'ชัชชาติ' รับตื่นเต้นจะได้เข้าทำเนียบ ถกศบค.พรุ่งนี้ เราเป็นแค่ผู้ว่าฯ แล้วแต่ท่านหัวหน้าประเทศ

16 มิ.ย.2565 - ที่ห้องประชุมใหญ่ชั้น 2 ทีดีอาร์ไอ ซอยรามคำแหง 39 กทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.ชุดใหญ่) ที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 17 มิ.ย. โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า คิดว่าจะได้เจอกับพล.อ.ประยุทธ์ แต่จะไม่ได้เจอกันเป็นครั้งแรก เพราะเคยเจอกันในงานพระราชพิธีมาก่อนแล้วแบบห่างๆ และหากพล.อ.ประยุทธ์ เรียกก็จะรายงาน เพื่อดูว่าจะมีข้อสั่งการอย่างไร

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า การประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 17 มิ.ย. จะมีข้อเสนอของ กทม. เรื่องถอดหน้ากากอนามัยในที่โล่งแจ้งด้วย ซึ่งเป็นข้อเสนอของหลายภาคส่วนที่ช่วยกัน ส่วนแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต้องรอที่ประชุมพิจารณา ซึ่งทราบว่าที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กมีการเปลี่ยนแปลง และข้อเสนอจากหน่วยงานอื่นเพิ่มเติมด้วย โดยคงเป็นไปตามหลักวิชาการ เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อน้อยลง แต่เชื่อว่าหากอนุญาตให้ถอดหน้ากากอนามัยน่าจะทำให้บรรยากาศดีขึ้น

“ไม่มีประเด็นอะไรเพิ่มเติม เพราะเราไปประชุม ศบค. ถ้าท่านจะให้แจ้งอะไร ก็คงพยายามเรียนตอบไปตามที่ท่านถามและเราเป็นผู้น้อย เป็นแค่ผู้ว่าฯกทม. แต่ท่านเป็นหัวหน้าของประเทศ ก็คงแล้วแต่ท่าน และพรุ่งนี้คงได้เจอกัน ซึ่งยอมรับว่าตื่นเต้นที่จะเข้าทำเนียบรัฐบาล ไปประชุม ศบค.ในฐานะผู้ว่าฯกทม.เพราะไม่ได้เข้ามาแล้วตั้ง 7-8 ปี ” ผู้ว่าฯกทม. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุวัจน์' หวนคืนชื่อเดิม 'พรรคชาติพัฒนา' แต่งตั้ง สส.แจ้ เป็นรองหัวหน้าพรรค

พรรคชาติพัฒนากล้า เปิดการประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2567 นำโดยนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนากล้า , นายเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ,

'ชัยเกษม' ออกตัวไม่เกี่ยวปรับครม. ผู้บริหารพรรคจะใช้ให้ทำอะไรก็ได้ สบายๆ

นายชัยเกษม นิติสิริ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เดินทางมาไหว้ศาลพระภูมิเจ้าที่ ศาลตา ศาลยาย โดยผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า การเดินทางมาไหว้วันนี้เกี่ยวอะไรกับการปรับ ครม.หรือไม่

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า