
28 ก.พ.2566- นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เสนอเรื่อง ผ้าขาวม้า : ผ้าอเนกประสงค์ในวิถีชีวิตไทย เพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ไปยังยูเนสโกภายในเดือนมีนาคม 2566 นี้ เป็นไปตามเอกสารแนวทางการอนุวัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Operational Directives for the implementation of the Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) หัวข้อที่ 1.15 กำหนดให้รัฐภาคียื่นเสนอรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ จำเป็นต้องดำเนินการภายในเดือนมีนาคมของทุกปี รวมไปถึง ครม.ได้เห็นชอบในเอกสารนำของผ้าขาวม้า และเห็นชอบให้อธิบดี สวธ. ในฐานุเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นผู้ลงนามในเอกสารนำเสนอรายการผ้าขาวม้า เพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อยูเนสโก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สืบเนื่องมาจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 2003) ของยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2565 ไทยได้เสนอมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติเพื่อขอขึ้นทะเบียนต่อยูเนสโก เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จำนวนทั้งสิ้น 5 รายการ คือ โขน (พ.ศ. 2561) นวดไทย (พ.ศ. 2562) โนรา (พ.ศ. 2564) สงกรานต์ในประเทศไทย (จะพิจารณาในปี 2566) และต้มยำกุ้ง (จะพิจารณาในปี 2568) โดยเบื้องต้น รายการ โขน นวดไทย และ โนรา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติของยูเนสโกแล้ว คาดว่ารายการสงกรานต์ในประเทศไทย จะได้รับการประกาศในปี 2566 ต้มยำกุ้ง คาดว่าจะได้รับการประกาศปี 2568 จากนั้นคาดว่าผ้าขาวม้า จะได้รับการพิจารณาและประกาศปี 2570
ทั้งนี้ ผ้าขาวม้า เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้ประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ทอโดยใช้เทคนิคที่เรียบง่าย มักทอเป็นลายตารางหรือลายแถบที่มีสีสัน มีการย้อมสีและสามารถทอใช้ได้เองในครัวเรือน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และคนหนุ่มสาว อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตได้อย่างหลากหลาย มีการใช้งานสารพัดประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวัน และในประเพณีพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของชีวิต ตลอดจนเป็นของกำนัล แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไทย มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สืบทอดมาอย่างยาวนานโดยส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในครอบครัว ในโรงเรียน ในศูนย์ทอผ้าของชุมชนในท้องถิ่นและมีการพัฒนาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผ้าขาวม้า มีความสอดคล้องกับลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ตามนิยามในอนุสัญญาฯ ใน 3 ลักษณะ กล่าวคือ 1) การปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมงานเทศกาล 2) ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และ 3) งานช่างฝีมือดั้งเดิม และสอดคล้องกับเกณฑ์ประเภทรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ของยูเนสโก

—
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เผาเทียนเล่นไฟสุโขทัย-พลุพัทยา' คว้าGold Prize เทศกาลกลางคืนที่มีศักยภาพ
8 มิ.ย.2566 - นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่รัฐบาล โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบายผลักดัน Soft Power ความเป็นไทยสู่ระดับโลก ล่าสุด เป็นที่น่ายินดีที่ งานเทศกาลประเพณีของประเทศไทย ได้แก่
เสนอพระนาม 'ในหลวง ร.9' ให้ยูเนสโกประกาศยกย่อง ฉลอง 100 ปี วันพระบรมราชสมภพ ในปี 2570
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ประชุม ครม.เห็นชอบหลักการเสนอพระนามพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
อาภรณ์จากผ้าไทยร่วมสมัย เฉลิมพระเกียรติ’พระราชินี’
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ รักษา และสืบทอดงานผ้าไทย งานหัตถศิลป์ไทย อันเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติ
นายกฯ ยินดี 'ผ้าขาวม้า' Soft Power ไทย ชาวต่างชาติให้ความสนใจ
นายกฯ ยินดี “ผ้าขาวม้า” Soft Power ไทย ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติในงาน World Dance Day 2023 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย พร้อมผลักดันการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติต่อองค์การยูเนสโก
'ภูเก็ต' เมืองสร้างสรรค์แห่งวิทยาการอาหาร
20 พ.ค.2566 - นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม และนายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนคร ร่วมเปิดงานเทศกาลอาหารอร่อยเมืองภูเก็ต เมืองสร้างสรรค์แห่งวิทยาการ