'โควิด' แนวโน้มลดลง เสียชีวิตส่วนใหญ่อายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มยังไม่ได้รับวัคซีน

26 มิ.ย.2566- นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ทั่วโลกรอบเดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตลดลง รวมทั้งพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนลดลงด้วย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่ม 608 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป และยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 จึงขอให้ประชาชนยังคงมาตรการป้องกันตนเองเมื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือมีกิจกรรมเสี่ยง เพราะอาจมีโอกาสได้รับเชื้อไม่รู้ตัวและนำไปแพร่ให้คนในบ้านได้ รวมทั้งสวมหน้ากากทุกครั้งเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และเด็กเล็ก ทั้งนี้ ขอให้บุตรหลานนำสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่ม 608 ไปฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี พร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ รวมถึงนำทั้งเด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 5 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปฉีดวัคซีนเพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่ยังคงเป็นสายพันธุ์โอมิครอนลูกผสม ซึ่งความสามารถในการแพร่ระบาดและความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น และยังสามารถตรวจหาเชื้อด้วย ATK และ RT-PCR ได้ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะติดตามเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วประเทศ ทั้งในชาวไทยและต่างชาติ เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องต่อไป ส่วนยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ยังมีเพียงพอกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคประเมินสถานการณ์ทางระบาดวิทยาในระยะต่อไป เพื่อเตรียมการสำรองยาและเวชภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 480 ราย ดับเพิ่ม 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 19 – 25 พ.ย. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 480 ราย

‘หมอธีระ’ ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบในไทย ปีนี้มากกว่าปี65 ถึง 30%

สถิติผู้ป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia) ของไทย จากมกราคม ถึงตุลาคม 2023 พบว่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบที่รายงานสู่ระบบรายงาน 506 ของกระทรวงสาธารณสุข

หมอธีระวัฒน์ ย้ำชัดไม่ร่วมมือวิจัยและตัดต่อพันธุกรรมเชื้อไวรัสในค้างคาว หลังพบมีความเสี่ยงสูง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว