ส.ว. ชำแหละร่างรธน.ฉบับปชช. รื้อศาล-องค์กรอิสระ ซัดหัวโจกรู้แก่ใจโดนคว่ำหวังปลุกม็อบ

13 พ.ย.2564 - นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ประชุมรัฐสภาจะพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับภาคประชาชน ในวันที่ 16 พ.ย.ว่า ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เวลา 08.30 น. ส.ว.จะเปิดเวทีย่อยพูดคุยเนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนว่า มีประเด็นแก้ไขเรื่องใด ด้วยเหตุใดบ้าง เหมาะสมจะแก้ไขหรือไม่ จะให้ส.ว.แสดงความคิดเห็น มุมมองต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ส่วนการลงมติโหวตวาระแรกในวันที่ 16 พ.ย.นั้น จะให้เป็นดุลยพินิจของส.ว. แต่ละคนในการลงมติ

ส่วนตัวดูแล้วโอกาสผ่านยาก เพราะเนื้อหาที่เสนอแก้ไขเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง องค์กรอิสระ และยังเปิดช่องให้แทรกแซงการทำงานของศาลและองค์กรอิสระได้ ฝ่ายที่เสนอมารู้อยู่แก่ใจว่าโอกาสไม่ผ่านมีสูง แต่ยังเสนอเข้ามา เพื่อใช้สร้างความชอบธรรมในการเรียกมวลชนว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนถูกปฏิเสธโดยรัฐสภา ต้องการประชาชนเข้าใจผิดรัฐสภา ทั้งที่รัฐสภาไม่มีเจตนาเช่นนั้น พร้อมให้ความสำคัญและรับฟังเสียงประชาชน แต่ข้อเสนอเป็นปัญหาจริงๆ ถึงขั้นทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่มีข้อยุติ ยิ่งทำให้สร้างความขัดแย้งในสังคมเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถรับร่างได้

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. กล่าวว่า ขอฟันธง 100% ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน จะไม่ผ่านวาระรับหลักการจากรัฐสภา ส.ว.ไม่มีทางเห็นชอบเกิน 1ใน3หรือ 84คนแน่นอน เนื้อหาที่เสนอแก้ไขไม่เรียกว่า ปฏิรูป แต่เป็นการปฏิวัติ เพราะเป็นการแก้ไขทั้งโครงสร้างรัฐสภา ศาล และองค์กรอิสระให้เอาตามที่ฝ่ายตนเองต้องการ โดยเฉพาะข้อเสนอที่ให้เหลือเพียงแค่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ทำให้ขาดการถ่วงดุล ส.ว.ไม่ติดใจที่เสนอให้ยกเลิกวุฒิสภา เพราะส.ว.อยู่ตามรัฐธรรมนูญอีกแค่ 2ปีกว่า จะหมดหน้าที่แล้ว แต่กังวลอนาคตประเทศ ถ้าเหลือแค่สภาเดียว ไม่เหมาะสมกับประเทศไทยแน่น ยิ่งไปแก้โครงสร้างศาล องค์กรอิสระเพิ่ม ก็ยิ่งไปกันใหญ่ ถ้าอ้างรายชื่อประชาชน 100,000คน สนับสนุนร่างแก้ไขฉบับนี้ ขอให้ดูความเห็น 16ล้านคนที่ให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญปี2560ด้วย อย่างไรก็ตามเราให้ความสำคัญกับประชาชนหลักแสนคนที่เสนอให้แก้ไข แต่ถ้าหลักการที่เสนอมาไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ต่อให้มีรายชื่อมากเท่าไร ก็ให้ผ่านไม่ได้นายกิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า เชื่อว่า หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะไม่เป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้ง มีการชุมนุมมากขึ้น เพราะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ระบุไว้ชัด จะเคลื่อนไหวในลักษณะหมิ่นเหม่ไม่ได้ หลังจากนี้ฝ่ายการเมืองต้องสำเหนียกว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร เป็นที่สิ้นสุด หากยังไปสนับสนุนการเคลื่อนไหวต้องพิจารณาจะได้คุ้มเสียหรือไม่ อาจถูกยุบพรรคได้ ข้อหาล้มล้างการปกครอง การเป็นกบฏมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประธานกมธ.การเมือง ชี้เรื่องใหญ่ ผู้สมัคร สว. 10 คน ถูก กกต.ปัดตกทั้งที่ไม่ได้ทำผิด

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

กกต. ไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง ยันไม่แก้ไขระเบียบแนะนำตัวผู้สมัคร สว.

ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีการประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

'ธนาธร' ชู 3 ข้อเรียกร้อง กกต. หลังศาลปกครองเพิกถอนระเบียบแนะนำตัวผู้สมัคร สว.

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า แถลงถึงกรณีการรับสมัคร สว. ว่า จากการการรับสมัคร สว. ที่จบลงไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องตามต่ออีก คือ เรื่องที่

แฉจ้างสมัคร สว. หัวละ 2 พันถึงหมื่น เตือน 'กกต.' ระวังคุก

'สมชาย' เตือน 'กกต.' เสี่ยงติดคุก หากไม่ตรวจสอบการเลือก สว. ให้ดี ปูดจ้างคนสมัคร-ฮั้วการเลือก แนะเลื่อนไทม์ไลน์ช้าอีก 1 - 2 เดือน ตรวจสอบให้สะเด็ดน้ำก่อนประกาศรับรองผล