มือกฎหมายมหาชน ฟันเปรี้ยง 'พิธา' ไม่ผ่านโหวตนายกฯรอบ 2 ชี้ปิดสวิตช์ ส.ว.ล้มไม่เป็นท่า

กับดักการเมือง “ดร.ณัฎฐ์”มือกฎหมายมหาชน “พิธา”โหวตนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง ไม่ผ่าน เจอปรากฎการณ์ สว.หยิบข้อบังคับประชุมสภาป่วน ช่องทางปิดสวิตซ์ สว.ล้มไม่เป็นท่า

15 ก.ค. 2566 จากกรณีสมาชิกรัฐสภาโหวตเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลโดยคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่ง 376 เสียง คาดหมายว่า จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สองวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 โดยวานนี้(14 กรกฎาคม 2566) พรรคก้าวไกลได้ยื่นญัตติต่อนายวันนอร์ฯประธานรัฐสภาเพื่อปิดสวิตซ์ สว.ตามมาตรา 272 นำไปสู่การผลักดันให้นายพิธาฯ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป

ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายมหาชนคนดัง ได้อธิบาย และให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชน อันเป็นประโยชน์สาธารณะต่อประเด็นดังกล่าว ว่า หากใครติดตามตนให้ความเห็นทางด้านกฎหมายมหาชน ตนฟันธงคนแรกของประเทศว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล รวบรวมเสียงไม่เพียงพอให้ครบ 376 เสียง ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ตัวแปร เกิดจากการออกแบบรัฐธรรมนูญโดยล็อคด้วยข้อกฎหมาย และล็อคด้วยปัญหาข้อเท็จจริงอีกชั้นหนึ่ง แม้ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถรวบรวมเสียงให้ครบตามเงื่อนไขบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญได้ โดยมาตรา 112 เป็นตัวแปรบดขยี้ ทำให้นายพิธาฯไม่ถึงฝั่งฝันเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ตนจึงถูกทัวร์ลง ผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ผลเป็นไปตามที่ตนวิเคราะห์อย่างแม่นยำ แต่ตนไม่ได้ติดใจเพราะเป็นความเห็นทางการเมือง แต่ตนให้ความเห็นทางวิชาการ เมื่อนักข่าวมาสัมภาษณ์ก็ตอบไปตามหลักวิชาการ ไม่มีอคติกับพรรคการเมืองใด โดยในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 การประชุมรัฐสภา อาจมีวาระการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง จะพบเห็นปรากฎการณ์ การเสนอชื่อครั้งที่สอง หากเป็น นายพิธาฯอีก พี่น้องประชาชนจะพบเห็นเหตุการณ์ สว.หยิบข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ 41 งัด มาตีรวน บดขยี้ว่า ไม่สามารถเสนอญัตติรายชื่อคนเดิมได้อีก ยิ่งตอกย้ำสถานการณ์ในการรวบรวมเสียงฝ่าย สว. ตนจะให้ความรู้ทางกฎหมาย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่มีบทบัญญัติข้อกฎหมายมาตราใดเป็นบทห้ามในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีซ้ำอีก ข้อบังคับการประชุมสภา ขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ หากพูดภาษาชาวบ้าน เสนอรายชื่อนายพิธาฯซ้ำได้อีก แต่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ คนละเรื่องกัน แตกต่างจากกรณีสมาชิกวุฒิสภากลั่นกรองรายชื่อและคุณสมบัติของบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระหรือองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ จะต้องผ่านมติความเห็นชอบจาก สว. คนละกรณีกัน

ส่วนการเสนอรายชื่อ นายพิธาฯ ครั้งที่ 2 ซ้ำอีก สามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่จะเจอตัวแปร ล็อคด้วยข้อกฎหมายตามบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 159 วรรคท้าย พรรคก้าวไกล ต้องไปรวบรวมเสียง ส.ส.และ สว. ให้ครบ 376 เสียง จะเห็นได้ว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ครั้งแรก รวบรวมเสียง ส.ส.และ สว.ครั้งแรก ได้เสียงเพียง 324 เสียง ได้แก่ เสียง ส.ส. 311 เสียง ขาด นายวันนอร์ ฯประธานรัฐสภาไป 1 เสียงและ เสียง สว.ได้เพียง 13 เสียง หากพิจารณา เสียงไม่เห็นชอบ 182 เสียง ได้แก่ ส.ส. 148 เสียง สว.34 เสียง และงดออกเสียง 190 เสียง ได้แก่ ส.ส.40 เสียงและ สว.159 เสียง จะเห็นได้ว่า เสียงที่ไม่เห็นชอบและงดออกเสียง สัดส่วนสูงรวมกันได้ 372 เสียง หากมีการเสนอชื่อซ้ำอีก โอกาสรวบรวมเสียง สว.ให้ครบ 376 เสียง โอกาสน้อยมาก เพราะมีเสียง สว.สนับสนุนเพียง 13 เสียง ยังขาดเสียงอีก 52 เสียง ไม่ว่าจะพลิกแพลงวิธีการไหน เป็นเรื่องยากมาก จะเจอปรากฎการณ์ สว.ป่วนโดยหยิบข้อบังคับการประชุมสภามางัดและโต้แย้งว่า ไม่สามารถเสนอนายพิธาฯได้อีก การเสนอรายชื่อครั้งที่สอง จะเจอการเสนอรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองอื่น ประกบแข่งขัน เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะการล็อคด้วยข้อกฎหมาย เสียง สว.ยังเป็นตัวแปร เพราะการชนะการเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล-เพื่อไทย ชนะไม่ขาด ทำให้การเมืองจึงอยู่ที่ขั้วอำนาจเก่า-สมาชิกวุฒิสภา

ผู้สื่อข่าวถามว่า การปิดสวิตช์ สว.จะเป็นช่องทางให้ นายพิธาฯ เป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ ดร.ณัฎฐ์ มือกฎหมายมหาชน กล่าวว่า การเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เคยเสนอมาหลายครั้งแล้ว ในรัฐบาลที่ผ่านมา ล้มไม่เป็นท่า เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 256(6) ติดกับดักรัฐธรรมนูญ โดยมีตัวแปร 2 ส่วน คือ เสียงจากพรรคการเมืองที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลเห็นชอบด้วยร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองและมีสมาชิกวุฒิสภา เห็นชอบด้วยหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของสมาชิกวุฒิสภา(จำนวน 84 เสียง) แม้พรรคก้าวไกลและพรรคอื่นรวม 312 เสียง จะครองเสียงข้างมากในสภา โอกาสจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ผ่านด่าน สว.ยาก โอกาสแทบไม่มี และล้มไม่เป็นท่า ดังนั้น เป็นเพียงเกมการเมืองดึงเวลาในการโหวตนายพิธาฯให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลายครั้ง

การเมืองยังอยู่ในขั้วอำนาจเก่า จะเห็นได้จากตัวแปรเพิ่มเติม คือ การที่ กกต.ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยคุณสมบัติความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายพิธาฯโดยคำขอให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 และอีกกรณีหนึ่ง ทนายความของพุทธอิสระยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญการเสนอนโยบายพรรคก้าวไกลแก้ไขมาตรา 112 ปฎิปักษ์การปกครองฯ ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณารับคำร้องแล้ว

การเมืองยังอยู่ในสภาวะสามก๊ก ก๊กแรก ก้าวไกล-เพื่อไทย ก๊กสอง หมอผีเขมร. ก๊กสาม กลุ่ม สาม ป. ให้พี่น้องประชาชนสังเกตว่า ก๊กแรก อำนาจอยู่ที่ “นายห้างดูไบ” มีอำนาจต่อรองสูงสุด หลังจากรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน 2549 ก๊กสอง อำนาจอยู่ที่ “หมอผีเขมร” และก๊กที่สาม อำนาจอยู่ที่ “พล.อ.ประวิตร” ให้สังเกตตั้ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานวิปของพรรคพลังประชารัฐ ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศยุติบทบาททางการเมือง แม้ลาออกจากสมาชิกพรรคการเมือง แต่สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก ตามมาตรา 272 วรรคสอง แต่บริบททางการเมือง เปลี่ยนแปลงไป ขั้วอำนาจการเมืองเดิม ไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย พล.อ.ประยุทธ์ฯ อาจขยับไปเป็น “องคมนตรี” ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนันต์' การันตี 'ลุงป้อม' ส่งชื่อนั่ง รมต. โควตากำแพงเพชร

'อนันต์' การันตี 'ลุงป้อม' ส่งชื่อนั่ง รมต. มั่นใจคุณสมบัติไร้มลทิน ลั่นเก้าอี้ตัวนี้โควตากำแพงเพชร ไม่ท้อหากชวดตำแหน่ง เชื่อพรรคไม่แตกแม้ผลออกมาเป็นอย่างไร

งบ68ทร.ซื้อเครื่องบินลำเลียง “เรือดำน้ำ-ฟริเกต”ไปถึงไหน?

ฟันธงกันว่าปิดจ๊อบปรับคณะรัฐมนตรี “เศรษฐา 2” ที่โรงแรมหรูกลางกรุงไปแล้ว โดยมี ทักษิณ ชินวัตร นั่งหัวโต๊ะคุยรอบสุดท้ายโดยไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยน ว่ากันว่า โผนี้ชื่อของ เกรียง กัลป์ตินันท์ กับ สุทิน คลังแสง ยังเหนียว