ศน.เปิดเส้นทางตามรอย'พระเกจิ-พญานาค'

ศน.จัด’ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา’ หนุนวัด ศาสนสถาน สู่แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ชูพระบรมธาตุ-พระเกจิ-ความเชื่อพญานาค กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก

9 ก.พ.2566 – นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนา ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการส่งเสริมการเผยแพร่หลักธรรมทางศาสนาสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พัฒนาความรู้ คู่คุณธรรม รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาและศาสนิกชน ได้จัดทำ “โครงการจาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา” เพื่อส่งเสริมให้วัด ศาสนสถานเป็นแหล่งเรียนรู้คู่คุณธรรมที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพวัด ศาสนสถาน ให้พร้อมรับสำหรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบริบทความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้มารับบริการ 
นายชัยพล กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการศาสนาร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดและหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่จัดกิจกรรม “ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา” นำมิติทางศาสนา เช่น วัด พระบรมธาตุ พระพุทธรูปสำคัญ อริยสงฆ์ พระเถราจารย์ในจังหวัด และมิติทางวัฒนธรรม เช่น สถานที่ที่สะท้อนความศรัทธาและความเชื่อท้องถิ่น ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ท่องเที่ยวชุมชนดลวิถี แหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม (CPOT) ตลาดน้ำ ตลาดบก พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น มาดำเนินกิจกรรม “ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา” ดังนี้

1. เส้นทางสักการะพระบรมธาตุ จัดกิจกรรมในช่วงเดือนมีนาคม ณ พระธาตุผาเงา พระธาตุจอมกิตติ และพระธาตุดอยเวียงแก้ว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่นำร่อง เนื่องจากเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน และยังปรากฏร่องรอยโบราณวัตถุ โบราณสถานหลายแห่ง

2. เส้นทางตามรอยพระเถราจารย์ จัดกิจกรรมในช่วงเดือนมีนาคม ณ วัดธาตุน้อย บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พ่อท่านคล้าย วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดนำร่อง เนื่องจากชาวพุทธนิยมมาขอพรกับ “พระเกจิอาจารย์” หรือ “พระเถราจารย์” ที่เมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ได้สร้างคุณงามความดีและเรื่องราวปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นความเลื่อมใสศรัทธาจนสืบมาแก่คนรุ่นหลัง

3. เส้นทางความเชื่อความศรัทธาแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นทางในกลุ่มจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวในมิติทางศาสนาที่น่าสนใจ มีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อเกี่ยวกับนาค เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ประเภทสัตว์ในตำนาน ซึ่งเป็นการประกาศในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้งยังเป็นการนำ Soft Power ทางด้านศาสนา ตามนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจและนำรายได้เข้าประเทศ ประกอบด้วย จังหวัดหนองคาย : วัดพระธาตุบังพวน วัดถ้ำศรีมงคล วัดโพธิ์ชัย พระธาตุหล้าหนองเจดีย์สารพัดนึก วัดลำดวน จังหวัดมุกดาหาร : วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ วัดบรรพตคีรี วัดศรีมงคลใต้ จังหวัดบึงกาฬ : วัดโพธาราม วัดอาฮงศิลาวาส วัดถ้ำชัยมงคล จังหวัดนครพนม : วัดธาตุประสิทธิ์ วัดพระธาตุท่าอุเทน วัดมหาธาตุ และลานพญาศรีสัตตนาคราช 
” กิจกรรม “ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา” จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพของวัด ศาสนสถาน องค์กรและพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในมิติทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีคุณภาพ พร้อมรับการท่องเที่ยว สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่จากการเดินทางของนักท่องเที่ยว รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากจากสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ” อธิบดี ศน. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

วธ.ตั้งรองอธิบดีกรมศิลป์-กรมศาสนา 4 ตำแหน่ง

8 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ลงนามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 58/2567 เรื่อง ให้โอนข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ

ผู้แสวงบุญอินเดียเพิ่ม ขยายศูนย์ดูแลพุทธศาสนิกชน

ปี 2567 มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นคนเดินทางมาจาริกแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ณ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล นำมาสู่แผนการขยายศูนย์อำนวยความสะดวกดูแลผู้แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิให้มีเพิ่มมากขึ้น พระมหานิพนธ์ ญาณวีโร

สัมผัสสถานที่จริง'สังเวชนียสถาน' ต่อยอดงานศาสนา

พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปสัมผัสสถานที่จริงที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ 4 แห่ง สถานที่ประสูตร  สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ในประเทศอินเดียและเนปาลอีกครั้งจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

พลังศรัทธาชาวใต้ สักการะพระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากสาธารณรัฐอินเดียอัญเชิญประดิษฐานชั่วคราวภายในวิหารมณฑป ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล หรือที่ชาวกระบี่เรียกว่า “วัดบางโทง” ด้วยริ้วขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา