
3 ก.ย.2566-ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการนิติเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และนายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย โพสต์ข้อความผ่านแฟนเพจ Smith Fa Srisont ระบุว่า มีประเด็นที่คนทั่วไปยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจหายาเสพติดในร่างกาย จึงขอสรุปสั้นๆ ดังนี้
1. ปกติเมื่อเสพสารเสพติดใดๆ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ เช่น กิน สูด สูบนั้น สารเสพติดจะเข้าสู่เส้นเลือด แล้วไปออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย รวมถึงหล่อเลี้ยงรากผมแล้วขึ้นมาตามเส้นผม ต่อมาร่างกายก็มีกระบวนการกำจัดออกจนหมด สุดท้ายจะถูกขับถ่ายออก โดยสารเสพติดส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ
2. สรุปคือ สารเสพติดจะอยู่ในเลือดได้สั้นกว่าอยู่ในปัสสาวะ
3. หากสงสัยว่าใครใช้สารเสพติด ปกติจึงตรวจจากปัสสาวะเป็นหลัก เพราะจะมีโอกาสตรวจเจอมากกว่า เช่น เราจะตรวจยาบ้าจะเจอในปัสสาวะได้เฉลี่ยนานสุดไม่เกินสามวัน แต่ในเลือดจะเฉลี่ยนานสุดไม่เกินหนึ่งถึงสองวัน
4. การตรวจเส้นผมก็เป็นอีกวิธี แต่ไม่นิยม เพราะมีขั้นตอนมากกว่า และเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า มักจะใช้กับกรณีต้องการติดตามผู้เคยเสพสารเสพติด ในไทยมีที่ตรวจได้ไม่กี่แห่ง เช่น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
5. การตรวจปัสสาวะแบบชุด kit ที่ทำกัน เป็นการตรวจคัดกรอง หากผลเป็นบวกต้องตรวจยืนยันต่อเสมอ เพราะอาจเป็นผลบวกลวง โดยใช้เครื่องมือตรวจตามห้องปฏิบัติการเช่น LC/MS
สุดท้ายไม่อยากให้เข้าใจว่า ควรตรวจเลือดแทนปัสสาวะในกรณีพิสูจน์ว่าคนใดใช้สารเสพติด เพราะเคยเจอพนักงานบริษัท ที่ถูกสุ่มตรวจโดยใช้ชุด kit แล้วผลเป็นบวก จนจะถูกไล่ออก แต่บริษัทบอกว่า ถ้าไม่อยากให้โดนไล่ออกให้มาตรวจเลือดยืนยัน แล้วมาพบแพทย์ขอตรวจเลือดอีกหนึ่งอาทิตย์ต่อมา คือจะบอกว่า นอกจากไม่ควรเอาเลือดมาใช้ตรวจแล้ว ผลการตรวจเลือดหรือปัสสาวะนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ในการตรวจหาสารเสพติด เพราะผ่านเป็นเวลานานแล้วจากการตรวจเจอเป็นบวกครั้งนั้น ร่างกายกำจัดออกไปหมดแล้ว ทางที่ดีควรเอาปัสสาวะที่ตรวจเจอเป็นบวกจากชุด kit มาตรวจยืนยันดีกว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยึดทรัพย์ 50 ล้าน ทลายเครือข่ายเจ้าหน้าที่รัฐค้ายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ
พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วย ผบ.ตร. รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ (ป.ป.ส.) พร้อมด้วย นายปฤณ เมฆานันท์ ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. พลเรือโท นเรศ วงศ์ตระกูล รองเสนาธิการทหารเรือ
'เศรษฐา' ชื่นมื่น ชาวบ้านแห่หอมแก้ม เชียร์หนักอยู่ยาว 12 ปี
นายกฯ ลงพื้นที่หนองบัวลำภู ติดตามแก้ปัญหายาเสพติด -บำบัดฟื้นฟู ย้ำชุมชนแข้งแข็ง นำผู้หลุดพ้นเสพยาคืนสู่สังคม คึกคักถูกหอมแก้มซ้าย-ขวา ปชช.เชียร์อยู่ยาว 12 ปี
หนุ่มคลั่งยาบ้า! ทุบหัวเด็กวัย 9 ขวบ อาการสาหัส
มีความคืบหน้ากรณีเกิดเหตุสลดจากปัญหายาเสพติด โดย นายทศพร โยลัย หรือ ปลิว อายุ 26 ปี ชาวบ้านหนองผักตบ ต.นาหัวบ่อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ทาสยาบ้า
1 ธ.ค.ดีเดย์บำบัดผู้เสพยา 'บิ๊กหลวง' ฮึ่ม ปิดช่องท่าอุเทนสกัดนำเข้าพื้นที่
1 ธ.ค. Quick win บำบัดผู้เสพ 30 จังหวัดนำร่องหวังลดผู้ป่วยจิตจากยาเสพติด ขณะที่ "บิ๊กหลวง" สั่งเข้มมาตรการพิเศษสกัดยาเสพติดเข้าอีสานตอนบน หลังพบ อ.ท่าอุเทน นครพนม เป็นพื้นที่ลักลอบนำเข้ายาเสพติดมากที่สุด
ซูเปอร์โพลเผยประชาชนเป็นห่วงภัยไซเบอร์มากกว่าปัญหายาเสพติด
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) และในบทบาทกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)