลาสติก ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนในหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น อาหาร บรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น เพราะมีคุณสมบัติตั้งแต่ต้นทุนต่ำ ยืดหยุ่นสูง น้ำหนักเบา ทนความร้อนหรือสารเคมีบางชนิด ป้องกันการรั่วซึม แต่ในทางกลับกันการย่อยสลายของพลาสติกใช้เวลานานนับ 100 ปี สร้างผลกระทบต่อโลกและระบบนิเวศ ซึ่งทุกวันนี้การรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะ หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ หรือการงดรับถุงพลาสติกพบเห็นได้อยู่ทั่วไป แต่จะเป็นผลหรือไม่นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนที่ล้วนเป็นผู้ทำให้เกิดขยะพลาสติกขึ้น 

ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับพันธมิตร แทรชลัคกี้ และ อินโดรามา เวนเจอร์ส ร่วมสนับสนุนโครงการ “โค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky” ปีที่ 2 โดยได้มีการเพิ่มจุดรับวัสดุรีไซเคิล คือ โลตัส และสถานีบริการน้ำมันเซลล์ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการแยกวัสดุรีไซเคิลที่มีค่า เช่น ขวดพลาสติก PET และกระป๋อง โดยมีระยะเวลา 6 เดือน  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565-31 มีนาคม 2566 

โดยวัสดุรีไซเคิลทั้งหมดในแคมเปญจะถูกส่งต่อไปให้ อินโดรามา เวนเจอร์ส เพื่อนำรีไซเคิลขวดพลาสติก PET ให้กลับมาสามารถใช้งานได้อีกครั้ง ผ่านการรีไซเคิลจากอินโดรามา ที่จะช่วยเปลี่ยนขวดพลาสติก PET ที่เก็บรวบรวมเป็นเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET)  ถือเป็นเป้าหมายหลักของแคมเปญในการขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และจูงใจผู้บริโภคให้นำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยเริ่มจากการรีไซเคิล

ขวดและกระป๋อง คัดแยกเพื่อนำไปรีไซเคิล

นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสาร และความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าจุดประสงค์ของโครงการนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานที่จะตอบรับประเทศไทย สำหรับกฎหมายอนุญาตให้สามารถนำเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล (rPET) มาผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มได้ โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของBCG Model หรือการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้นการเดินหน้าทำงานเพื่อจัดเก็บและรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ในปริมาณเทียบเท่ากับที่ใช้ให้ได้ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2573

  นันทิวัต กล่าวต่อว่า ในปีนี้ได้รับความร่วมมือจาก แทรชลัคกี้ โลตัส และ สถานีบริการน้ำมันเชลล์ ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการรีไซเคิลเช่นเดียวกัน เพราะการแก้ปัญหาขยะไม่ใช่ความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และพันธมิตรทุกคน และยินดีอย่างยิ่งหากมีพันธมิตรเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยสามารถขอแจ้งความจำนงไปที่ แทรชลัคกี้ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยเราในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มจุดรับวัสดุรีไซเคิลใหม่ๆ ให้เชื่อมโยงกับเครือข่ายปัจจุบันโดยเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการด้านการขนส่งและรวบรวม ตลอดจนสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภคที่สนใจเข้าร่วมส่งวัสดุรีไซเคิลอีกด้วย

นวีนสุดา กระบวนรัตน์ หัวหน้าฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการนำขวดพลาสติก PET ที่รวบรวมได้ ไปผลิตเป็นชุด PPE คุณภาพสูง และนำไปมอบแก่สำนักงานสาธารณสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนปีนี้ เพื่อเป็นการตอบรับกับกฎหมายอนุญาตให้ใช้ขวดพลาสติก PET ใช้แล้วมารีไซเคิลเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ก็เตรียมความพร้อมเพื่อให้สอดคล้องกับรายละเอียดข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างความเข้าใจในนวัตกรรมการรีไซเคิลที่ดียิ่งขึ้น และความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการแยกวัสดุรีไซเคิลได้จากขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสําคัญในการสร้างความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีการผลิตพลาสติก PET รีไซเคิลที่มีคุณภาพ

จุดรับวัสดุรีไซเคิลที่ แทรชลัคกี้ 

โลตัสจุดรับวัสดุรีไซเคิลใกล้ๆบ้าน สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า การร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้ลูกค้าและประชาชนสร้างพฤติกรรม ในการแยกขยะและเข้าถึงจุดรีไซเคิลได้อย่างสะดวกสบาย ผ่านสาขาที่เป็นศูนย์กลางชุมชน โดยได้จัดตั้งจุดหย่อน บรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภทเพื่อเก็บเข้าระบบและนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี รวมถึงเครื่อง Reverse Vending Machine จำนวน 27 ตู้ ที่ปัจจุบันสามารถนำขวดพลาสติก PET กลับเข้าระบบแล้วกว่า 2,800,000 ขวด, จุดรับพลาสติกยืดจำนวน 45 จุด ที่รีไซเคิลพลาสติกไปแล้วกว่า 7,400 กิโลกรัม และ จุดรับกล่องและลังกระดาษจำนวน 220 จุด ที่สามารถรีไซเคิลกล่องและ ลังกระดาษไปแล้วกว่า 200,000 กิโลกรัม โดยในเบื้องต้นจะร่วมมือจัดตั้งจุดรีไซเคิลที่โลตัส 6 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว, วังหิน, มีนบุรี, ลาดกระบัง, บางกะปิ และ พระราม 2 เพื่อนำบรรจุภัณฑ์กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีตามแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่าง การอัพเดปเดตจุดรับวัสดุรีไซเคิลฟรีถึงหน้าบ้าน

ปั๊มน้ำมันอีกหนึ่งช่องทางส่งขยะรีไซเคิล เรืองศักดิ์ ศรีธนวิบุญชัย กรรมการบริหารธุรกิจโมบิลิตี้ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ให้ข้อมูลว่า เชลล์ ฯ ได้มีการวางแผนจัดการกับความท้าทายนี้อย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากกระบวนการผลิต การปฏิบัติงานภายใน ตลอดจนช่วยลูกค้าเชลล์ลดขยะพลาสติกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์น้ำมันเครื่องเชลล์ ซึ่งเป็นแบบรีไซเคิล รวมถึงที่ร้านเดลี่คาเฟ่ของเรา เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และใช้หลอดกระดาษแทน พร้อมเพิ่มความอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคที่เข้าร่วมแคมเปญ ด้วยการเป็นจุดตั้งรับขยะรีไซเคิลสำหรับโครงการดังกล่าวฯ ในสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั้ง 15 สาขาทั่วกรุงเทพ

อย่างไรก็ตาม ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Trash Lucky

จุดรับวัสดุรีไซเคิลที่ แทรชลัคกี้ 

เพิ่มเพื่อน