สตรีทอาร์ต’กระตั้วแทงเสือ’ เชื่อมเก่า-ใหม่

ในยุคดิจัลที่ความบันเทิงมีให้ดูผ่านออนไลน์มากมาย ทั้งคอนเสิร์ตศิลปินดัง  ซีรี่ส์ ภาพยนตร์ เกมส์กีฬา  ทำให้ปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านไทยหาดูได้ยาก คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก ในขณะเดียวกันสถานการณ์ของการละเล่นไทยพบว่าได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กำลังเลือนหายไป รวมถึง กระตั้วแทงเสือ ประเพณีการละเล่นที่บอกเล่าถึงวิถีความเชื่อของคนไทยในอดีตที่ไร้ผู้สืบทอด 

เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและสร้างกุศโลบายในการอนุรักษ์เสือ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมสร้างสรรค์”กระตั้วแทงเสือรูปแบบใหม่” ผ่านนิทรรศการชั่วคราว  “กระตั้วแทงเสือ” ผสมผสานระหว่างเก่าและใหม่ อิงวัฒนธรรมสตรีทที่เป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน  เพื่อนำพาการแสดงพื้นบ้านนี้ให้เข้าถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ ผู้สืบสานศิลปะการแสดง และกลุ่มคนรักงานศิลป์ร่ วมผลักดันให้กระตั้วแทงเสือเป็นที่รับรู้ในวงกว้าง นิทรรศการนี้ยังร่วมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดียครบรอบ 75 ปี ซึ่งชาวอินเดียมีประเพณีวัฒนธรรมที่คล้ายกันผูกโยงเสือเข้ากับความเชื่อ ความศรัทธา

นายประสพ เรียงเงิน ผอ.สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า กระตั๋วแทงเสือ เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง  ที่บูรณาการความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาสร้างเป็นศิลปะที่น่าสนใจ เช่น นันทนาการ กีฬา ศิลปะการแสดง นาฏศิลป์ ดนตรีประยุกต์ และจิตวิทยา โดยใช้ความภาคภูมิใจ ความรัก ความศรัทธา ความกล้า มาสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดเป็นศิลปะการแสดง นิทรรศการนี้เป็นกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างไทยและอินเดียในโอกาสการลงนามโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2570  และฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย ในปี 2565  โดยเปิดให้เข้าชมช่วงเทศกาลปีใหม่  ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

เรื่องราวกระตั้วแทงเสือรูปแบบใหม่ที่จะได้สัมผัสในนิทรรศการ เรียกได้ว่า มีความแปลกใหม่ ปรับเปลี่ยนเค้าโครง รวมถึงตัวละคร  โดยกล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย  คนบุกรุกทำลายป่า ทำให้สัตว์ป่า ไร้ที่พักพิง ทั้งยังส่งผลให้เกิดภัยพิบัติมากมาย  โดยตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเสือสามตัวสุดท้าย  ประกอบด้วยเสือโคร่ง เสือขาว และเสือดำ ถือเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าหนีหายไป

จากการละเล่นพื้นบ้านสู่ประติมากรรม”เสือเหลือง”  

หนทางแก้ คือ ตามหาเสือทั้งสามและพากลับคืนสู่ป่า และมนุษย์ควรอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล พรานบ้องตันและนางเมีย ภรรยาพรานป่า  ตัวละครที่เป็นเอกลักษณ์ของการละเล่นกระตั้วแทงเสือ รับภารกิจตามหาเสือทั้งหมด ที่หลบหนีเข้ามาอยู่ในเมือง และเผชิญกับสถานการณ์ร้ายๆ จากน้ำมือมนุษย์

เสือขาว ตัวละครที่สร้างขึ้นใหม่

เมื่อพรานและนางเมียตามเบาะแสแกะรอยจนพบ เสือทั้งสามที่มีภาพจำฝังใจที่ไม่ดีต่อมนุษย์ ก็ไม่ยอมฟังเหตุผลใด ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันดุเดือด ผลัดกันรุกรับ  ในท้ายภารกิจนี้ของพรานจะสำเร็จและป่าใหญ่จะกลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิมหรือไม่ ชวนมาร่วมหาคำตอบในนิทรรศการกระตั้วแทงเสือ

พรานบ้องตันแบบสตรีทอาร์ต

ชมแล้วนอกจากจะรู้จักการละเล่นไทยแขนงนี้มากขึ้น ยังได้รับความสุนทรีย์จากผลงานศิลป์ร่วมสมัยที่ต่อยอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้แข็งแรง มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น  ปฏิเสธไม่ได้ว่า โครงการนี้เป็นประโยขน์กับประเทศไทยและประเทศอินเดียอีกด้วย สนใจแวะเวียนไปชมนิทรรศการ”กระตั้วแทงเสือ” กันได้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 11 มกราคม 2566 เวลา 10.00 – 17.00 น.  ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ปิดทำการทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไฮไลต์ 3 วัน เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง 2024

เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง Phetchaburi Harmony Puppet Festival 2024 กลับมาอีกครั้ง ภายใต้การออกแบบเฟสติวัลที่เชื่อมโยง คำว่า “หนัง” ที่สื่อถึงตัวหนังที่แกะขึ้นเป็นภาพ ภาพบนตัวหนังที่เคลื่อนไหวใช้ชักเชิด ต่อมาวิวัฒนาการเป็นภาพยนตร์  มีการชมหนัง  ปีนี้

5 งานอาร์ตจัดเต็มที่หอศิลป์ร่วมสมัยฯ

ใครอยากเพลิดเพลินใจกับงานศิลปะที่คัดมาแล้วว่าสุดเจ๋ง!  ต้องแวะไปที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอาร์ตสเปซที่ตอบโจทย์ทั้งสายอาร์ตและมือสมัครเล่นหัดดูงานศิลปะใจกลางเกาะรัตน์โกสินทร์ ซึ่งเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ ชวนมาเสพอาร์ตยาวๆ

กราฟิกอัตลักษณ์'น่าน' เพิ่มเสน่ห์เที่ยวเมืองรอง

จ.น่าน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มอิทธิพลของลุ่มน้ำโขงและกลุ่มอิทธิพลล้านนา นครแห่งนี้สะสมบ่มเพาะปัญญาจากหลากทิศทางจนสามารถสร้างรูปแบบอัตลักษณ์อันเป็นฐานรากสำคัญนครน่านขึ้นมาได้ อัตลักษณ์น่านเติบโตโดยได้รับอิทธิพลสกุลช่าง

เปิดโลกศิลปะที่บ้านสวนสมพงษ์ Art Space

เข้าสู่ช่วงเดือนที่สามของ“Thailand Biennale Chiangrai 2023” ซึ่งประสบผลสำเร็จมีผู้คนสนใจเดินทางไปชมมหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติครั้งนี้อย่างคึกคัก ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญช่วยเปิดโลกศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้

'ศิลปะบนนาข้าว'ดังระดับโลก

1 ก.พ.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลัก “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ”พร้อมทั้งขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยการสำรวจรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภา

ผลงานศิลปะ 80 ปี กมล ทัศนาญชลี

ครบ 80 ปี ศิลปินแห่งชาติ กมล ทัศนาญชลี จัดใหญ่จัดเต็มขนผลงานศิลปะสุดล้ำค่ามาจัดแสดงให้คนรักงานศิลปะชื่นชมผ่านนิทรรศการ “ผลงานศิลปะ 80  ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ” ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน งานแสดงเดี่ยวครั้งนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 11 ก.พ.2567