พรรคหญิงหน่อยสะดุ้ง! เตือนบำนาญปชช. 3 พันบาทต่อเดือน หนทางสู่หายนะคลัง

15 มิ.ย.2565 - รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความเรื่อง "บำนาญประชาชน 3,000 บาท/เดือน : หนทางสู่หายนะทางการคลัง ลงในเฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai  โดยมีรายละเอียดดังนี้

พรรคการเมืองหลายพรรคกำลังเสนอประเด็นนี้เพื่อหาเสียงเหมือนเช่นโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค”

หลักการและเหตุผลที่นำมาอ้างเท่าที่ตรวจสอบได้ก็คือ

(ก) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และ

(ข) ผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นคงทางการเงิน

หากจะให้พึ่งพาเบี้ยผู้สูงอายุก็อ้างว่าต่ำกว่าเส้นความยากจน ไม่พอเพียงในการดำรงชีพ (ตรรกะเหตุผลของคณะกรรมธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน)

ประเด็นสำคัญก็คือ บำนาญประชาชนเป็นเรื่องสวัสดิการที่รัฐต้องจัดให้หรือไม่ ?

เท่าที่ตรวจสอบในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ไม่ได้ระบุเอาไว้ว่าเป็นสิทธิของประชาชนหรือเป็นหน้าที่ของรัฐที่พึงจัดหาให้แต่อย่างใด

เพราะโดยหลักการแล้ว บำนาญเป็นเรื่องการออมส่วนบุคคล

ผู้ที่จะรับบำนาญต้องอดออมด้วย “เงินตนเอง” ส่วนจะมีใครช่วยสมทบเงินออมด้วย เช่น นายจ้างหรือรัฐบาล ก็อีกเรื่องหนึ่ง

บำนาญจึงไม่ใช่ “สวัสดิการสังคม” เหมือนอย่างโครงการประกันสุขภาพเช่น “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งที่จริงก็ผิดฝาผิดตัวมาตั้งแต่หลักการเหมือนกัน

ผู้ที่ได้รับบำนาญในสังคมไทยปัจจุบันล้วนต้องออมก่อนเท่านั้น แม้แต่บำนาญของ สส.สว. ก็เช่นกัน ต้องออมส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณ

ส่วนข้าราชการนั้นแม้จะมิได้ส่งเงินออมอย่างเป็นรูปธรรมโดยชัดแจ้ง แต่ก็แฝงอยู่ในเงินเดือนที่รับต่ำกว่าภาคเอกชนมาโดยตลอด

เงินบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาลจึงเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องล่อใจให้คนเข้ารับราชการและเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการจ้างงานตั้งแต่เข้าทำงาน

หากฝ่ายการเมืองนำประเด็นนี้มาหาเสียงว่าจะทำโดยเอาอำนาจจากหีบบัตรเลือกตั้งมาฝืนหลักการ

ประเด็นที่ไปต่อได้ลำบากก็คือ ระบบบำนาญที่ดีนั้น เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งก็คือ แหล่งที่มาของเงินจะต้อง “พอเพียง” ที่จะทำให้ “ยั่งยืน” รองรับรายจ่ายบำนาญที่จะเกิดขึ้น

ประเทศไทยกำลังเป็น สังคมแก่ก่อนรวย ผิดกับญี่ปุ่นหรืออีกหลายประเทศที่ รวยก่อนแก่

คนแก่ที่ยากจนมันแย่กว่าคนจนที่ไม่แก่เพราะคนหนุ่มสาวยังไปหางานทำแก้จนได้ ประชากรคนแก่ที่เพิ่มสัดส่วนขึ้นเรื่อยๆเช่นไทยหากฝ่ายการเมืองอุตริทำอะไรอุบาทว์เช่นนี้ ภาระการเงินจะตกอยู่กับประชาชนโดยถ้วนหน้าอย่างแน่นอน

ในปีพ.ศ. 2563 มีคนแก่ประมาณ 12 ล้านคน ถ้าทุกคนได้เงินบำนาญ 3,000 บ/เดือน หรือ 36,000 บาท/ปี ฟรีโดยไม่ต้องส่งเงินสมทบ รัฐจะต้องจ่ายเงินกว่า 432,000 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่เก็บได้ทั้งหมดหรือเท่าๆกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บได้ทั้งปี!

โดยที่งบรายจ่ายประจำส่วนนี้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามจำนวนคนแก่ที่เพิ่มขึ้น เช่นในอีก 10 ปีข้างหน้าจะต้องมีรายจ่ายประจำส่วนนี้ถึงกว่า 6 แสนล้านบาทต่อปี ทำให้เหลือเงินไปใช้อย่างอื่นน้อยลงไปเรื่อยๆ

อะไรคือทางออก ?

ถ้าคิดแบบที่นักการเมืองอุตริคิดโครงการนี้คือให้ฟรีแบบถ้วนหน้า มันไปไม่ไหวแน่นอน !

ทางแก้ถ้าประชาชนอยากจะมีบำนาญ ก็ต้องเริ่มที่ต้นตอ คือต้องออมสำหรับพวกที่ยังไม่เกษียณจะด้วยภาคบังคับ/สมัครใจก็ตามแต่การให้ฟรียิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ

ส่วนพวกที่เกษียณแล้วอาจต้องออมหรือรับภาระโดยลูกหลานแทนเพราะกว่าลูกจะโตมาก็ต้องอาศัยพ่อแม่เลี้ยงดูจะมาผลักเป็นภาระรัฐทั้งหมดก็คงไม่ได้

ขนบที่เป็นสถาบันในเรื่อง “กตัญญ” จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่แนวคิดอุบาทว์แบบว่า “พ่อแม่ทำให้กูเกิดมาดังนั้นพ่อแม่จึงต้องเลี้ยงดูพวกกู” อย่างนี้เวลาพ่อแม่แก่หรือตัวเองแก่แล้วใครจะเป็น safety netให้?

การใช้เส้นความยากจนมาเป็นบรรทัดฐานเรื่องความพอเพียงด้านสวัสดิการมันสะท้อนถึงพื้นฐานแนวคิดที่อ่อนด้อยด้านวิชาการของนักการเมืองและมุ่งจะเอาชนะทางการเมืองโดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศชาติ

อย่าลืมว่าความยากจนด้านอาหาร (food poverty line) นั้นรัฐดูแลอยู่แล้วอย่างน้อยที่สุดผ่านโครงการประกันสุขภาพและเบี้ยผู้สูงอายุ ทำให้กล่าวได้ว่าไม่มีการขาดสารอาหารจนดำรงชีพอยู่ไม่ได้

ส่วนที่ไม่ใช่ความยากจนด้านอาหารที่มักวัดเป็นตัวเงินนั้นมันเป็นความจนเชิงเปรียบเทียบ ดังนั้นจึงมิใช่ความยากจนที่แท้จริง จะให้รัฐแก้ไขส่วนนี้ไปได้อย่างไร เศรษฐีเงินล้านที่ยังคิดว่าตัวเองจนอยู่ก็มีจริง !

ดังนั้นการที่นักการเมืองและพรรคการเมืองจะเอาเงินของประเทศที่มาจากภาษีไปจ่ายเป็นบำนาญสำหรับคนแก่เพื่อเป็นบำนาญแบบถ้วนหน้า มันจะไม่เรียกว่า “หายนะทางการคลัง” ที่มองเห็นอยู่ตำตาได้อย่างไร?

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบำนาญประชาชน 3,000 บาท เป็นนโยบายหลักเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ของพรรคไทยสร้างไทย ที่มีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานยุทธสตร์พรรค

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

ดร.เสรี บอก 'สลิ่ม' อย่าเพิ่งดีใจว่าก้าวไกลจะโดนยุบพรรค

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า "สลิ่มอย่าเพิ่งดีใจไปว่าพรรคก้าวไกลจะโดนยุบพรรค เพราะเขา

'จตุพร' ชี้ 1% 'ก้าวไกล' รอดยุบพรรค

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ถึงศาล รธน.ไม่รับคำร้องยุบพรรคเพื่อไทยไว้พิจารณา เพราะคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่ยื่นนั้น แตก

โหวตงบ67วันโลกาวินาศ สะท้อนเสถียรภาพฝ่ายค้าน?

หลังเสร็จสิ้น ภารกิจเดินทางมาราธอน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เดินทางเยือนต่างประเทศร่วมเกือบ 2 สัปดาห์ ภารกิจกลับเชียงใหม่ บ้านเกิดในรอบ 17ปี

เพื่อไทยได้ครูดี! 'ฮุนเซน' แนะพรรคการเมืองจะประสบความสำเร็จได้ ต้องทำงานเพื่อประชาชน

ที่ประเทศกัมพูชา นายสรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) นายดนุพร ปุณณกันต์ โฆษกพรรค และคณะกรรมการ