ย้อนรอย7ปีสตาร์ทอัพไทย ส่องอนาคตแววรุ่งปี67

ประเทศไทยมีความเคลื่อนไหวในธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างชัดเจน ตั้งแต่ช่วงปี 2559 จนถึงปี 2567  บางรายประสบความสำเร็จระดับการเกิดยูนิคอร์น การเกิดธุรกิจสร้างสรรค์ใหม่ และส่งเสริมภาพลักษณ์การลงทุนดึงดูดทั้งนักลงทุนไทยและนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าร่วมทำธุรกิจมากขึ้น  และธุรกิจสตาร์ทอัพ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ให้การส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพตั้งแต่แรกเริ่ม

ย้อนรอยเส้นทางสตาร์ทอัพ จากเมื่อปี 2559   ที่ระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยเริ่มก่อตัวขึ้น จากการมีจำนวนสตาร์ทอัพเพียงไม่กี่ราย และมีหน่วยงานให้การสนับสนุนด้านการลงทุนเฉพาะกลุ่ม จำกัดแค่บางอุตสาหกรรมเท่านั้น  โดยสตาร์ทอัพเริ่มมีกระแสในช่วงปี 2560  โดยกรุงเทพฯ ถูกจัดให้เป็นเมืองสตาร์ทอัพที่ดีที่สุด ต่อมาปี 2561 มีจำนวนสตาร์ทอัพเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1,500 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Fintech และ Lifestyle เป็นหลัก ปี 2562  ธุรกิจ Pomelo ได้รับการลงทุน Series C ด้วยมูลค่า 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจุดประกายและช่วยยืนยันว่าสตาร์ทอัพไทยมีความพร้อมที่จะเติบโตไปได้อีกขั้น

ขณะที่ปี 2563 การระบาดของโควิด – 19 เป็นตัวแปรให้ Tech Startup เติบโตในหลายสาย ไม่ว่าจะเป็นภาคการขนส่ง เดลิเวอรี่ การแพทย์ อีคอมเมิร์ซ เกษตร ถัดมาปี 2564  ไทยมียูนิคอร์นที่เกิดขึ้นถึง 2 ราย คือ Flash Express และ Ascend Money ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนในตลาดถึง 310.58 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2565  เริ่มมีการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีเชิงลึกมากขึ้น ภาครัฐออกหลักเกณฑ์และกฎหมายอำนวยความสะดวกให้การประกอบธุรกิจของสตาร์ทอัพมีมากขึ้น ภาคการศึกษามีโครงการบ่มเพาะและการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ รวมถึงกรุงเทพฯ ยังเป็นพื้นที่ดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาจัดตั้งธุรกิจ จนมี Digital Nomad สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ส่งผลให้ตลาดสตาร์ทอัพไทยคึกคักอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยขยายใหญ่ขึ้นและมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในปี 2566 ถือเป็นปีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยสามารถคว้าอันดับที่ 52 ของโลกในการจัดอันดับ Global Startup Ecosystem Index โดย Startupblink ซึ่งมี 3 ประเด็นที่โดดเด่น ได้แก่

ระบบนิเวศสตาร์ทอัพ

ประเด็นแรกการเพิ่มจำนวนของ University Holding Company หรือหน่วยธุรกิจที่เกิดขึ้นจากสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาคการศึกษาของไทย มีการขานรับในการส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อต่อยอดนำผลงานออกไปจัดตั้งบริษัท   เช่น มีการเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรม การเร่งสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมที่มีรายได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทให้ได้จำนวน 1,000 บริษัท และการสร้าง 5 บริษัทผู้ประกอบการไทยที่จะมีขีดความสามารถในการแข่งขันไปถึงระดับโลก นอกจากนี้ยังเห็นการเพิ่มหลักสูตรบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการขึ้นมาตั้งแต่ในรั้วมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นขยายการเติบโตไปสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงยังมีคอร์สพิเศษสำหรับผู้สนใจแสวงหาความรู้  

ประเด็นต่อมาคือการเปลี่ยนแปลงสตาร์ทอัพในรูปแบบธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกหรือ “DeepTech” ซึ่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 65 บริษัทภายในเวลา 3 ปี และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการส่งเสริมและเป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศทั้งหมดรวมถึง ความร่วมมือในการจัดผังกลุ่มเครือข่าย (Mapping) ที่ชัดเจน เพื่อเป็นภาพรวมให้นักลงทุนเห็นโอกาสการเข้ามาสนับสนุนอีกด้วย

และประเด็นสุดท้าย คือการขยายขนาด ปรับความคิดเพื่อแสวงหาโอกาสจากตลาดต่างประเทศ โดยตอนนี้ สตาร์ทอัพไทยสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐได้ลงทุนไว้ ไม่ว่าจะเป็น Co-Working Space หรือเครื่องมือสำหรับทำงานวิจัยในมหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายและมาตรการภาครัฐเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพ NIA ได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (พรบ. สตาร์ทอัพ) ตั้งแต่ปี2559 ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อเสนอร่าง พรบ. เข้าสู่สภาฯ ต่อไป



ที่มาของ “พ.ร.บ. สตาร์ทอัพ” เกิดจากมุมมองว่าแม้ปัจจุบันธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่กฎหมายที่ใช้อยู่ยังมีข้อจำกัดบางประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโต  ทำให้สตาร์ทอัพไทยหลายแห่งเลือกจัดตั้งธุรกิจจากต่างประเทศ ที่มีกฎหมายเอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากกว่า และมีกฎหมายเฉพาะสำหรับสตาร์ทอัพ

ขณะนี้  ร่างพ.ร.บ. สตาร์ทอัพ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สาระสำคัญตามที่ NAI เสนออยู่ภายใต้หลักการสำคัญ 3 ข้อ คือ 1) เน้นการปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจและการระดมทุนก่อน แล้วจึงขยายสู่การปรับปรุงกฎหมายในประเด็นที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพต่อไป 2) ร่างกฎหมายที่จะเสนอจะต้องไม่สร้างคณะกรรมการหรือหน่วยงานขึ้นใหม่ จึงได้กำหนดให้ NIA เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลสตาร์ทอัพตั้งแต่ต้น และกำหนดกลไกให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมกันส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ และ 3) กำหนดลักษณะหรือนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายให้กว้างขวาง และอาจนำระบบการขึ้นทะเบียนอย่างง่ายหรือการให้ธุรกิจสตาร์ทอัพรับรองตนเองที่มีการใช้ในต่างประเทศมาปรับใช้เพื่อลดภาระในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือการขอรับการส่งเสริมของผู้ประกอบการ

ในปี 2567 NIA มองเทรนด์สตาร์ทอัพไทยทีจะรุ่ง ได้แก่ Climate Tech – เทคโนโลยีเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เพื่อรองรับเป้าหมายประเทศไทยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 40 ภายในปี 2573  ซึ่งจุดความตื่นตัวหาเทคโนโลยีมาช่วย เช่น การมองหาพลังงานทางเลือกที่สะอาดและหมุนเวียนได้ ควบคู่กับความก้าวหน้าในการกักเก็บพลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยีดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน   ซึ่งจะมีทั้งผู้เล่นรายใหม่อย่างสตาร์ทอัพ และผู้เล่นรายใหญ่ เข้ามาวงจรธุรกิจนี้

ต่อมาคือ EV Tech – เทคโนโลยีเพื่อตอบกระแสยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยมีเป้าหมายผลิตยานยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านโครงสร้างพื้นฐานในการอัดประจุไฟฟ้าของแบตเตอร์รี่ และแพลตฟอร์มใช้บริการร่วมกัน ที่ใช้ร่วมกันได้อย่างสะดวก  จะทำให้ธุรกิจรถอีวีเติบโตได้อีกมาก

กรุงเทพเมืองสตาร์ทอัพ ติดอันดับโลก

สุดท้ายคือ Creative Tech – เทคโนโลยีสร้างสรรค์ กำลังเข้ามาเปลี่ยนโฉมภูมิทัศน์ด้านศิลปะ วัฒนธรรม การออกแบบ และความบันเทิงในสังคมไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  ปัจจุบันมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่หลากหลาย เช่น เทคโนโลยีความเป็นจริงต่อขยาย (XR) ระบบชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มออนไลน์ การบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้เข้ามามีบทบาทกับกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์  มีผลทั้งด้านการท่องเที่ยว สื่อดิจิทัล ภาพยนตร์ แฟชั่น เกมและแอนิเมชั่น ซึ่งประเทศไทยมุ่งผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเชื่อมโยงความเป็นไทยสู่สากลและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” เผยศักยภาพไทยพร้อมก้าวสู่การเป็น “ศูนย์กลางด้านอาหารแห่งอนาคตของภูมิภาค” พร้อมร่วมยินดีเอกชนสัญชาติไทยนำ วทน. ขับเคลื่อนธุรกิจสู่เวทีโลก

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์วูล์ฟเฟีย ซึ่งจัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด

NIA แถลงความสำเร็จงาน SITE2023 ยกระดับความร่วมมือทางนวัตกรรม

เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า NIA จัดงานสตาร์ทอัพและอินโนเวชั่นไทยแลนด์เอ็กซ์โป 2023

NIA ผนึก 4 ภาคส่วน จัดงาน "SITE 2023" ขับเคลื่อนไทยสู่ชาตินวัตกรรมนัดรวมพลเหล่านักรบเศรษฐกิจใหม่ กลับมาเจอกันอีกครั้ง 22-24 มิ.ย.นี้!!

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาขน) หรือ NIA แถลงข่าวการจัดงาน “สตาร์ทอัพและอินโนเวชันไทยแลนด์ เอ็กซ์โป 2023” (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO 2023: SITE 2023)

สนช.จัดงานแสดงนิทรรศการผลงานนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ อวดโฉมผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชายแดนใต้ พร้อมเปิดตลาดนัดนวัตกรรม

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานแสดงนิทรรศการผลงานนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ผ่านการอวดโฉมกว่า 20 ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ภาคใต้ชายแดน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Southern Blooming”