กังสดาล เสียงในพระราชพิธีจากอดีตถึงปัจจุบัน

เดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นช่วงเวลาพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ซึ่งพระกฐินหลวงเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้งพระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทนพระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ 18 พระอารามทั่วไทย

ปีนี้หมายกำหนดการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566 เหลืออีก 2 พระอาราม ได้แก่ วัดพระปฐมเจดีย์ราขวรมหาวิหาร จ.นครปฐม  วันที่ 24 พ.ย. และวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก  วันที่ 26 พ.ย 2566

ดนตรีในพระราชพิธี  เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์ที่ต้องรักษาและสืบทอดไว้ให้มั่น นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (อศน.) กล่าวว่า ในการพระราชพิธีจะมีการประโคมดนตรีปี่พาทย์ประกอบในงานพระราชพิธี ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา แต่เดิมเรียกว่า “เจ้าหน้าที่กองสังฆการี” มีหน้าที่ตีกังสดาล เพื่อให้สัญญาณ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของกรมการศาสนามีหน้าที่ปฏิบัติงานในการพระราชพิธี  ทำหน้าที่ดูแลพระสงฆ์ กังสดาล คือ เครื่องดนตรีประเภทหนึ่ง หล่อด้วยสัมฤทธิ์หรือทองเหลืองมีลักษณะหลายแบบ เช่น ทรงกลม ทรงพัดด้านล่างเป็นวงเดือน มีเสียงแหลมคล้ายเสียงของระฆัง สันนิฐานว่า มีมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานในหนังสือไตรภูมิพระร่วง

สำหรับการตีกังสดาลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์
หรือผู้แทนพระองค์มาถึงยังพระอุโบสถ เสียงแตรสังข์ ของแผนกพระราชพิธีดังขึ้น วงปี่พาทย์พระราชพิธีจะบรรเลงเพลงช้า จนกว่าองค์ประธานในพิธีส่งคืนเทียนชนวนให้แก่เจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาจะตีกังสดาลให้สัญญาณแก่วงปี่พาทย์ พระราชพิธีหยุดการบรรเลง และจะตีกังสดาลให้สัญญาณอีกครั้งเมื่อเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในพระอุโบสถ นิมนต์พระสงฆ์องค์ครองผ้าพระกฐินลงไปครองผ้า ณ เวลานั้นวงปี่พาทย์พระราชพิธี จะบรรเลงเพลงสาธุการ และตีกังสดาลให้สัญญาณหยุดอีกครั้ง เมื่อพระสงฆ์องค์ครองผ้าพระกฐินขึ้นนั่งยังอาสนะสงฆ์เรียบร้อยแล้ว องค์ประธานในพิธีจะทรงประเคนเครื่องบริวารกฐินตามลำดับของพระราชพิธี

อธิบดี ศน. กล่าวว่า ในสมัยก่อนปรากฏหลักฐานตามบทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์อัศนีย์ เปลี่ยนศรี อาจารย์ประจำ สาขาวิชาการละคร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องดนตรีในพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ ได้อธิบายว่า “ สุดท้ายเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ถวายผ้าพระกฐินและอัฐบริขารแก่พระภิกษุสงฆ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ถวายอดิเรกและถวายพรลา ครั้นจะเสด็จกลับ เจ้าหน้าที่ของสังฆการี จึงตีระฆังอีกครั้งหนึ่ง ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงกราวรำ” ตามบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่า ก่อนเสด็จกลับเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาจะตีกังสดาลให้สัญญาณอีกครั้งหนึ่ง วงปี่พาทย์พระราชพิธีจะบรรเลงเพลงกราวรำเป็นอันเสร็จสิ้นการพระราชพิธี

“  กรมการศาสนามีหน้าที่สนองงานใต้เบื้องยุคลบาทในฐานะเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ (สังฆการี) ในงานพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธีต่างๆ จะต้องปฏิบัติสมพระเกียรติและถูกต้องตามโบราณราชประเพณี ซึ่งพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ผู้ให้สัญญาณตีกังสดาล ถือเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อให้ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่สืบไป “ นายชัยพล กล่าว

กังสดาล เครื่องดนตรีโบราณ บ่งบอกถึงร่องรอยจากอดีตสู่ปัจจุบัน มีคุณค่าและความสำคัญเชนเดียวกับวงปี่พาทย์ซึ่งประโคมบทเพลงที่ไพเราะ มีความศักดิ์สิทธิ์ ขลัง และเสียงทรงพลังในพระราชพิธีเพื่อถวายแด่พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่   พระราชกรณียกิจเสร็จสิ้นสร้างความร่มเย็นเป็นสุขแก่พสกนิกรไทยใต้ร่มพระบารมี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

วธ.ตั้งรองอธิบดีกรมศิลป์-กรมศาสนา 4 ตำแหน่ง

8 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ลงนามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 58/2567 เรื่อง ให้โอนข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ

ผู้แสวงบุญอินเดียเพิ่ม ขยายศูนย์ดูแลพุทธศาสนิกชน

ปี 2567 มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นคนเดินทางมาจาริกแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ณ สังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย-เนปาล นำมาสู่แผนการขยายศูนย์อำนวยความสะดวกดูแลผู้แสวงบุญดินแดนพุทธภูมิให้มีเพิ่มมากขึ้น พระมหานิพนธ์ ญาณวีโร