รัฐบาลไทย จับมือGoogle ปั้นเศรษฐกิจ AI มูลค่า2.6 ล้านล้านบาท ในปี 2573

หลังจากการประชุมผู้นำ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับผู้นำธุรกิจชั้นแนวหน้าระดับโลกหลายองค์กรด้วยกัน รวมทั้ง Google ยักษ์ใหญ่ดิจิทัลด้านระบบ Search Engine ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีคนใช้งานมากที่สุดในโลก ได้นำมาซึ่งความร่วมมือของGoogle  ในการส่งเสริมศักยภาพไทยให้เศรษฐกิจ AI ของไทยมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น   โดยการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการร่างนโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policy)และ ความร่วมมือด้าน Generative AI (Gen AI) กับ 3 หน่วยงานภาครัฐ  

โดยทั้งรัฐบาลไทยและGoogle จะร่วมกันวางรากฐาน 4 เสาหลัก ที่จำเป็นต่อการส่งเสริมให้ไทยให้เติบโต ในเศรษฐกิจ AI  ได้แก่ การต่อยอดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล, การส่งเสริมการใช้เอไออย่างมีความรับผิดชอบและปลอดภัยเพื่อยกระดับการให้บริการของภาครัฐ, การวางหลักเกี่ยวกับนโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policy), และการทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงทักษะด้านดิจิทัลได้มากขึ้น

ในภาคปฎิบัติ  Google  ยังให้ความร่วมมือด้าน Generative AI กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงคมนาคม และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน) (Big Data Institute: BDI) โดยบุคลากรจากทั้ง 3 องค์กรนี้จะได้รับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติจากทีมวิศวกรของ Google Cloud เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างโดยใช้เทคโนโลยี Generative AI รวมไปถึงการใช้ Vertex AI เพื่อจัดทำโซลูชันของตัวเอง และด้วยแพลตฟอร์ม Vertex AI ของ Google Cloud องค์กรต่างๆ สามารถเลือกโมเดล AI พื้นฐานทั้งของ Google และแบบโอเพนซอร์สกว่า 100 โมเดล เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างโมเดลแบบกำหนดเองโดยใช้เครื่องมือและข้อมูลขององค์กรที่มีอยู่ และผนวกรวมโมเดลแบบกำหนดเองเหล่านี้เข้ากับบริการดิจิทัลขององค์กรเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น

แจ็คกี้ หวัง

แจ็คกี้ หวัง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า Google เล็งเห็นถึงโอกาสด้าน AI และมีควมมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ ที่จะสนับสนุนรัฐบาลไทย ในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจและประเทศเข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยในช่วง 12ปีที่ Google เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย เราดีใจอย่างมากที่ทราบว่า ธุรกิจต่างๆ ในไทยนำได้ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ทํางานด้วยระบบ AI ของ Google ไปใช้และทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1.5 แสนล้านบาท ในปี 2565 นอกจากนี้ ในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี  ได้ร้บประโยชน์ทางเศรษฐกิจถึง 7.4 หมื่นล้านบาท เกิดการจ้างงานในประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมกว่า 250,000 ตำแหน่ง  ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ถึงพลังของเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่เราภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในระยะยาว

เพื่อตอกย้ำกว่าเศรษฐกิจAI จะสามารถสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร  Karan Bajwa, Vice President, Asia Pacific, Google Cloud กล่าวว่า จากผลวิจัยของเราพบว่า หากภาคส่วนและองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยนำนวัตกรรม AI มาใช้งาน จะสามารถปลดล็อกผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างน้อย 2.6 ล้านล้านบาทภายในปี 2573 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมนั้นยังขาดความสามารถในการปรับขนาดและความยืดหยุ่นเพื่อรองรับความต้องการด้าน AI ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสามารถของเทคโนโลยี Cloud AI ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานระดับองค์กรโดยเฉพาะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม ดังนั้น เราจึงได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการร่างนโยบาย Go Cloud First เพื่อสร้างแนวทางที่ชัดเจนขึ้นสำหรับองค์กรต่างๆ ในการเข้าถึงความสามารถเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว

Karan Bajwa 

“ภายใต้ความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงคมนาคม และสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ เราจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปในการเตรียมความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการแก่ประชาชนในการสร้างและปรับใช้โซลูชัน Generative AI โดยใช้ความสามารถของ Cloud AI เรากำลังดำเนินการตามเสาหลักความร่วมมือทั้ง 4 ข้อ โดยเป้าหมายของเราคือการทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์ที่มีอยู่อย่างมากมายจากการใช้งาน Generative AI เพื่อช่วยพลิกโฉมเศรษฐกิจไทยและสร้างประโยชน์ในวงกว้างต่อคนไทยทุกคนได้อย่างรวดเร็ว” Karan กล่าว

ความร่วมมือในนโยบาย Cloud-First และการเร่งให้เกิดนวัตกรรม AI ในส่วนภาครัฐ  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า รัฐบาลมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมทำ งานอย่างใกล้ชิดกับ Google เพื่อช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังเทคโนโลยี สำคัญอย่างเช่น AI ในระบบคลาวด์ โดยความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐบาลที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งเพิ่มโอกาสสร้างงานที่มีมูลค่าสูงและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในจุดหมายหลัก สำหรับการลงทุนของนักลงทุนชั้นนำจากทั่วโลก และขอต้องขอบคุณกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการส่งเสริมและผลักดันความร่วมมือกับ Google ทั้งในเรื่องของ AI คลาวด์ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  รัฐบาลกำลังวางแนวทางกรอบการดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ โดยคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กมช. จะเป็นผู้ดำ เนินการในส่วนนี้

นายกรัฐมนตรี

“ประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก  ซึ่งในช่วง2 -3เดือนที่ผ่านมา ผมได้ออกไปเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งในการประชุมผู้นำ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC  ผมได้ประกาศแล้วประเทศไทย พร้อมกับการทำธุรกิจ และประเทศไทยกลับมาเป็นจุดมุ่งหมายการลงทุนของนักลงทุนชั้นนำอีกด้วย ยกระดับเศรษฐกิจไทยให้สู่เศรษฐกิจดิจิทัล นำเอไอ และคลาวด์ เข้ามาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการพี่น้องประชาชน นำเศรษฐกิจไปสู่มูลค่าที่สูงขึ้น ในกลยุทธิ์ที่ทำหลายมิติ และในการประชุมยูเอ็นเมื่อเดือนกันยายน ผมได้มีโอกาสพบกับผู้นำของกูเกิ้ล เพื่อหารือว่ารัฐบาลไทย กับกูเกิ้ล จะร่วมมือกันทำงานอย่างไร เพื่อยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยโดยรวม  หลังจากนั้นทั้่งทีมงานไทยและกูเกิ้ล ก็ได้ร่วมกันทำงานอย่างหนัก จนบรรลุไปสู่การทำเอ็มโอยู ระหว่างประเทศไทยกับกูเกิ้ล ตามนโยบาย Go Cloud First ที่เราได้ร่วมมือกับ Google ซึ่งเราตั้งเป้าที่จะนำนโยบายนี้ไปใช้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ “

นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า สำหรับนโยบาย Go Cloud First  จะทำให้เกิดการอนุญาตการไหลเวียนอย่างอิสระของข้อมูล พร้อมกับปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลผ่านคีย์การเข้ารหัส และการกำหนดประเภทของข้อมูลที่อาจจะต้องจ้ดเก็บไว้ในสภาพแวดล้อมของคลาวด์ ที่ตัดขาดการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์แบบ (Fully air-gapped) โดยครม. ได้อนุมัติข้อเสนอนี้แล้ว และนายกฯ ได้มอบให้กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นผู้เร่งดำเนินการตามนโยบายนี้ โดยจะประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567

ภายใต้แนวคิด ‘Leave No Thai Behind’ ทางGoogle  ได้ดำเนินการลดช่องว่างด้านทักษะดิจิทัล และถือว่ายัด้วยการมอบทุนการศึกษาเพิ่มเติม พร้อมด้วย 4 หลักสูตรใหม่ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกโอกาสทางดิจิทัลให้กับทุกคน  เนื่องจากรายงานผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจล่าสุด มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะต้องการแรงงานที่มีทักษะดิจิทัลระดับสูงและระดับกลางเพิ่มอีก 600,000 คนภายในปี 2570 เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล  ซึ่งหากไทยสามารถลดช่องว่างการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะทางดิจิทัล จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจไทยได้มากถึง 1 ล้านล้านบาทในปี 2573

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย Country Marketing Manager, Google ประเทศไทย กล่าวว่า กูเกิ้ลความมุ่งมั่นที่ต้องการช่วยให้คนไทยมีส่วนร่วมในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศมากยิ่งขึ้น เราจึงได้ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลฯ  และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มอบทุนการศึกษาสำหรับใบรับรองทักษะอาชีพเพิ่มเติมจำนวน 12,000 ทุน ภายใต้โครงการ Samart Skills   ซึ่งเมื่อเดือนตุลาคม 2565  หรือใน 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้ที่จบหลักสูตรในโครงการ Samart Skills ไปแล้วจำนวน 5,500 คน โดย 85% ของผู้จบหลักสูตรได้รับโอกาสที่ดี อาทิ ได้งานใหม่ เลื่อนตำแหน่ง และปรับเงินเดือนใหม่ภายใน 6 เดือนหลังสำเร็จหลักสูตร

“และเนื่องจากความต้องการด้านทักษะดิจิทัล ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Google จึงได้ประกาศมอบทุนการศึกษาสำหรับใบรับรองทักษะอาชีพที่ใช้หลักสูตร Google Career Certificates เพิ่มเติมจำนวน 12,000 ทุน ให้กับทางบีโอไอ และกระทรวงดิจิทัลฯ   ไปจนถึงสิ้นปี 2567 ซึ่งทำให้มียอดรวมทั้งสิ้น 34,000 ทุน โดย  Google ได้เพิ่มหลักสูตรสาขาอาชีพใหม่อีก 4 หลักสูตร เป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Analytics) ธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) และการสร้างระบบอัตโนมัติด้านไอทีด้วย Python (IT Automation with Python) ทำให้ตอนนี้มีหลักสูตรทั้งหมด 9 หลักสูตร  “ศารณีย์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยุ่งแน่! ‘เรืองไกร’ ร้อง ป.ป.ช. สอบ ครม.เห็นชอบดิจิทัลวอลเล็ต ฝ่าฝืนกม.หรือไม่

จากการติดตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่คณะรัฐมนตรีพึ่งมีมติให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 67 นั้น

ด่วน! ‘ปานปรีย์’ ยื่นไขก๊อก ’รมว.ต่างประเทศ’ หลังหลุดเก้าอี้รองนายกฯ

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.ต่างประเทศ ส่งถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องขอลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง

เศรษฐา โชว์ราคายางพาราใกล้แตะ 100 บาท ย้ำเกิดจากทำงานหนัก ไม่ใช่โชคช่วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X ว่าข่าวดีสำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เราจะได้เห็นภาพราคายางแตะกิโลละ 100บาท ในเร็วๆนี้แล้ว

'เศรษฐา1/1'เศรษฐกิจ-การเมืองนำ เว้นระยะ'ความมั่นคง-กองทัพ'

โฉมหน้า “คณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1/1” ที่ออกมา นอกจากจะเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตัวบุคคลของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว เป้าหมายที่ฉายภาพชัดต่อทิศทางการบริหารงานของรัฐบาล

'เศรษฐา' เฉ่ง 'อธิบดีกรมโรงงาน' ลงพื้นที่ช้า เรียกปลัด-รมว.อุตฯ คุยหลังไมค์เหตุไฟไหม้โกดังระยอง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ตรวจติดตามสถานการณ์การแก้ไขปัญหาเหตุเพลิงไหม้โรงงานเก็บกากสารเคมีอุตสาหกรรม บริษัท วินโพรเสส จำกัด ตำบลบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง โดยทันทีที่นายกฯมาถึง ได้รับฟังรายงานการดำเนินการในพื้นที่​

นายกฯ ชูเมืองจันทบุรี โมเดลพัฒนาผลไม้ไทย กำชับพาณิชย์ดูแลราคาไม่ให้ตก

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เดินทางถึงบริษัท ดรากอน เฟรช ฟรุท จำกัด ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อตรวจติดตามการคัดบรรจุทุเรียนคุณภาพและการแปรรูปทุเรียน