'สังศิต' กระตุกรัฐบาลต้องมีความกล้าและภาวะผู้นำสูงถึงจะปฏิรูปตำรวจสำเร็จ

'สังศิต' ชี้เหตุการณ์'สารวัตรแบงค์' ถูกยิงเสียชีวิต สะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกำนันกับตร. เสนอรัฐบาลต้องมีความกล้าและภาวะความเป็นผู้นำสูงถึงจะปฏิรูประบบตำรวจได้สำเร็จ

15ก.ย. 2566 - นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่ความเห็นเรื่องปฏิรูปตำรวจ ว่า

สว.สังศิตเสนอรัฐบาลต้องกล้าปฏิรูปตำรวจ !!?

โอกาสที่จะเห็นตำรวจปฏิรูปตัวเอง เกิดขึ้นได้ยากมาก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูงจึงจะปฏิรูประบบตำรวจได้สำเร็จ

กรณีใช้อาวุธปืนยิง “พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว” หรือ “สารวัตรแบงค์” สว.ส.ทล.1 กก.2 บก.ทล. เสียชีวิตกลางงานเลี้ยงภายในบ้าน “กำนันนก” (นายประวีณ จันทร์คล้าย อดีตกำนันตำบลตาก้อง อ.เมืองนครปฐม) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566

เป็นข่าวที่ประชาชนฉงนสนใจอย่างกว้างขวาง สร้างแรงสั่นสะเทือนให้วงการตำรวจทุกระดับ เนื่องจากในงานเลี้ยงดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 20 นาย ตั้งแต่ระดับผู้กำกับลงมาอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ที่ “สารวัตรแบงค์” ถูกยิงฟุบไปต่อหน้าต่อตา !!

ภาพนายตำรวจร่วมโต๊ะงานเลี้ยงรายล้อม “กำนันนก” วัย 35 ปี ราวกับสมุนบริวาร จนเกิดเหตุฆาตกรรม สร้างความอดสู ส่งผลต่อศรัทธา และศักดิ์ศรีแวดวงสีกากีครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ว่า “เหตุการณ์ยิงสารวัตรสะท้อนถึงปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ใช่ธุรกิจสีเทาหลายประการ คือ

ประการแรก สะท้อนถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกำนันนกกับตำรวจในพื้นที่

ประการที่สอง สะท้อนถึงความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ที่ใช้เงินแลกเปลี่ยนกับการใช้อำนาจตามกฏหมายในทางที่ผิดของตำรวจ

ประการที่สาม สะท้อนถึงอำนาจของกำนันนกว่าน่าจะมีธุรกิจสีเทาอยู่เป็นจำนวนมากและมีผลกำไรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี จนกระทั่ง อิทธิพลของกำนันนกสามารถไปบิดเบื่อนการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจในพื้นที่ได้ การกระทำความผิดยังไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย กำนันนกต้องเชื่อว่ามีตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ให้การคุ้มครองตนเองได้

วิสามัญฆาตกรรมในครั้งนี้ยัง สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ที่ใช้เงินของกำนันนกที่ให้แก่เหล่าตำรวจ กำนันนกอุปถัมภ์ ตำรวจด้วยเงิน ส่วนตำรวจเป็นผู้ใต้อุปถัมภ์ให้การตอบแทนด้วยการใช้อำนาจตามกฏหมายไปให้การคุ้มครองกำนันนกอย่างผิดกฎหมาย

พฤติกรรมที่บ้าบิ่นของกำนันนก อาจสะท้อนให้เห็นถึงอำนาจของผู้กระทำความผิดที่มีเครือข่ายกับผู้มีอำนาจตามกฏหมายในระดับที่สูงมากจนเกิดความมั่นใจถึงขั้นไม่ยี่หระกับ อำนาจตามกฏหมายของตำรวจในพื้นที่ เพราะเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ของตนที่มีกับตำรวจน่าจะแข็งแกร่ง อย่างเพียงพอที่จะคุ้มครองตนเองได้

สุดท้ายพฤติกรรมของกำนันนกในเรื่องนี้ยังอาจสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรตำรวจนั้นมีทั้งตำรวจน้ำดีกับตำรวจน้ำเสียที่มีพฤติกรรมเป็นองค์กรอาชญากรรม (organized crime) คงไม่มีใครกล้ายืนยันว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ตำรวจถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านกำนันนกเป็นการสมคบคิดร่วมกันหรือเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นกับองค์กรอาชญากรรมของตำรวจในระดับใดระดับหนึ่งหรือไม่ เป็นการสมคบคิดกันเพราะต้องการต่อต้านตำรวจน้ำดีที่ต้องการทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุจริต กับตำรวจน้ำเสียที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองเป็นหลักเท่านั้น

เหตุการณ์ที่เศร้าสลดหดหู่นี้ ยังส่งผลต่อศรัทธาและศักดิ์ศรีของตำรวจมากพอหรือยังที่ต้องมีการปฏิรูปองค์กรตำรวจอย่างจริงจัง เสียที ?

ตำรวจจะกอบกู้ศักดิ์ศรีของตัวเองได้ต้องแสดงให้เห็นถึงความสุจริตในการสอบสวนคดีนี้ รวมทั้งต้องดำเนินการปราบปรามกลุ่มผู้มีธิพลท้องถิ่นทั่วไปด้วย ไม่ใช่จัดการแต่กำนันนกคนเดียวซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเป็นที่สนใจของสังคม

ยังมีผู้มีธิพลท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมากทั่วทุกจังหวัดของประเทศ หากตำรวจมีความสุจริตใจจริงต้องมีนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพลเหล่านั้น ด้วยความสุจริตและตรงไปตรงมา

นอกจากนี้หน่วยงานตำรวจต้องแสดงให้เห็นว่าจะมีกระบวนการขจัดระบบส่วยของตัวเองได้อย่างไร จึงจะทำให้ระบบงานของตำรวจมีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลได้

จากการศึกษาองค์กรตำรวจในช่วงระหว่าง 70 -80 ปีที่ผ่านมา ผมพบว่าองค์กรตำรวจมีลักษณะที่แตกต่างจากหน่วยงานภาครัฐทั่วไป

ในหน่วยงานภาครัฐมักจะพบว่ามีความขัดแย้งระหว่างข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีความคิดปฏิรูปกับข้าราชการรุ่นเดิมที่ไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง

แต่ในองค์กรตำรวจไม่เคยพบว่ามีกลุ่มตำรวจที่ต้องการปฏิรูปองค์กรของตนเองแม้แต่กลุ่มเดียว มีข้อที่น่าสังเกตว่าวัฒนธรรมขององค์กรตำรวจที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมสูงน่าจะมีพลังที่สูงมากจนสามารถดูดซับและกลืนกินแรงบันดาลใจของตำรวจรุ่นใหม่ๆให้ละลายหายไปอยู่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น โอกาสที่จะเห็นตำรวจปฏิรูปตัวเองจึงเกิดขึ้นได้ยากมาก การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูงที่จะปฏิรูประบบตำรวจได้สำเร็จ

ผมคิดว่าโอกาสของการเปลี่ยนแปลงคงต้องให้รัฐบาลที่มีเจตจำนงที่แน่วแน่ที่ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ เป็นผู้นำในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบตำรวจให้กลายเป็นระบบที่สุจริต ซึ่งน่าจะทำได้ง่ายกว่าและมีความชอบธรรมมากกว่า

ความพยายามของรัฐบาลชุดที่แล้วที่ออกพระราชบัญญัติที่มีจุดมุ่งหมายจะปฏิรูปตำรวจตามรัฐธรรมนูญไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเกิดการประนีประนอมระหว่างรัฐบาลกับองค์กรตำรวจ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเล็กๆ น้อยๆ ตามที่พลังของตำรวจต้องการ

หากจะทำหลายเงื่อนไขการเกิดขึ้น ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ทั้งในส่วนกลางและในแต่ละท้องถิ่นมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาปรับปรุงระบบการประมูลที่เป็นการประมูลทางอิเล็คทรอนิกส์ (e-bidding) ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่เช่นนั้นก็จะมีกลุ่มผู้มีธิพลในแต่ละกรม แต่ละกระทรวง รัฐวิสาหกิจ และองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดกาสิโน มีโอกาส เกิดในรัฐบาล เศรษฐา แต่ต้องไม่ล็อก-เอื้อกลุ่มใด

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ได้ลงมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง การเปิดสถานบันเทิงครบวงจร(ENTERTAINMENT COMPLEX)

'สังศิต' เผยแพร่บทความ 'ตำรวจ : เดินหน้าหรือถอยหลัง' หนุนปฏิรูปเป็นตำรวจจังหวัด

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เพยแพร่บทความเรื่อง ตำรวจ : เดินหน้าหรือถอยหลัง มีเนื้อหาดังนี้

เอ้ สุชัชวีร์ ย้ำการแก้ฝุ่น pm2.5 ที่เชียงใหม่ ทำได้ด้วย 'ภาวะผู้นำ'

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัญหา ฝุ่น pm2.5 ที่เชียงใหม่ แก้ได้ด้วย "ภาวะผู้นำ" น่าเสียดายอย่างยิ่ง ท่านนายกลงพื้นที่เชียงใหม่

'สังศิต' จวก ส.ส.โง่เขลา ตัดงบฯ 'ฝายแกนดินซีเมนต์' ผลักไสชาวบ้านจมลึกสู่ความยากจน

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่บทความ เรื่อง หยุดผลักไสชาวอีสาน ชาวเหนือจมลึกสู่ความยากจน!? ตัดงบประมาณ “ฝายแกนดินซีเมนต์” 2567

'สังศิต' เผยแพร่บทความ 'การควบคุมคอร์รัปชัน : บทเรียนจากเยอรมัน' ความแตกต่างกับไทย

รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่บทความ เรื่อง การควบคุมคอรัปชั่น: บทเรียนจากเยอรมัน มีเนื้อหาดังนี้่

แฉเหตุ 'สายพันธุ์ข้าวไทย' ที่ถูกจดทะเบียน ตกอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจผูกขาด

'ดร.สังศิต' ลุยพื้นที่แปลงวิจัยพัฒนาพัฒนาพันธุ์ข้าว เผยการพัฒนาสายพันธุ์ข้าว เป็นงานที่ยากลำบาก แต่เมื่อทำเสร็จกลับไม่สามารถขึ้นทะเบียนตามกฎหมายได้เพราะมีราคาแพงลิบลิ่ว สายพันธุ์ข้าวที่ถูกจดทะเบียน จึงตกอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจผูกขาดเพียงกลุ่มเดียว