ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ นักเขียนหญิงคว้าซีไรต์กวีนิพนธ์ ปี 65

มติเอกฉันท์ให้กวีนิพนธ์เรื่อง”จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้” คว้าซีไรต์ ปี 65 ส่งผลให้ ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ ขึ้นแท่นกวีซีไรต์หญิงคนที่ 2

2 ธ.ค.2565 – เวลา 14.00 น. ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุลประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน และคณะกรรมการตัดสิน พร้อมด้วยผู้ให้การสนับสนุน แถลงข่าวประกาศผลการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประเภท “กวีนิพนธ์” ประจำปี พ.ศ. 2565   ณ ห้องเจ้าพระยา โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ

สำหรับหนังสือกวีนิพนธ์รอบคัดเลือก (Shortlist) จำนวน 7 เล่ม เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อหนังสือ ดังนี้

1.จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ โดย ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ จัดพิมพ์โดย ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์
2. ดวงตากวี โดย รินศรัทธา กาญจนวตี จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ ออน อาร์ต
3. นาฏกรรมจำนรรจ์ โดย ศิวกานท์ ปทุมสูติ จัดพิมพ์โดย ผจญภัยสำนักพิมพ์
4. ประเทศในเขาวงกต และบริบทอื่นๆ โดย ศิริวร แก้วกาญจน์ จัดพิมพ์โดย ผจญภัยสำนักพิมพ์
5. เมื่อพระอาทิตย์หลับ ฉันก่อไฟปลุกพระจันทร์ โดย ภิรเดช แก้วมงคล จัดพิมพ์โดย กากะเยียสำนักพิมพ์
6. สองฝั่งแม่น้ำเก่า โดย ลอง จ้องรวี จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์โรงนาบ้านไร่
7. สะพรั่งบานในสถานการณ์ไม่ปกติ โดย รังสิมันต์ จุลหริก จัดพิมพ์โดย สำนักกวีน้อยเมืองนคร

นางชมัยภร บางคมบาง ประธานกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  อ่านคำประกาศของคณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  ประจำปี 2565 ประเภทกวีนิพนธ์ คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  ประจำปี 2565 ประเภทกวีนิพนธ์ พิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า กวีนิพนธ์เรื่อง จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้  ของปาลิดา ผลประดับเพ็ชร์ นำเสนอภาพชีวิตของผู้คนในยุคสังคมพลิกผันที่เผชิญหน้ากับโรคระบาดครั้งใหญ่ ปัญหาอาชญากรรม สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมสื่อ บทกวีแต่ละบทนำเสนอฉากชีวิตและพฤติการณ์ของคนธรรมดาสามัญ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชายขอบ ผู้คนในเมืองและในชนบทที่ยากจนและถูกเบียดขับกดทับ  ตลอดจนตั้งคำถาม กับโลกยุคเก่า และวิพากษ์โลกยุคใหม่อย่างแยบยล กวีมุ่งนำเสนอสารสำคัญว่า แม้ชีวิตจะต้องเผชิญกับความโหดร้าย ความรุนแรง ความพลิกผัน และความล่มสลาย ขอเพียงเรายังมีความเอื้ออาทรต่อกัน โอบกอดกันด้วยความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจกัน

กวีเล่าเรื่องชีวิตของผู้คนอย่างละคร แบ่งบทตอนอย่างมีสัมพันธภาพ ใช้ท่วงทำนองโรแมนติกตัดกับสัจนิยม ด้วยน้ำเสียงประชดเสียดสี เพื่อเร้าอารมณ์และกระตุ้นความนึกคิด ถ้อยคำในบทกวีน้อยแต่มาก ง่ายแต่งาม ลึกซึ้งทั้งความหมายและอารมณ์ความรู้สึก  รวมทั้งยังใช้ศิลปะสองแขนง คือ บทกวีกับภาพวาดมาสอดประสานกันเพื่อนำเสนอความคิดร่วมสมัยและสากล สื่อน้ำเสียงที่มีความหวัง มุ่งยกระดับจิตใจให้ใคร่ครวญถึงความอ่อนโยนที่โลกพึงมีต่อเราและเราพึงมีต่อโลก

คณะกรรมการตัดสินจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กวีนิพนธ์เรื่องจนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ ของปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  ประจำปีพุทธศักราช 2565

สำหรับ ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ ถือเป็นนักเขียนหญิง ประเภทกวีนิพนธ์ คนที่ 2 ก่อนหน้านี้ จิระนันท์ พิตรปรีชา ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  ประเภทกวีนิพนธ์

ประวัติผู้เขียน ปาลิตา ผลประดับเพ็ชร์ เกิดที่แม่กลอง พ.ศ. 2529 เติบโตที่เพชรบุรี จบปริญญาตรี รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปริญญาโท อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ปัจจุบันอยู่กับครอบครัวที่ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมา 8 ปี ตีพิมพ์บทกวีนิพนธ์เล่มแรกของตัวเองหลังลาออกได้ 10 เดือน ปัจจุบันปาลิดากำลังทดลองใช้ชีวิตเป็นอิสระจากงานประจำ

ผลงานที่ผ่านมา บทกวีเรื่อง”แล้วเธอล่ะเป็นใครในเมืองนี้”  บทกวีเรื่อง”มิได้อุทธรณ์”  บทกวีเรื่อง”ดำเนินทราย”  บทกวีเรื่อง”คนถางทาง” บทกวีเรื่อง”จนกว่าชีวิตจะนิทรา” และบทกวีเรื่อง”เราอยู่ตรงนี้นานเกินไปแล้ว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

ประกาศแล้ว 7 เรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายซีไรต์ ปี 66

28 ส.ค.2566 - เวลา 14.30 น. คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) จัดงานแถลงข่าวการประกาศผลรางวัลซีไรต์ รอบคัดเลือก (Shortlist) ประเภท “รวมเรื่องสั้น” ประจำปี 2566  โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลซีไรต์

เยี่ยมบ้าน'ไพฑูรย์-ประทีป' ศิลปินแห่งชาติเมืองสุโขทัย 

สุโขทัยเมืองที่มีความเจริญทางอารยธรรมที่สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก เมืองนี้ยังรุ่มรวยศิลปิน มีโอกาสเยือนบ้านสองศิลปินแห่งชาติที่มีถิ่นพำนักที่นี่  รศ. ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2559 ผู้ที่ใช้นามปากกาว่า”  ไพฑูรย์ ธัญญา”  

นักเขียนสู่คนวาดภาพ ’เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์'

25 ต.ค.2565 - เตรียมพบกับการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญบนเส้นทางศิลปินของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์  กวีซีไรต์ ปี 2547 และศิลปินศิลปาธร ปี 2557 ผ่านนิทรรศการภาพเขียน ‘ความรักปรากฏรูป’ ถือเป็นนิทรรศการครั้งแรก

อวดโฉม 7 เล่มกวีนิพนธ์ เข้ารอบซีไรต์ปี 65

ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)  ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุลทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) เป็นครั้งแรก ในงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลซีไรต์ รอบคัดเลือกประเภท “กวีนิพนธ์” ประจำปี พ.ศ. 2565