'วัฏจักรน้ำในป่า'ศึกษาให้รอด'Climate Change'

ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ กับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะป่า ที่เป็นตัวดูดซับคาร์บอนด์ไดออกไซด์ และเก็บความชุ่มชื้นให้กับโลก ทุกวันนี้ ก็หนีไม่พ้นผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน  ป่าไม้หลายแห่งในโลกได้เกิด”ปรากฏการณ์ตายหมู่”ขึ้นอันเนื่องมาจากสภาวะแล้งที่รุนแรง และมีหลักฐานแสดงปรากฏการณ์ดังกล่าวในป่าเกือบทั่วโลก

รศ. ดร.พันธนา ตอเงิน  อาจารย์จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษา“ผลกระทบของความแปรปรวนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อวัฏจักรน้ำในระบบนิเวศป่า” กล่าวว่า ป่าไม้ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะแห้งแล้ง ซึ่งในต่างประเทศ มีการเฝ้าระวังปัญหาด้วยการเก็บข้อมูลจากป่าอย่างเป็นระบบ แต่ในประเทศไทยยังขาดการเก็บข้อมูลในส่วนนี้  ซึ่งในต่างประเทศมีการศึกษาเรื่องนี้กันมาก ทั้งในป่าอบอุ่นและป่าหนาว แต่ยังไม่มีการศึกษาป่าเขตร้อน รวมทั้ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  งานวิจัยขิ้นนี้ จึงมุ่งประเมินและวิเคราะห์อัตราการใช้น้ำของป่าไม้  ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งป่าสมบูรณ์และป่ารุ่นสอง เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และความสามารถในการทนแล้งของพันธุ์ไม้ในป่า

“เทรนด์ของClimate change ก็คือ ความแห้งแล้ง  ป่าอะเมซอน ที่เป็นปอดของโลก เกิดไฟไหม้ป่า ต้นไม้ตายไปมาก  เกิดการเปลี่ยนจาก Carbon sink มาเป็น Carbon source   ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ตกใจมาก และต้องหันมาศึกษาดูป่าว่า มีต้นไม้อะไรบ้างที่ทนแล้งได้ “รศ.ดร.พันธนา กล่าว

อาจารย์พันธนา กล่าวอีกว่าได้โดยเลือกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน (ASEANHeritage Park) และมรดกโลกทางธรรมชาติ (World Heritage Site)  เป็นพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูล   โดยงานวิจัยที่ศึกษานี้นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรกในประเทศไทย มีการติดตั้งเสาและอุปกรณ์ตรวจวัดอย่างต่อเนื่องในป่า เมื่อปลายปี2563 เสานี้สามารถเก็บข้อมูลติดตามสถานะและการเปลี่ยนแปลงของอัตราการใช้น้ำของป่าได้เป็นเวลานาน โดยเลือกศึกษาวิจัยพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ซึ่งได้รับคำแนะนำจากนักวิจัยสวทช.ว่าควรศึกษาพื้นที่นี้ และยังได้รับความอำนวยสะดวกจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อีกด้วย

ส่วนตัวเสามีการติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นหัววัดอัตราการไหลของน้ำในต้นไม้ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง โดยติดหัววัดไว้ที่ลำต้นของต้นไม้เพื่อศึกษาอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ความเข้มแสงอาทิตย์ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในดินซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศรวมถึงลักษณะโครงสร้างของป่าไม้ เช่น พื้นที่ใบไม้ในป่าหรือความหนาแน่นของต้นไม้ เป็นต้นและใช้ข้อมูลนี้เพื่อคำนวณปริมาณการใช้น้ำของป่าดังกล่าวเพื่อเก็บข้อมูลการใช้น้ำของป่าอย่างต่อเนื่อง

“เราติดตั้งเสาอุปกรณ์วัดไว้ 2 จุด ซึ่งในอุทยานเขาใหญ่มีป่า 2 รุ่น คือ ป่าแก่ กับ ป่าเด็ก ป่าแก่เป็นป่าที่มีต้นไม้อายุ 200 ปี เป็นป่าดั้งเดิมไม่ถูกบุกรุกทำลาย  ส่วนป่าเด็กเป็นพื้นที่ เคยถูกบุกรุก ทำเกษตรมาก่อน แต่ป่าฟื้นสภาพตัวเองแล้ว มีต้นไม้อายุ 5-10 ปี “

รศ.ดร.พันธนา กล่าวอีกว่า  การเก็บข้อมูลเน้นเก็บข้อมูลอัตราการไหลของน้ำในต้นไม้และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินอัตราการใช้น้ำของป่าและความสามารถในการทนแล้งของพันธุ์ไม้ในป่า  วัฏจักรน้ำในป่าประกอบด้วยน้ำฝนที่ตกลงสู่ผืนป่าโดยน้ำฝนบางส่วน  จะถูกดูดซับหรือใช้โดยต้นไม้ในป่าและคายน้ำกลับสู่ชั้นบรรยากาศในรูปแบบของไอน้ำ  ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิทำให้เกิดความร่มเย็นส่วนน้ำฝนที่เหลือจะไหลออกจากป่าลงสู่แม่น้ำหรือชุมชนรอบป่า

ผลการศึกษาพบว่า ป่าแก่ กับ ป่าเด็ก มีความแตกต่างกัน ป่าอายุน้อย จะดูดน้ำและแร่ธาตุสารอาหารมาใช้เร็วกว่าป่าแก่ รวมทั้งมีอัตราการคายน้ำมากกว่าป่าแก่ ส่วนป่าแก่มีการดูดซึมสารอาหารช้ากว่า และลักษณะการคายน้ำต่้ำกว่าป่าเด็ก อย่างไรก็ตาม ป่าทั้งสองแห่งล้วนมีคุณค่าไม่แตกต่างกัน แม้ว่าป่าแก่จะมีการคายน้ำน้อยกว่า ป่าเด้ก แต่ก็มีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่า สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ค่อนข้างดียาวนานกว่า 


 รศ.ดร.พันธนา บอกอีกว่า หากเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี ก็จะสามารถนําไปวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ นับเป็นข้อมูลสําคัญที่เกิดจากการตรวจวัดในพื้นที่จริงที่ยังไม่ปรากฏในป่าเขตร้อน  และยังเป็นประโยชน์เชิงนโยบาย ช่วยในการวางแผนและบริหารจัดการการใช้น้ำของชุมชนที่จะแม่นยํามากขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์ความทนแล้งของชนิดพันธุ์ต้นไม้ในป่าเหล่านี้ ยังจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการคัดเลือกพันธุ์ต้นไม้ที่สามารถทนแล้งได้มาปลูกทดแทน นับเป็นฐานข้อมูลสําคัญสําหรับโครงการฟื้นฟูป่าในพื้นที่ใกล้เคียง นําไปสู่ผลประโยชน์ทั้งด้านวิชาการและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย เนื่องจากข้อมูลในป่าเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นปริศนาในการศึกษาด้านป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก”

“อยากให้มีการศึกษาเรื่องนี้ระยะยาว   30 ปี ซึ่งจะสอดคล้องกับการศึกษาติดตามเรื่อง Climate change ที่ระดับโลกเขาศึกษากันหลายแง่มุม หลาย topics มากมาย  และในเรื่องที่มีผลต่อน้ำ มีการศึกษาที่เรียกว่า Climatic Water Stress หรือความเครียดของน้ำ ที่เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ มีการศึกษาในป่าอบอุ่น และป่าหนาว ส่วนในป่าเขตร้อนยังไม่มีการศึกษา ส่วนการศึกษาที่เราทำมาเกือบ 2ปี คิดว่ายังเป็นข้อมูลเบื้องต้น แต่ถ้าศึกษาระยะยาว ก็จะเป็น โมเดลแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการศึกษาเรื่องนี้   “

นักวิจัยฯยังบอกอีกว่าในอนาคต อยากให้มีการขยายผลวิจัยเรื่องวัฏจักรน้ำ ในป่าอื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูล แต่การศึกษาต้องอาศัยทุนวิจัยพอสมควร โดยเฉพาะการติดตั้งเสาตรวจวัด เก็บข้อมูล ก็มีต้นทุนพอสมควร  แต่เชื่อว่าข้อมูลที่ได้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการบรรเทาภัยพิบัติ ทั้งคลื่นความร้อน ไฟป่า ภัยแล้ง และอุทกภัย


สำหรับ รศ.ดร.พันธนา ตอเงิน ได้รับยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 นักวิจัยสตรีที่ได้รับทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ (For Women in Science) ประจำปี 2564 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยอันโดดเด่นและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่า 20 ชิ้น  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตราดแล้งหนัก พื้นที่ปลูกทุเรียน-มังคุด อ.เขาสมิง ขาดน้ำช่วงใกล้เก็บผลผลิต

สถานการณ์การขาดแคลนน้ำทั้งในคลองสาธารณะและอ่างน้ำส่วนตัวของเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในอำเภอเขาสมิง จ.ตราด กำลังได้รับความเสียหายแล้ว เกษตรกรตื่นตัวหาน้ำสำรอง

ไม่รักโลกตอนนี้ก็ไม่มีเวลาเหลือให้รัก! ‘ดร.ธรณ์’  เตือนอากาศร้อน 43 องศา ทะเลเกิน 32 องศา

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

‘ดร.ธรณ์’ น้ำตาซึม โลกร้อน ไข่เต่ามะเฟือง 120 ฟอง ไม่มีลูกเกิดแม้แต่ตัวเดียว

ไม่ว่าเราทุ่มเทขนาดไหน มีบางครั้งที่โลกไม่เป็นอย่างที่เราคาดหวัง ไข่เต่ามะเฟืองของแม่ 14 กุมภา 120+ ฟอง ไม่ได้รับการผสมทั้งหมด ไม่มีลูกเต่าเกิดแม้แต่ตัวเดียว

ผู้เชี่ยวชาญ ย้ำคนไทย ต้องเจออากาศร้อนแบบสุดๆๆ ในเดือนเม.ย.นี้

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญ IPCC และประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #ร้อนจะตายอยู่แล้วจะร้อนไปถึงไหนและมนุษย์พันธุ์ใหม่จะปรับตัวอย่างไร ? ว่า ร้อนยังไม่จบสิ้น เอาระยะสั้นๆ