'สุดารัตน์' นำทีมไทยสร้างไทยบุกสวนลำไยเร่งช่วยเหลือหลังราคาตกต่ำ

สุดารัตน์-ทีมไทยสร้างไทย หารือ ชาวสวนลำไย เชียงใหม่-ลำพูน จี้ รัฐบาลเร่งช่วยเหลือ หลังราคาตกต่ำ ล้งเอาเปรียบ ชูนโยบาย”กองทุนสินค้าเกษตรราคาสูง”

7 ส.ค. 2565 – คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย นำทีมผู้บริหารพรรคไทยสร้างไทย และว่าที่ผู้สมัครส.ส. ลงพื้นที่ พบผู้นำเกษตรกรและชาวสวนลำไย เพื่อหารือถึงปัญหาวิกฤตลำไย ณ สหกรณ์สภาอาชีพเกษตรกร (สอก.)โดยผู้นำเกษตรกรผู้ปลูกลำไยจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาวิกฤตลำไยโดยระบุว่า ลำไยเป็นพื้นเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ โดยเฉพาะ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ที่มีพื้นที่ปลูกลำไยรวมกันกว่า 1,30,6789 ไร่ หรือร้อยละ 71 จากพื้นที่ปลูกลำไยทั่วประเทศ แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้สะท้อนความล้มเหลวของรัฐบาลต่อการดูแลเกษตรกร ปี 2565 ที่ราคาลำไยตกต่ำ ระดับคุณภาพเกรด AA เหลือเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14-15 บาท ไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตที่กิโลกรัมละ 23.60 บาท ประกอบกับวิกฤตโรคระบาดโควิด ทำให้กลไกตลาดรับซื้อมีปัญหาถูกกดราคาให้ต่ำกว่าต้นทุน ในขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นทั้งปุ๋ย ยา น้ำมัน และไฟฟ้า แต่รัฐบาลกลับไม่มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ทำให้เกษตรกรประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก นอกจากนี้ ผู้นำเกษตรกร ยังได้ร้องเรียนพรรคไทยสร้างไทย ให้ช่วยติดตามดำเนินการเงินเยียวยาไร่ละ 2,000 บาท ที่เกษตรกรยังตกค้างไม่ได้รับเงินมากว่าปีแล้ว และขอให้พรรคไทยสร้างไทยได้เร่งดำเนินการผลักดันพ.ร.บ.ลำใย ให้แก่เกษตรกรด้วย

คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าการเกษตรของพรรคไทยสร้างไทย จะมีนโยบายหลักในการตั้งกองทุนสร้างสินค้าการเกษตรราคาสูง กองทุนดังกล่าวจะมาช่วยเหลือสินค้าการเกษตร ตั้งแต่กระบวนการสร้างคุณภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ไปจนถึงเรื่องการตลาด โดยตั้งเป้าหมายราคาของลำไยสด ในฤดูกาลจะต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 30 บาท นอกฤดูกาล จะต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างยั่งยืน ทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เหมือนกับเกษตรกรประเทศญี่ปุ่น ที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สามารถขายเองได้ และแปรรูปสินค้าเองได้กรณีลำไยรูดร่วงที่นำไปเป็นลำไยอบแห้งว่า รัฐต้องมีความกล้าหาญในการแก้ไขปัญหาเรื่องล้งลำไยที่มาเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร อย่างเช่นกรณีการคัดเกรดลำไยที่ล้งจะเป็นผู้กำหนด จึงทำให้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน ซึ่งจะต้องมีเครื่องร่อนลำไยที่สามารถแบ่งตามเกรดอย่างเป็นมาตรฐาน รวมถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการเข้าไปช่วยเหลือกว่า 200 กว่าล้านบาท แต่กลับไม่ถึงมือของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย กลับเป็นนายทุนล้งลำไยเท่านั้นที่ได้ประโยชน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เชียงใหม่วิกฤต! ฝุ่น PM2.5 ทะลุ 400 เกินค่ามาตรฐาน 22 เท่า

ปํญหาหมอกควันไฟป่าภาคเหนือและเชียงใหม่กลับมาวิกฤต! พุ่งสูงอีกระลอกทะลุ 400 ความเข้มข้น PM2.5 เกิน 22 เท่าค่ามาตรฐาน รั้งอากาศแย่ที่ 5 โลก

'พิมพ์ภัทรา' ชงครม. ของบ 270 ล้านสร้างศูนย์ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

“พิมพ์ภัทรา” ถกครม. ดันโครงการตามข้อเสนอกรอ. จังหวัดแพร่ ที่ สร้างศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งประเทศไทย ในวงเงินงบประมาณ 270 ล้านบาท พร้อมนำคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจราชการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน)

ทอ. ส่งเครื่องบินบีที-67 ทิ้งน้ำ 3 พันลิตร แนวไฟไหม้วิกฤตภาคเหนือ

กองทัพอากาศ ได้เผยแพร่ข้อมูล สนับสนุนภารกิจการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (SEE & STRIKE ) โดยส่งอากาศยาน AU-23 PEACE MAKER (Sensor)