ย้อนเวลาสู่อยุธยา สวด'โอ้เอ้วิหารราย'

การสวดโอ้เอ้วิหารราย เป็นบทสวดที่ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการอ่านกาพย์พระไชยสุริยาที่นำมาจากหนังสือมูลบทบรรพกิจ เป็นตำราเรียนขั้นปฐมภูมิของเด็กสมัยโบราณ ช่วยในการอ่านออกเสียงและผันวรรณยุกต์  เมื่อมีการขยายโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายให้กับครูและนักเรียนในส่วนภูมิภาคขึ้นเป็นครั้งแรก กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม  คัดเลือก จ.พระนครศรีอยุธยา ให้เป็นตัวแทนภาคกลาง จัดอบรมวัยทีนเมืองเก่าสวดโอเอ้วิหารราย   ระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ณ วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ตลอด 2 วัน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมศิลปากรและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญการสวดโอ้เอ้วิหารรายมาบรรยายให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่น้องๆ ผู้เข้ารับการอบรมอย่างใกล้ชิด

นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า กรมการศาสนา ให้ความสำคัญการสวดโอ้เอ้วิหารราย จัดโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายให้กับครูและนักเรียน ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีสถานศึกษาจำนวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรมการศาสนาได้จัดโครงการอบรมฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายให้แก่เยาวชนในส่วนภูมิภาค มีการจัดทำหลักสูตรและเตรียมความพร้อมให้กับครูผู้ฝึกสอนและนักเรียน รวมทั้งผลิตเอกสารและสื่อสำหรับใช้ในการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารราย  ซึ่งกำหนดจัด 3 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 150 คน  ครั้งที่ 1 ภาคกลาง จัดอบรมที่วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 17 – 18 ม.ค. ณ วัดกลาง จ.บุรีรัมย์ ครั้งที่ 3 ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 24 – 25 ม.ค. ณ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช การอบรมทุกครั้งยังสามารถเข้ารับการอบรมผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ZOOM) ได้  500 คน เพื่อให้ครูอาจารย์ นักเรียนและนักศึกษา ในจังหวัดใกล้เคียงได้ฝึกซ้อมไปพร้อมกันทั่วประเทศอีกด้วย

“ การอบรมสวดโอเอ้วิหารรายที่อยุธยา นอกจากครูและนักเรียนแล้ว ยังเชิญวัดสำคัญในอยุธยาเข้าร่วมโครงการ  เป็นวัดเก่าแก่เคยสวดโอเอ้วิหารรายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น วัดมงคลบพิตรฯ วัดมหาธาตุ วัดมเหยงคณ์ เหมือนได้ย้อนเวลาสู่ยุคอยุธยา   เป็นการขยายโอกาสและเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย  ทั้งยังเพิ่มทักษะความรู้ความสามารถของผู้สนใจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยฝึกหัดและปรับพื้นฐานให้เยาวชนสามารถสวดโอ้เอ้วิหารรายได้ถูกต้องตามแบบและอักขรวิธี สวดโอ้เอ้วิหารรายมีทั้งทำนองกาพย์ยานี 11 ทำนองกาพย์ฉบัง 16 ทำนองกาพย์สุรางคนางค์ 28  เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการสวดโอ้เอ้วิหารรายที่ถูกต้องตามโบราณราชประเพณีให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย  สืบไป “ นายชัยพล กล่าว

สำหรับโครงการฝึกหัดสวดโอ้เอ้วิหารรายเป็นแบบอย่างการทำงานแบบบูรณาการและประสานระหว่างกรมการศาสนากับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา อาทิ สำนักพระราชวัง กรมศิลปากร วิทยาลัยนาฏศิลป กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  เพื่อฝึกหัดและจัดหานักเรียนเข้าไปร่วมสวดโอ้เอ้วิหารราย ณ ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของทุกๆ ปี  โดยการสวดโอ้เอ้วิหารราย เป็นการสวดเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ช่วงเข้าพรรษา กลางพรรษา และออกพรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระราชินี จะเสด็จฯ ไปประกอบพิธีทางศาสนา ถือเป็นธรรมเนียมวัฒนธรรมไทยที่มีมายาวนาน

สำหรับสถานศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่ผ่านการอบรมฯ สามารถเข้าร่วมการประกวดสวดโอ้เอ้วิหารราย ระหว่างวันที่ 1 – 15 ก.พ. 2567 และจัดประกวดรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ ระหว่างวันที่ 16 – 17 มี.ค.2567 ณ อาคารหอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อคัดเลือกสถานศึกษาเข้ารับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (2)

มาจาริกแสวงบุญตามเส้นทางพุทธภูมิพาเดินทางข้ามด่านชายแดนเนปาล เพื่อไปบ้านเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เมืองลุมพินี เรามีเวลาอยู่ที่อุทยานลุมพินีวันสถาน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าหลายชั่วโมง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

วธ.ตั้งรองอธิบดีกรมศิลป์-กรมศาสนา 4 ตำแหน่ง

8 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ลงนามคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 58/2567 เรื่อง ให้โอนข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน 1 ราย ได้แก่ นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์

ตามรอยสังเวชนียสถาน แดนพุทธภูมิอันศักดิ์สิทธิ์

เดินทางข้ามพรมแดนไปลุมพินี 1 ใน 4 สังเวชนียสถานที่เนปาล   พระภิกษุและผู้แสวงบุญเข้าสักการะภายในวิหารมายาเทวึ สถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ  รอยพระบาทแรกของพระพุทธเจ้าประทับ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาตรัสรู้เป็นพระศาสดาของศาสนาพุทธ