
ดัชนีคอร์รัปชันไทยปี 65 กระเตื้อง ได้ 36 คะแนน รั้งอันดับ 101 ของโลก แก้ปม “รับ-ให้สินบน” ดีขึ้น ป.ป.ช.สั่งไต่สวนปม "อธิบดีกรมอุทยานฯ" เรียกเงินโยกย้ายตำแหน่ง เชื่อรวบรวมพยานหลักฐานง่าย สาวถึงใครรู้ตัวหมดแล้ว
เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยถึงกรณีองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2565 โดยไทยได้ 36 คะแนน อยู่อันดับ 101 จาก 180 ประเทศทั่วโลก และอยู่อันดับที่ 4 ของกลุ่มประเทศอาเซียนว่า ผลคะแนน CPI 2022 ของไทยได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากปี 2021 โดยในจำนวน 9 แหล่งข้อมูลได้คะแนนเพิ่ม 2 แหล่ง คงที่ 5 แหล่ง และลดลงไป 2 แหล่ง
โดยค่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นคือ IMD WORLD การติดสินบนและการทุจริตมีอยู่หรือไม่ มากน้อยเพียงใด 43 คะแนน จากปีที่แล้วได้ 39 คะแนน แสดงว่าปัญหาการติดสินบนและการทุจริตได้ดีขึ้น อาจมีข่าวเรียกรับเงินสินบน แต่ภาพรวมของนักธุรกิจและนักลงทุนมองว่าเรามีระบบที่มีการป้องกันและเอาจริงเอาจังกับการรับเงินสินบนเพิ่มมากขึ้น และ WEF ภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่างๆ มากน้อยเพียงใด ได้ 45 คะแนน จากปีที่แล้วได้ 42 คะแนน ชี้ให้เห็นว่าเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่างๆ ลดน้อยลงไป ไทยมีระบบป้องกัน หรือนำระบบต่างๆ มาใช้ป้องกันการเรียกรับสินบน
ส่วนแหล่งข้อมูลที่คะแนนที่ตกลงจากปีที่แล้ว มาจาก PERC ระดับการรับรู้ว่าการทุจริตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากน้อยเพียงใด ได้ 35 คะแนน น้อยกว่าปีที่แล้วที่ได้ 36 คะแนน และ WJP เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบมากน้อยเพียงใด ได้ 34 คะแนน น้อยกว่าปีที่แล้วที่ได้ 35 คะแนน
นายนิวัติไชยกล่าวว่า จากค่าคะแนนต่างๆ เข้าสู่บทวิเคราะห์ในมุมมองของผู้ประเมิน โดย TI มีข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆ ว่า นานาประเทศควรให้ความสำคัญการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจบริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางสังคม ให้คนเข้าถึงข้อมูล การจำกัดการใช้อิทธิพลทางการเมือง เสริมสร้างความเข้มแข็งป้องกันการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยประเทศที่มีคะแนน CPI สูง ควรให้ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เรื่องสินบนข้ามชาติและติดตามทรัพย์สินคืน
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช.เห็นว่า บทบาทภารกิจหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ส่งผลกระทบต่อคะแนน CPI โดยตรง เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาตรวจสอบทรัพย์สิน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนผ่านเครือข่ายต่างๆ การจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ดังนั้นในภาพรวมดีขึ้น แม้จะมีการเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1 คะแนน
เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงผลคะแนน CPI ในกลุ่มประเทศอาเซียนว่า สิงคโปร์แม้ได้อันดับ 1 ในอาเซียน แต่คะแนนลดน้อยลงกว่าปีที่แล้ว 2 คะแนน ส่วนมาเลเซียอันดับที่ 2 คะแนนก็ลดเช่นกัน แต่มองภาพเวียดนาม ปี 2564 ได้ 39 คะแนน ขณะที่ปี 2565 ได้ 42 คะแนน ถือว่าสูงมาก ส่วนไทยได้เพิ่ม 1 คะแนน เป็น 36 คะแนน
สำหรับบทวิเคราะห์ที่ส่งผลถึงคะแนน CPI สำคัญคือ รัฐแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการติดสินบน และลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง มีการพัฒนาระบบอนุมัติ ความโปร่งใส ลดขั้นตอนปฏิบัติงาน ลดการใช้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ และการประเมิน ITA มีส่วนส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีมาใช้อนุมัติตามนโยบาย Digital Government อำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนจากหน่วยงานรัฐ และการเปิดเผยข้อมูลลงระบบดิจิทัล ทำให้ประชาชนตื่นตัว จับตาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ จึงเกิดการมีส่วนร่วมตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐ ส่งผลต่อมุมมองผู้ตอบแบบสอบถาม ทำให้ไทยแก้ปัญหาสินบนได้ดีขึ้น
นายนิวัติไชยยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีนายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรณีเรียกรับสินบนโยกย้ายตำแหน่งเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัด ภายหลังกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก. ปปป.) ส่งสำนวนมาที่ ป.ป.ช.แล้วนั้น ว่า มีการนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา และมีมติสั่งไต่สวนแล้ว โดยการไต่สวนจะเป็นแบบกรรมการไต่สวน ซึ่งจะมีกรรมการ ป.ป.ช. 2 คน ลงมาเป็นองค์คณะไต่สวน วันนี้อาจจะมีการกำหนดนัดประชุมเพื่อวางแผนกำหนดการไต่สวนพยานหลักฐานอะไรอย่างไรบ้าง
"คิดว่าคดีนี้ถ้าพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานมาได้พอสมควรแล้ว โดยเฉพาะพยานหลักฐานที่ปรากฏในวันที่ไปจับกุมตัวนายรัชฎานั้น สาวไปถึงใคร อันนี้เรารู้ตัวแล้ว เรามีรายชื่อชัดเจนแล้ว ดังนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายที่จะไปรวบรวมพยานหลักฐาน ต่อไปจะต้องเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่จะได้จากปากพยานบุคคลว่าจะเป็นไปในแนวทางไหน มีการโกหกกันหรือมีอะไรหรือไม่ ซึ่งการที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จังหวัดอุบลราชธานี มีการให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน บก.ปปป. ไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นประโยชน์" เลขาธิการ ป.ป.ช.ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คุกกลุ่มกปปส. ขวางเลือกตั้ง 13รีเด็มไม่รอด
ศาลพิพากษาจำคุกม็อบ กปปส. ขัดขวางการเลือกตั้งปี 2556
เปราะบางเฮ! จ่ออุ้มค่าไฟต่อ ขอกกต.ไฟเขียว
“สุพัฒนพงษ์” แจงเป็นรัฐบาลรักษาการทำอะไรไม่ได้มาก หลัง กกพ.เคาะค่าไฟ 4.77 บาท/หน่วย
ครม.ยกระดับแก้ฝุ่นพิษ จับมือเพื่อนบ้านลดเผา
ครม.ยกระดับแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 นายกฯ ลงนามร่วมมือระหว่างประเทศ
อสส.นัดสั่งคดีอุปกิต17เม.ย.
"ส.ว.อุปกิต" โต้ไม่ได้มอบตัว เพียงเข้าพบพนักงานสอบสวนแสดงความบริสุทธิ์ใจ
‘ป้อม’กวาด100เขต มั่นใจไร้พรรคแลนด์สไลด์ ปาร์ตี้ลิสต์วุ่น‘ตั๊น’พ้อปชป.
"วิรัช" เตือนสติเพื่อไทย อย่าลืมปี 2562 ชู "ธนาธร" ชิงเก้าอี้แม้มี 3 แคนดิเดต รอ 14 พ.ค.ค่อยพูดก็ไม่สาย
สยบดีลหนุน‘ป้อม’ ‘แม้ว’อ้างไม่เคยคุยมา17ปี ‘จตุพร’ลากไส้โกหก18ครั้ง
“ทักษิณ” รีบทวีตปัดดีลลับดันก้น “ประวิตร” เป็นนายกฯ คนที่ 30