โคคา โคลา  จับมือกทม.แยกขยะพลาสติกในเมืองกรุง

 นันทิวัต ธรรมหทัย (ซ้าย)-ณัฐภัค อติชาตการ(ขวา) ชวนลุ้นโชคจากการแยกขยะ

ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี เป็นวิกฤตที่ในหลายประเทศทั่วโลกและในประเทศไทยกำลังเผชิญและพยายามหาทางรับมือแก้ไขกับปัญหา  ซึ่งหนึ่งในทางออกที่แสนจะง่ายดายที่สุด คือ การคัดแยกก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับไปใช้ใหม่ แต่กลับพบว่าขยะจำนวนมากไม่ได้รับการคัดแยก มีการทิ้งรวมกันในที่เดียว ทั้งขยะพลาสติก เศษอาหาร ขยะอันตราย และอื่นๆ จึงมีส่วนทำให้การกำจัดขยะ หรือการนำขยะไปรีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไม่ดีเท่าที่ควร

 สาเหตุการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ นอกจากการคัดแยกที่ไม่ถูกวิธี อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย อย่างในพื้นที่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ที่มีจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎรในปี 2565 ถึง 5.5 ล้านคน แต่ถ้ารวมประชากรแฝงและนักท่องเที่ยว ก็จะมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ตังเลขนี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ดี แต่ในอีกมุมหนึ่งคือ บ่งบอกว่าขยะจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนคนอยู่อาศัย
ปัญหาจัดการขยะในกรุงเทพฯ ทำให้ กทม. ต้องใช้งบประมาณในการจัดเก็บขยะมากกว่า 7,000 ล้านบาทต่อปี จากปริมาณขยะเฉลี่ยวันละ 8,000-10,000 ตัน/วัน หรือระหว่าง 3-3.90 ล้านตัน/ปี จากสถิติ 5 ปีย้อนหลัง โดยปีในปี 2565  มีปริมาณขยะเฉลี่ยวันละ 8,979 ตัน รวม 3.27 ล้านตัน/ปี โดยกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบคิดเป็นร้อยละ 68 การนำขยะไปทำปุ๋ยหมักร้อยละ 18 ใช้เทคโนโลยีผสมผสาน (RDF) ในการกำจัดขยะร้อยละ 9 และใช้เตาเผาขยะร้อยละ 5  

 จุดรับขยะที่โลตัส

ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2559 – 2563 จากจำนวนขยะมูลฝอยทั้งหมดแบ่งเป็นเศษอาหาร ประมาณ 45% รองลงมาเป็นพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้เกือบ 20% กระดาษที่รีไซเคิลไม่ได้อีกประมาณ 11% และขยะอื่นๆ เช่น แก้ว โฟม ใบไม้ เป็นต้น

แม้ว่าในช่วงสถานการณ์โควิด19 คลี่คลาย ปริมาณของขยะพลาสติกจะมีแนวโน้มลดลงก็ตาม แต่ปัจจัยการขับเคลื่อนที่สำคัญต้องอาศัยการร่วมมือจากทุกคน โดยเฉพาะการคัดแยกขยะก่อนทิ้งให้ถูกประเภท นอกจากแนวทางการจัดการของภาครัฐ ในส่วนของภาคเอกชน อย่างทาง กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ แทรชลัคกี้ เดินหน้าต่อยอดความสำเร็จแคมเปญ “โค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky” เป็นปีที่ 3 ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนพฤติกรรมการแยกขยะ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล สร้างระบบกลไกจัดการขยะแบบครบวงจร

พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์

พรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์ของขยะในกทม. ว่า ปริมาณขยะในกทม. ในช่วงปี 2558-2562 มีปริมาณเกิน 10,000 ตันต่อวันจริงๆ แต่ ณ ขณะนี้ในปี 2566 ขยะในกทม. มีปริมาณ 8,900 ตันต่อวัน ทั้งนี้ถ้าเทียบในเดือนพ.ค.ปี 2566 กับปี 2565 ขยะมีปริมาณลดลงถึงวันละ 700 ตัน ซึ่งหากสังเกตตัวเลขในแต่ละเดือนปริมาณของขยะมีการลดลง และเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์อาทิ การแพร่ระบาดของโควิด19 หรือการเปิดเมืองหลังโควิด19 แต่ในตอนนี้สถานการณ์ขยะมีแนวโน้มที่จะลดลง นอกจากนี้ขยะกว่า 8,000 ตัน มีการกำจัดแบบ 100% โดยเฉลี่ย 60% ถูกนำไปฝั่งกลบ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นวิธีที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องลดปริมาณน้ำหนักขยะให้มากที่สุดให้ได้ เพราะ 50% ของขยะกทม. เป็นขยะเปียก ซึ่งจะมีผลต่อการนำไปกำจัด ส่วนที่เหลืออาจจะถูกนำไปกำจัดด้วยเทคโนโลยีด้วยเตาเผาประมาณ 300-500 ตันต่อวัน หรือการทำปุ๋ยหมัก เป็นต้น ดังนั้นเริ่มต้นง่ายคือ ประชาชนต้องแยกขยะเปียก และขยะแห้ง ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้

“ทั้งนี้เป้าหมายที่วางไว้ของกทม. คือการลดปริมาณขยะจาก 8,900 ตัน ให้เหลือ 8,000 ตัน ภายในปี 2569 ซึ่งการจะต้องมีการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่างโครงการพัฒนาระบบจัดการขยะครบวงจร คือแผนการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยแบ่งงานออกเป็น 3 ระยะ โดยในระยะที่ 1 แคมเปญ ไม่เทรวม คือ ขยะเศษอาหาร และขยะทั่วไป ระยะที่ 2 โครงการปลอดขยะในพื้นที่/สถานที่แหล่งกำเนิดขยะ และระยะที่ 3 ตั้งจุดรับขยะ เช่นที่ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต สำนักงานเขต ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับขยะ และแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อเพิ่มเเรงจูงใจในการแยกขยะ อย่างกิจกรรม Trash Lucky ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้วย” พรพรหม กล่าว

ประชาชนร่วมส่งขยะคัดแยก ปีที่ 2

ด้านนันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสารและความยั่งยืน บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการนี้ ไม่เพียงประสบความสำเร็จในแง่การสร้างความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการแยกวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ออกจากขยะทั่วไป เพราะด้วยจุดรับคัดแยกที่มีเพิ่มมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงการนำขยะมาส่งมากขึ้น ซึ่งในแคมเปญในปีที่ 3 ที่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรใหม่ อย่างหนึ่งในเครือข่ายผู้ผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมรายใหญ่ของโลก ไทยเบเวอร์เรจแคน และผู้นำด้านรีเทลอย่าง เดอะมอลล์ กรุ๊ป และ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ที่มาร่วมขยายเครือข่ายรีไซเคิลด้วยการเพิ่มจุดรับวัสดุรีไซเคิลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

นันทิวัต กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้มุ่งมั่นที่จะเร่งดำเนินการในส่วนของการผลิตขวดหรือบรรจุภัณฑ์  rPET โดยในส่วนของกฎหมายได้มีการระบุว่า ทางบริษัทใดที่จะจำหน่าย rPET ได้ ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ก่อน ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัทที่ผลิตขวด rPET ได้มีอยู่ 2 บริษัท แต่ได้รับการรับรองจาก อย. มีเพียง 1 บริษัท ซึ่งขณะนี้ทางโคคา-โคล่า ก็จะเร่งดำเนินการในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็น rPET ให้ได้ภายในปีนี้

ณัฐภัค อติชาตการ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด (Trash Lucky) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 6 เดือนของแคมเปญโค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปี 2 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคชาวไทย และสามารถเก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิลได้กว่า 70,000 กิโลกรัม โดยกว่า 9,500 กิโลกรัมเป็นขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้ว หรือเทียบเท่า 428,760 ขวด นำกลับเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลที่ถูกต้อง และในปีที่สามนี้คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถคัดแยกและส่งวัสดุรีไซเคิล ในกิจกรรมโค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky ปีที่3 ได้ที่จุดรับรีไซเคิลทั่วกรุงเทพฯ และได้นำร่องเริ่มต้นขยายพื้นที่เพิ่มการตั้งจุดรับ 5 จุดในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งดำเนินการและกำกับดูแลโดย บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งสิ้น 69 จุด โดยระยะเวลากิจกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่วันนี้- 31 ธันวาคม 2566.

จุดรับขยะที่ปั๊ม SHELL

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ