เปิดยูนิฟอร์ม APEC CEO Summit 2022

ประเทศไทยมีความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) การประชุมครั้งสำคัญนี้ ยังมีเวที  APEC CEO Summit 2022  การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค ซึ่งเชิญผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและผู้นำชุมชนธุรกิจระดับภูมิภาคจาก 21 เขตเศรษฐกิจ เข้าร่วมระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 เป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะต้อนรับแขกของประเทศ

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธาน APEC CEO Summit 2022 กล่าวว่า ในการประชุม APEC CEO Summit 2022 ,uการตอบรับอย่างเป็นทางการจากผู้นำเขตเศรษฐกิจที่ยืนยันเข้าร่วมงาน ได้แก่ นายโฮเซ เปโดร กัสติโย เตร์โรเนส (José Pedro Castillo Terrones) ประธานาธิบดีเปรู, นายกาบริเอล โบริช ฟอนต์ (Gabriel Boric Font) ประธานธิบดีชิลี และนายเหงียน ซวน ฟุก  (Nguyễn Xuân Phúc) ประธานาธิบดีเวียดนาม เป็นต้น โดยผู้นำเขตเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกา  และนิวซีแลนด์  ทั้งนี้ ยังอยู่ในกระบวนการตอบรับ พร้อมทั้งแขกของรัฐบาลไทย และแขกของเอเปคในการเข้าร่วมปาฐกถา

“ คาดว่าในปีนี้จะมีผู้นำภาคธุรกิจจากทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกไม่ต่ำกว่า 500-600 คน  ผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทยกว่า 200 คน ไม่รวมคณะผู้ติดตามและทีมงาน นับเป็นโอกาสอันดีของไทยในการพลิกฟื้นทางเศรษฐกิจ หลังจากมีการเปิดประเทศอีกด้วย “ ดร.พจน์ กล่าว

ในโอกาสนี้ คณะทำงาน APEC CEO Summit 2022 ได้เปิดตัวชุดยูนิฟอร์มร่วมสมัย“ฮ่อมขวายบะต่อม” ที่ตัวแทน Young Entrepreneur Chamber of Commerce จะสวมใส่เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ไทยและส่งเสริมภาพลักษณ์ไทย เป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการถ่ายทอด Soft power หรือการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยผ่านสายตาชาวโลก ออกแบบโดยนักศึกษา คณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ถ่ายทอดความเป็นไทยผ่านการนำกลิ่นอายของผ้าฝ้ายที่งดงามและอ่อนช้อยของภาคเหนือ ผสานกับลวดลายช้าง อันนับเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และมีเรื่องราวของความเป็นไทยมากมาย เล่าเรียงร้อยอยู่ในเส้นสายของยูนิฟอร์มชุดนี้

ดิสพล จันศิริ คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล กล่าวว่า  โครงการการออกแบบยูนิฟอร์มให้กับการประชุม APEC CEO Summit ที่ทำงานร่วมกับหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย เปิดโอกาสให้ นศ.ปี 1 ออกแบบสร้างสรรค์ โดยนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้อาจารย์ทำงานร่วมกับนักศึกษาทำความเข้าใจการประชุมเอเปค การสร้างแพทเทิร์นเสื้อผ้า  และการออกแบบให้เหมาะสมกับงาน สามารถสื่อความหมายได้ นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของทางมหาวิทยาลัยที่นักศึกษาได้สร้างสรรค์ดีไซน์ยูนิฟอร์มในแบบต่างๆ อย่างเต็มที่ และแน่นอนว่ายังเป็นการถ่ายทอด Soft power หรือการเผยแพร่ทางวัฒนธรรมไทยผ่านสายตาชาวโลกอีกทางหนึ่งด้วย

ด้าน ปวิชญา คล้ายอักษร นศ.ชั้นปีที่ 1 คณะศิลปะและการออกแบบดิจิทัล เผยแรงบันดาลใจออกแบบยูนิฟอร์มว่า  เริ่มจากอยากให้ผู้สวมใส่รู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว ผสมผสานกับความชื่นชอบภาคเหนือ เพราะมีวัฒนธรรมและธรรมชาติที่น่าสนใจ จึงนำเอกลักษณ์ของภาคเหนืออย่าง เสื้อม่อฮ่อมที่มีเนื้อผ้าใส่สบาย ไม่ร้อน โดดเด่นด้วยสีฟ้าครามดูแล้วมีความเรียบง่าย สามารถในงานประชุมทางการและนำมาประยุกต์ใส่ได้ทั้งชีวิตประจำวันได้ด้วย

“ ชุดยูนิฟอร์มฮ่อมขวายบะต่อม เป็นภาษาเหนือ ภาพรวมแปลว่า สบายไร้อุปสรรค การออกแบบคล้ายแพทเทิร์นของสูท ใส่ลูกเล่นให้ดูร่วมสมัยมากขึ้นด้วยการทำปกคอเสื้อ ชุดเหมาะกับทั้งชายและหญิง  เพิ่มรายละเอียดด้วยการใช้กระดุม 3 เม็ด ซึ่งเป็นลักษณะการติดด้วยการเกี่ยวเข้าหากันเหมือนเสื้อม่อฮ่อมของทางภาคเหนือ”  ปวิชญา เล่าที่มาของยูนิฟอร์ม 

จุดเด่นของยูนิฟอร์ม ปวิชญา กล่าวเพิ่มว่า เป็นลวดลายช้าง เอกลักษณ์ที่สื่อความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี ชาวต่างชาติเห็นช้างจะนึกถึงประเทศไทย  หากมองใกล้ๆจะมีรายละเอียดที่ใช้เทคนิคการออกแบ ดูเดิ้ลอาร์ท (Doodle Art)  เป็นการเย็บที่เริ่มจากจุดเริ่มต้นไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการกำหนดรูปร่างของเส้น แต่ยังคงอยู่ในโครงสร้างที่ตนได้วาดไว้ โดยใช้ด้ายสีขาวในส่วนของลากเส้น จากนั้นลงรายละเอียดสีน้ำเงินบนตัวของช้าง ลายเส้นนั้นเป็นไปอย่างอิสระจนได้แบบที่ต้องการ ช้างโดดเด่นอยู่บนเสื้อสีคราม เลือกใช้เทคนิคนี้มีความหมายสื่อถึงการรวมตัวการหรือการพบเจอกันของผู้คน เหมือนกับการประชุม APEC CEO Summit ที่ผู้นำเขตเศรษฐกิจจากหลายประเทศจะเดินทางมาเข้าร่วมประชุมที่ไทย

นับเป็นโอกาสที่ไทยจะได้ถ่ายทอดผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมของประเทศสู่สายตาผู้นำโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘สุริยะ’เล็งใช้เวทีเอเปคสหรัฐฯ 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’

‘สุริยะ’เตรียมใช้เวทีเอเปคสหรัฐอเมริกา 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’ ดึงต่างชาติร่วมลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ 1 ล้านล้านบาท คาดผลักดัน พรบ.พัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้แล้วเสร็จในปี67 ก่อนเดินหน้าเปิดประมูล

Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP

เอเปคกับเศรษฐกิจรูปตัว Y: นโยบายและการแข่งขัน

หลังประเทศไทย สอบผ่านจากการประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา การประชุมรอบใหม่ของคณะทำงานต่างๆของเอเปคกำลังกลับมาเริ่มใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์นี้แล้วเพื่อเตรียมประเด็นและรายงานต่อผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจ ในปลายปี 2566 นี้

APEC CEO Summit 2022 วิสัยทัศน์ภาคธุรกิจ สู่การขับเคลื่อนการเติบโตอย่างมั่งคั่ง ทั่วถึง และยั่งยืน

นอกจากการประชุม APEC 2022 ระหว่างวันที่ 14 – 19 พฤศจิกายน 2565 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้องแล้ว