กระดุมเม็ดแรกปมตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร “ดร.ณัฎฐ์”มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ กลัดกระดุมผิดเม็ด ก้าวไกลอาจถูกไฮแจ็ค พลิกเกมขั้วทางการเมืองได้
25 พ.ค. 2566 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวในรายการเข้มข่าวใหญ่ทางช่องทีวี PPTV ถึงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า เก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นคีย์แมนสำคัญ ในการกำหนดกลเกมเทคนิคในสภา หากฟอร์มทีมรัฐบาลพิธาสำเร็จ เท่ากับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล จะขึ้นเป็นประมุขฝ่ายบริหาร
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่าการกินรวบของพรรคก้าวไกล โดยจะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติด้วย โดยไม่ได้แบ่งพรรคร่วมนั้น จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่ไว้วางใจระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลที่กำลังฟอร์มทีมอยู่ โดยพรรคเพื่อไทยที่ครองเสียง 141 ที่นั่ง อยากนั่งตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ส่งผลทำให้เกิดวิวาทะระหว่างนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ที่ออกมาโพสต์ทวงถามตำแหน่งดังกล่าวว่าต้องเป็นของก้าวไกลเท่านั้น ทำให้เกิดวิวาทะระหว่างก้าวไกลและเพื่อไทย
ทั้งนี้ปัญหาคุณสมบัติตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่เกี่ยวกับอายุ แต่ต้องมีความนิ่ง แม่นข้อกฎหมาย แม่นระเบียบและเป็นกลาง ยึดความถูกต้องเพราะขณะประชุมสภาผู้แทนราษฎร ต้องควบคุม ส.ส.เกือบห้าร้อยคน ไม่เกี่ยวว่าจะต้องอายุมาก คนหนุ่ม มีความรู้และมีความเป็นผู้ใหญ่ สามารถนั่งตำแหน่งนี้ได้
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า ประเด็นปัญหา การแย่งชิงตำแหน่ง เป็นจุดเริ่มต้น ที่การฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะขณะนี้ รวบรวมเสียงได้เพียง 313 เสียง หมดก็อกแล้ว ต้องไปพึ่ง เสียง ส.ว. เพราะตัวเลข 376 เสียง ถือเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน หากรวบรวมไม่ได้ ถือว่า รัฐบาลพิธา ก็จบข่าว ไม่เกี่ยวกับประชาชนเทคะแนนให้ 14 ล้านเสียงกว่าๆ อย่าลืมว่า ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 52 ล้านกว่าคน ประชาชนที่ไม่ได้เลือกก้าวไกล 38 ล้านกว่าคน ย่อมมีสัดส่วนมากกว่า
"ปัญหาการแย่งตำแหน่งไม่ตกผลึก หากเพื่อไทยถอนตัว การฟอร์มทีมตั้งรัฐบาล ย่อมล้มเหลว ทำให้นายพิธา เป็นเพียงนายกรัฐมนตรีโซเชียล เกมการเมืองอีกประการหนึ่ง ครั้นแบ่งโควตาตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้แก่พรรคเพื่อไทย ย่อมเกิดความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน เพราะตำแหน่งดังกล่าว มีเพียงตำแหน่งเดียว รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ถือว่าเป็นคีย์แมนสำคัญในการกำหนดกลเกมต่างๆในสภา โดยเฉพาะการขับเคลื่อนวาระในการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ก้าวไกลได้หาเสียงไว้ หากก้าวไกลไม่ได้ครองตำแหน่งนี้ จะเป็นการกลัดกระดุมเม็ดแรกที่ผิดพลาด ย่อมเป็นตัวแปรสำคัญในการรวบรวมเสียงสมาชิกวุฒิสภาไม่สำเร็จ เพราะไม่มีหลักประกันใดๆ แตกต่างจากพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภา จะต้องกระทำตามมติพรรคเว้นแต่งูเห่าทางการเมือง โหวตสวนมติพรรค"
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ส่วนการวางตัว ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร หากตกอยู่ในมือของพรรคเพื่อไทย รัฐบาลผสม อาจเกิดตัวแปรทางการเมือง ในระหว่างจะโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ อาจถูกไฮแจ็คชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการ พลิกเกมการเมืองไปจับขั้วอื่น ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้นายพิธาไม่ถึงฝั่งฝันนายกรัฐมนตรี เพราะการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จะต้องกระทำโดยเปิดเผย โดยการขานชื่อสมาชิกรัฐสภา
"เชื่อว่าพรรคก้าวไกลจะเจอปัญหา มาตรา 112 ไม่สามารถรวบรวมเสียงจากสมาชิกวุฒิสภาอีก 60 กว่าเสียง ให้มีเสียงครบ 376 เสียง จะทำสลับขั้วการเมืองใหม่ และอีกขั้วหนึ่ง ขั้วการเมือง อีกฟากฝั่งหนึ่ง187 เสียง อาจพลิกเกมจับมือกับ สว.พลิกขั้วชิงจัดตั้งรัฐบาล ย่อมเป็นไปได้ เรียกว่าการเมืองสามก๊ก เพียงแค่รอเวลา เท่านั้น"
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่าแม้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของเพื่อไทย ยืนยันว่า จะจับมือกับพรรคก้าวไกล ไม่ปล่อยมือไปไหน ในวันที่สัมมนา ส.ส. เป็นเพียงเกมการเมือง เป็นมารยาททางการเมือง ที่ให้พรรคที่ชนะการเลือกตั้งอันดับหนึ่ง มีความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลก่อนเท่านั้น หากจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ส้มหล่นไปยังพรรคการเมืองอันดับอื่น อยู่ที่สมการตัวเลขที่รวบรวม ให้ครบ 376 เสียง โดยทุกขั้ว สามารถรวบรวมเสียงในการจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลได้ ตนจึงฟันธงว่าโอกาสที่พรรคก้าวไกล ฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลให้ครบ 376 เสียง โดยพึ่งเสียงจาก สว.อีก 60 กว่าเสียง โอกาสสำเร็จน้อยมาก จะเกิดพลิกขั้วทางการเมือง
"ตัวแปร การถือครองหุ้นสื่อ ของนายพิธา ประกอบก้าวไกลผลักดันให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หนึ่งในร่างพิมพ์เขียว 45 ฉบับ ที่พรรคก้าวไกลจะผลักดันทันทีและยื่นต่อสภาในการเปิดประชุมครั้งแรก เป็นตัวแปรสำคัญในการรวบรวมเสียงและโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้ขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามหรืออีกสองก๊ก จะหยิบเรื่องความจงรักภักดีมาปั่น แม้จะถอย ประนีประนอม ไม่ได้อยู่ใน MOU ฟอร์มที่มจัดตั้งรัฐบาลพิธา ก็ตาม" ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไม่รอด! กกต. มีมติไม่รับ 3 คำร้อง พิธาถือหุ้นสื่อ แต่ข้อมูลเพียงพอเอาผิด ม.151
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 เสียง ไม่รับคำร้องกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ในการสมัครรับเลือกตั้ง เหตุการถือหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้น แต่ให้รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นความปรากฏ
'พิธา' เดินสายขอบคุณชาวภูเก็ต 'ส้มทั้งจังหวัด' ขอสัญญาจะไม่ทำให้ไข่มุกเม็ดนี้ผิดหวัง
พรรคก้าวไกล นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยนายรังสิมันต์ โรม ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ลงพื้นที่ขอบคุณประชาชน และประชุมร่วมกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
สมช. ชี้ผิดชัดเจน ทำประชามติแยกปัตตานี เผยนายกฯห่วงยุยงให้แตกแยกสั่งสอบแล้ว
พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยว่า ได้รายงานกรณีการจัดกิจกรรมของขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ ที่จัดอภิปรายเรื่องการกำหนดอนาคตตนเองกับสันติภาพปาตานี ที่มีการทำแบบสอบถามความเห็นที่จะให้ประชาชนปาตานี
เลขาฯกกต. ชี้ต้องรับรอง 'พิธา' เป็น ส.ส. ก่อนฟันคุณสมบัติ รู้อยู่ไม่มีสิทธิแต่ยังลงสมัคร
นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวถึงการพิจารณาคำร้องกรณีการถือหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกลว่า เรื่องนี้มีปัญหาทางเทคนิคอยู่ คือผู้ร้องมาร้องก่อนวันเลือกตั้ง 2 วัน
ดร.ณัฎฐ์ ชำแหละประชามติซ่อนรูป เตือนกบฏ! 'ปาตานี' แยกตัวเป็นเอกราช
กบฏแบ่งแยกดินแดนรัฐปาตานี 'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชนคนดัง ชี้ 'การกำหนดอนาคตตนเอง' มติ UN ให้อำนาจ แต่คาบเกี่ยว การแยกรัฐอิสระ เป็นการแบ่งแยกดินแดน
ไม่หวั่นถูกฟ้องกลับ 'สนธิญา' ลุยร้องกกต.สอบ พท. ชะลองินดิจิทัล1หมื่นบาท ถึงปีพ.ศ.ไหน
'สนธิญา' ไม่หวั่นถูกฟ้องกลับ ลุยร้อง กกต.สอบพรรคเพื่อไทย ชะลอนโยบายเงินดิจิทัลหนึ่งหมื่นบาทถึงปีพ.ศ. ไหน ยันที่ผ่านมาทำด้วยความสุจริต ถามแทนประชาชนคนไทย